วัณโรคปอดคืออะไร?
เป็นโรคปอดเรื้อรังซึ่งเกิดจากการติดเชื้อวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) ที่ปอดโดยการ หายใจเอาเชื้อวัณโรคที่ผู้ป่วยวัณโรคไอ จามออกมาเป็นละออกเล็กๆ แขวนลอยอยู่ในอากาศเข้าไปยังหลอดลม ฝอยส่วนลายหรือถุงลมปอด เกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นของเชื้อโรคจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย พบบ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคเบาหวาน โรคไต และผู้ป่วยที่มีร่างกายอ่อนแอพักผ่อนไม่เพียงพอ
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ที่ปอดซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวก รูปร่างเป็น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
แท่งมีผนังเซลล์หนาและมีสารไขมันเป็นจำนวนมาก ทำให้ย้อมติดสียากแต่เมื่อย้อมเกิดสีแล้วจะล้างไม่ออกด้วยกรดหรือแอลกอฮอลล์จึงเรียกว่า Acid-fast bacilli (AFB) ติดต่อได้ทางเดินหายใจ ดื่มนมซึ่งมีเชื้อวัณโรคอาจ กระจายจากรอยโรค (Lesion) ที่มีอยู่เดิมไปตามกระแสเลือด อาจทำให้เกิดโรคที่อื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ไต กระดูก ลำไส้ และเยื่อหุ้มสมอง อาจทำให้เกิดโรคที่อื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ไต กระดูก ลำไส้ และเยื่อหุ้มสมอง หากเป็นการติดเชื้อครั้งแรกมักจะหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา หายโดยมีพังผืด (Fibrosis) และมีแคลเซียม (Calcium) มาจับบริเวณที่เป็นรอยโรค
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อบุคคลใดที่มีภูมิต้านทานต่ำสูดเอาละอองที่มีเชื้อมัยโคแบคทีเรียทูเบอร์คิวโลซิส เชื้อจะเข้าไปในถุงลมซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการระคายเคือง ระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่ส่งเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์และแมกโครฟาจมาล้อมเชื้อไว้เพื่อช่วยทำลายเชื้อหรือสร้างเกราะหุ้มเชื้อไว้เป็นถุงหุ้มเชื้อ เรียกว่า ทูเบอร์เคิล (Tubercle) ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวมและอักเสบซึ่งเชื้อจะยังมีชีวิตอยู่โดยหลบซ่อนอยู่ในทูเบอร์เคิลบริเวณส่วนขนของปอดหรือใกล้ๆ เยื่อหุ้มปอดกลีบล่าง ในระยะแรกๆ ที่ทูเบอร์เคิลขนาดเล็กอาจไม่ปรากฏให้เห็นในฟิล์มที่ถ่ายภาพ รังสีต่อมาเมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นจึงจะเห็นได้ หากทูเบอร์เคิลและต่อมน้ำเหลืองที่อักเสบแตกหรือฉีกขาด เชื้อจะเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อบริเวณนั้น และเชื้ออาจจะกระจายไปตามกระแสเลือดและทางเดินน้ำเหลืองไปทั่วร่างกาย วงจรการจับกินเชื้อโรคจะเกิดขึ้นเมื่อมีการกระจายของเชื้อโรคเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ นอกปอด ได้แก่ เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มสมอง ข้อ ต่อมน้ำเหลือง เยื่อบุช่องท้อง และทางเดินอาหาร หลังจากที่เชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกายภายใน 1 ปี จะมีผู้ที่มีอาการของวัณโรคเพียง ร้อยละ 5 ส่วนที่เหลือเชื้อจะยังไม่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพ ในทูเบอร์เคิลเชื้อที่ถูกทำลายหรือตายแล้วจะกลายเป็นก้อนซึ่งมีสภาพเหมือนเนยแข็ง หากก้อนนี้สลายกลายเป็นของเหลวไหลเข้าสู่หลอดลมจะมีอาการไอออกมาเป็นเสมหะทำให้เกิดเป็นโพรงหลงเหลืออยู่ซึ่งอาจตรวจพบได้จากการถ่ายภาพรังสีทรวงอก บริเวณทูเบอร์เคิลจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นพังผืดและในที่สุดจะกลายเป็นแคลเซียม (Calcification) เมื่อไรก็ตามที่มีการติดเชื้อซ้ำ เรียกว่า การติดเชื้อวัณโรคทุติยภูมิ
อาการ
