August 16, 2019 21:44
ตอบโดย
ปวริศ ยืนยง (นพ.)
สวัสดีครับ ถ้าเป็นตุ่มลักษณะ นูนๆ บวมๆ ขอบแดงๆ คันๆ อาจจะเป็น ผื่นลมพิษ ได้ครับ ซึ่งผื่นลมพิษ
ซึ่งการจะเกิดอาการแพ้เป็นผื่นคันต่างๆมักจะต้องมีสิ่งที่ทำให้ร่างกายแพ้มากระตุ้นครับ เช่น ถั่ว กุ้ง ปลาหมึก ไข่ นม เกษรดอกไม้ ขี้แมลงสาบ เป็นต้นครับ
ซึ่งการแพ้ต่างๆ สามารถทดสอบสารที่แพ้ได้ครับ เรียกว่า การทำ Skin prick test ครับ โดยการทดสอบ จะต้องทำภายใต้ แพทย์เชี่ยงชาญ ด้านภูมิแพ้ครับ
การรักษาคือ การกินยาแก้แพ้ครับ
แต่ถ้ามีอาการแพ้มากๆ เช่น มีพื่นคัน หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ปวดท้อง ปากบวม อาจจะเป็นการแพ้ที่รุนแรงควรไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจเพิ่มเติมครับ
อาการคันที่ฝ่ามือ และเท้า สาเหตุอื่นๆ สามารถเกิดได้จาก
1.โรคผื่นผิวหนังอักเสบ มือและเท้า หรือdyshidrotic eczema ได้ครับ จะเป็นผื่นคัน ตามมือ และเท้า เจ็บนิดหน่อย สามารถรักษาได้โดย การทาครีมสเตียรอยด์ และการดูแลความสะอาดครับ
2.การแพ้สารต่างๆ เช่น แพ้เหล็กต่างๆ แพ้อาหาร จะมีอาการมือ เท้า และผิวหนังส่วนอื่น มีผื่นขึ้น อาจจะพบร่วมกับ หายใจลำบาก ปวดท้อง เป็นต้น การรักษาคือ การไม่สัมผัส สิ่งที่แพ้
3.การติดเชื้อรา พวก โรคกลาก จะ คัน มีตุ่มที่มือ การรักษาคือการทายาฆ่าเชื้อรา อย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป
4.การเป็นเริม จะเป็นตุ่มน้ำใส ปวด แสบ ร้อน การรักษาคือ การดูแลความสะอาด และกินยาต้านเริม หรือจะปล่อยให้หายเอง
5.การเป็นซิฟิลิสระยะที่ 2 คือ จะเป็นผื่นสีแดง ที่มือและเท้า อาจจะเจ็บ หรือไม่ก็ได้ การรักษาคือ การฉีดยาฆ่าเชื้อ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
กอบศักดิ์ ชัยชะแตง (นพ.)
Dyshidrotic Eczema หรือผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ เกิดได้จากการอักเสบและแพ้บริเวณผิวหนัง พบมากที่มือ แขน เป็นต้นครับ ทำให้มีอาการคันอย่างมาก
สาเหตุที่พบได้บ่อยเช่น แพ้เหงื่อ แพ้สารเคมี การติดเชื้อราและแบคทีเรีย โรคภูมิแพ้ ความอับชื้นเป็นต้น นอกจากนี้อาจเกิดจากการแพ้สารเคมีที่ทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นต้นครับ
การรักษา โดยอาจใช้ครีมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น และ ครีมแก้แพ้ เช่น urea cream และ TA cream เป็นต้น ร่วมกับล้างมือให้สะอาด เช็ดมือให้แห้ง เป็นประจำ หากยังมีอาการคันมาก ควรไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อหาสาเหตุอื่นๆ เช่น การติดเชื้อรา แบคทีเรีย หรือ หิด เป็นต้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
ลักษณะดังกล่าว นึกถึง 2-3 โรคครับ
1) ผื่นแพ้สัมผัส ผื่นภูมิแพ้ครับ เช่น การสัมผัสสารเคมี ครีม เครื่องสำอาง หรืออื่นๆ เช่น นิกเกิล เป็นต้น อาจทำให้มีผื่นลักษณะดังกล่าวได้ หากต้องการทดสอบว่าแพ้สิ่งใด แนะนำให้พบแพทย์ผิวหนังครับ
วิธีการรักษา คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น และการทาสเตียรอยด์
2) การแยกตัวของชั้นผิวหนัง ชั่วคราว เช่น กลุ่ม dyshidrosis โดยลักษณะของตุ่ม จะเป็นตุ่มน้ำใสแข็งๆหยุ่นๆ เป็นมากที่บริเวณ มือ เท้า ซึ่ง จะอยู่เดี่ยว หรือเป็นกลุ่มก็ได้ สาเหตุนั้นไม่แน่ชัด แต่อาจจะมีหลายปัจจัยกระตุ้นได้ อาจจะเกิดร่วมกับผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ หรือ ภูมิแพ้จมูก เป็นต้น การรักษา โดยทั่วไป ไม่ต้องทำอะไร ก็หายเองได้ครับ โดยตุ่มน้ำมักจะแห้งและลอกออกในระยะเวลา 3 สัปดาห์ ผิวด้านล่างอาจจะมีขุย แดง แตก หรือ เจ็บได้
ถ้าเป็นมาก หรือคันมาก บางทีคุณหมอก็จะใช้ยาสเตียรอยด์ทาเฉพาะที่ครับ หรือ ถ้ามีการ ติดเชื้อ ซ้ำซ้อน อ่จต้องได้ยาฆ่าเชื่อ ร่วมด้วย
ดังนั้น หากเป็นไม่มาก แนะนำให้ดูอาการก่อนได้ครับ หากอาการคันมาก ปวด บวม แดง ร้อน แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องครับ
3) การติดเชื้อ เช่น แบคทีเรียต่างๆ หรือแมลงสัตว์กัดต่อย
ดังนั้น หากเป็นมาก รบกวนชีวิตประจำวัน ควรไปพบแพทย์ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
มีผื่นขึ้นตรงมือ คันมากค่ะ ยิ่งเกายิ่งเป็น ไม่ทราบว่า เป็นอะไรค่ะ ต้องรักษายังไง เคยเป็นเมื่อหลายปีก่อน
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)