กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การติดเชื้อราที่เล็บเท้า

คุณมีเล็บเท้าที่หนาและเป็นสีเหลืองหรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การติดเชื้อราที่เล็บเท้า

การติดเชื้อราที่เล็บเท้าหรือที่เรียกว่า Onychomycosis เป็นภาวะที่พบได้บ่อยซึ่งจะทำให้มีการทำลายเล็บเท้าและทำให้ผิดรูปได้ โดยมักเกิดกับนิ้วหัวแม่โป้งและนิ้วก้อยมากที่สุด ภาวะนี้เกิดจากเชื้อราที่โตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและชื้น เช่น ในรองเท้า และเมื่อเชื้อราโตขึ้นก็จะเริ่มลุกลามและกินโปรตีน (เคราติน) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ทำให้เล็บเท้ามีความแข็ง

การติดเชื้อราที่เล็บเท้าเป็นภาวะที่พบได้น้อยในเด็ก แต่ความชุกจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ โดยมีการประมาณว่าประชากรในสหรัฐอเมริกา 48% เคยมีการติดเชื้อนี้อย่างน้อย 1 ครั้งเมื่อพวกเขาอายุ 70 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การใส่รองเท้าที่คับและการทาเล็บจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะนี้ นอกจากนั้นยังสามารถมีการติดต่อจากคนสู่คนในที่สาธารณะ เช่น ในห้องล็อคเกอร์และห้องอาบน้ำ และการเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดเช่นเบาหวานหรือการติดเชื้อ HIV ก็เพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อเช่นกัน

อาการของการติดเชื้อราที่เล็บเท้า

เท้าที่มีการติดเชื้อจะมีการเปลี่ยนสี (เป็นสีเหลืองหรือน้ำตาล) และจะเริ่มหนาตัวและงอกมากกว่าปกติ คุณอาจสังเกตเห็นซากที่มีกลิ่นเหม็นอยู่ใต้เล็บ ซึ่งอาจมีการสะสมและหล่นออกมาได้ หรืออาจจะหนาตัวขึ้นจนทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อใส่รองเท้า

การวินิจฉัยการติดเชื้อราที่เล็บเท้า

หากการติดเชื้อราที่เล็บเท้าเริ่มทำให้คุณรู้สึกไม่สบายและต้องไปรับการรักษา แพทย์จะทำการตรวจดูเล็บเท้าและอาจเก็บตัวอย่างชิ้นเล็ก ๆ ไปตรวจ โดยสามารถตรวจดูเชื้อราหรือการติดเชื้ออื่น ๆ ที่เล็บได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ในห้องปฏิบัติการ

การรักษาการติดเชื้อราที่เล็บเท้า

การติดเชื้อราที่เล็บเท้ามักเป็นภาวะเรื้อรัง และหากไม่ได้มีอาการเจ็บแล้วหลายคนก็มักจะไม่มารับการรักษา แต่ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังเช่นเบาหวานควรพบแพทย์หากเพิ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงขึ้นที่เล็บ เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาอื่น ๆ ที่รุนแรงได้

หากเล็บมีการหนาตัวมากและทำให้เจ็บระหว่างใส่รองเท้าหรือเดิน คุณควรมาพบแพทย์ การรักษาอาจทำได้โดยการตัดเล็บเท้าออกบางส่วนอย่างระมัดระวังซึ่งทำได้ทั้งที่บ้านหรือโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเท้า หากการติดเชื้อนั้นไม่รุนแรงและจำกัดขอบเขต แพทย์อาจใช้ยาทาเล็บที่มีส่วนผสมของ Loceryl (Amorolfine) หรือ  Loprox (Ciclopirox)

แต่หากการติดเชื้อเป็นแบบเรื้อรังหรือมีการแพร่กระจาย แพทย์อาจสั่งจ่ายยาฆ่าเชื้อรารูปแบบกินที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย เช่น Sporanox (Itraconazole) หรือ Lamisol (Terbinafine) รักษานานประมาณ 12 สัปดาห์ ยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงบางอย่างที่รุนแรงและอาจจะไม่เหมาะกับการใช้ในคนบางกลุ่ม

สำหรับผู้ที่มีการติดเชื้ออย่างเรื้อรังรุนแรง อาจจะต้องทำการถอดเล็บอย่างถาวร

การป้องกันการติดเชื้อราที่เล็บเท้า

คุณสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อราที่เล็บเท้าได้โดย

  • ใส่รองเท้าที่สบายและสะอาดทุก ๆ วันและให้เท้าแห้งอยู่เสมอเมื่อใส่รองเท้า
  • ใส่รองเท้าแตะ รองเท้าสานในห้องอาบน้ำรวมหรือห้องล็อคเกอร์
  • ทำความสะอาดเท้าทุกวัน และเช็ดให้แห้ง พร้อมทาแป้งสำหรับเท้าที่มีคุณภาพดี
  • ตัดเล็บเท้าอยู่เสมอ
  • หลีกเลี่ยงการทาเล็บเท้า

11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การรักษาการฉีกขาดของผิวหนัง
การรักษาการฉีกขาดของผิวหนัง

ผิวหนังที่บางนั้นอาจเกิดการฉีกขาดได้ง่ายแม้แต่เวลาที่คุณพยายามจะรักษามัน

อ่านเพิ่ม
ข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
ข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

อ่านเพิ่ม