ในระยะแรกๆ ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย เช่น เหนื่อยง่าย เมื่อออกแรง ซูบ ผอม ซีด ไอ ไข้ต่ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน มักมีไข้ตอนบ่ายๆ อาจมีปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เหงื่อออกตอนกลางคืน ผู้หญิงอาจมีประจำเดือนผิดปกติ เด็กอาจมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ผู้ป่วยมักตรวจพบว่าเป็นวัณโรคปอดโดยบังเอิญ เช่น ทำ Chest X-ray สำหรับตรวจร่างกายประจำปี ตรวจเพื่อเข้าทำงาน เข้าเรียน โดยไม่มีอาการไอเลย แต่พบจุดที่ปอดเมื่อถ่ายภาพรังสีทรวงอก อาจมีอาการที่ต้องมาพบแพทย์ เช่น ไอเรื้อรังมากกว่า 3 สัปดาห์ เริ่มด้วยไอแห้งๆ ไอเป็นเลือด ไอมีเสมหะสีขาวข้นหรือปนหนอง ไอเป็นเดือน ไข้ต่ำๆ ตอนบ่าย ไอมากเวลาเข้านอน หรือตื่นนอนตอนเช้า มีเหงื่อออกตอนกลางคืน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด หากวัณโรคปอดลุกลามไปอวัยวะอื่นๆ จะมีอาการเจ็บหน้าอก กลืนลำบาก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเดิน กระเพาะอาหารอักเสพ มีฝีทะลุทวารหนัก (Fistula in ano)
การวินิจฉัยโรค
จากการไอ เสมหะเป็นมูกหรือปนหนอง อาจมีไอเป็นเลือด และอ่อนเพลียน้ำหนักลด เหงื่อออกตอนกลางคืน มีไข้ ไม่สบาย เบื่ออาหาร และอ่อนเพลีย จากการทดสอบเชื้อวัณโรคทางผิวหนัง (Tuberculin test) โดยทำ PPD (Purified protein derivative of tubercle bacillus) ฉีดทาง Intradermal อ่านผล 48-72 ชั่วโมง
การตรวจเพาะเชื้อในเสมหะ (Sputum culture, Sputum for AFB) และการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X-ray) จะพบสิ่งผิดปกติ
การรักษา
ผู้ป่วยอยู่ในระยะที่มีเชื้ออยู่ในเสมหะ หากรับไว้ในโรงพยาบาลควรแยกจนกว่าจะได้ผลจากการรักษา ส่วนใหญ่จะรับไว้รักษาที่โรงพยาบาลในระยะสั้นๆ และส่งกลับบ้าน โดยให้ยาไปรับประทาน ให้พักผ่อน ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับอากาศบริสุทธิ์ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานให้ควบคุมน้ำตาลในเลือดและในปัสสาวะ ให้ยาต้านวัณโรคอย่างต่อเนื่องโดยให้รับประทานยา 3 อย่าง เช่น Streptomycin Isoniazid (INH) และ Rifampicin เป็นต้น หากให้เพื่อควบคุมและป้องกันให้ประมาณ 6 เดือนเป็นอย่างน้อย มี Isoniazid, Rifampicin และ Pyrazinamide 2 เดือน ตามด้วย Isoniazid และ Rifampicin 4 เดือน หากเป็นชนิด 9 เดือน ให้ Isoniazid และ Rifampicin นอกจากนี้อาจให้ยาขยายหลอดลมร่วมด้วย ประเมินการรักษาโดยตรวจเสมหะอย่างน้อยทุกเดือนและทำ Chest X-ray
การพยาบาล
ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา จัดให้นอนพักบนเตียงในท่าศีรษะสูง ให้รับประทานอาหารให้เพียงพอโดยรับประทานอาหารทีละน้อยบ่อย ๆ ครั้ง ให้อาหารเหลวเสริมเพื่อเพิ่มแคลอรี กระตุ้นให้ดื่มน้ำให้เพียงพอ ดูแลให้มีการบริหารการหายใจทุก 8 ชั่วโมง สอนให้ผู้ป่วยไออย่างมีประสิทธิภาพ บันทึกสัญญาณชีพและสังเกตอาการเหนื่อย หายใจลำบาก เสียงหายใจที่ปอด ระดับความรู้สึกตัว สีผิวบริเวณปลายมือปลายเท้า การมีเลือดออก หากพบความปิดปกติรายงานแพทย์ทราบเพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจน ให้คำแนะนำผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโดยจัดผู้ป่วยให้อยู่ในที่เหมาะสม ไม่ใช่ทิศทางที่เป็นต้นลม ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้านวัณโรคตามแผนการรักษา เพราะเมื่อได้รับยารักษาแล้วเชื้อจะลดลง ช่วยให้การติดเชื้อลดลงหรือไม่ติดต่อเมื่อได้ยาแล้ว 2 สัปดาห์ จัดหาภาชนะสำหรับใส่เสมหะผู้ป่วย โดยมีฝาปิดมิดชิด เช่น Sputumcupเป็นต้น ควรใส่น้ำยาฆ่าเชื้อก่อนทิ้ง แนะนำให้ปิดปากเมื่อไอหรือจาม ไม่คลุกคลีกับเด็กหรือผู้มีโอกาสติดเชื้อง่าย และบ้วนเสมหะลงในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดนั้น และแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้านวัณโรคอย่างต่อเนื่อง ให้ความรู้เรื่องยาที่ใช้รักษาวัณโรคปอดจะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง อาจใช้การรักษาด้วยวิธี Directly Observed therapy (DOT) หรือเรียกการรักษานี้ว่า Directly Observed Treatment Short-course (DOTS) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยรับการรักษาได้อย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด ทั้งนี้ปรากฏ หลักฐานสนับสนุนความสำเร็จของมาตรการนี้จากหลายๆ ประเทศ และป้องกันไม่ให้ติดเชื้อวัณโรคซ้ำอีก โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