กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Fifth Disease (โรคฟิฟธ์)

เผยแพร่ครั้งแรก 22 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

โรคฟิฟธ์ (Fifth Disease) หรือ Erythema Infectiosum เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Parvovirus B19 ทำให้เกิดผื่นแดงขึ้นบนหน้าที่มักเรียกกันว่า Slapped cheek หมายถึงใบหน้ามีสีแดงคล้ายกับถูกตบ ซึ่งที่มาของชื่อโรคนี้มาจากการที่โรคนี้อยู่ในลำดับที่ 5 ที่พบได้บ่อยในเด็กนั่นเอง

โรคนี้พบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ แต่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) ระบุว่ามีผู้ป่วยโรคฟิฟธ์ประมาณ 20% ที่ไม่เคยมีอาการแสดงใดๆ และคนไม่สามารถแพร่โรคนี้ไปสู่สัตว์ได้ เนื่องจากว่าไม่ใช่เชื้อ Parvovirus ชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในสุนัขและแมว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของโรคฟิฟธ์ (Fifth Disease)

เชื้อไวรัส Parvovirus B19 เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคฟิฟธ์ (Fifth Disease) และโรคนี้มักเกิดได้บ่อยในช่วงฤดูหนาว โดยสามารถแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกที่มีเชื้อไวรัส คุณสามารถมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ หากผู้ติดเชื้อมาไอหรือจามใกล้ๆ นอกจากนั้นเชื้อยังสามารถติดต่อทางเลือดหรือผลิตภัณฑ์ของเลือดได้อีกด้วย 

อาการของโรคฟิฟธ์ (Fifth Disease)

ผู้ป่วยโรคนี้มักเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อ Parvovirus B19 ไปแล้วประมาณ 4-14 วัน อาการที่พบได้บ่อยในช่วงแรก คือ

แม้ว่าอาการเบื้องต้นเหล่านี้มักไม่รุนแรง แต่หลังจากนั้นไม่กี่วันผู้ป่วยจะเริ่มมีผื่นลักษณะเป็นปื้นแดงคล้ายถูกตบขึ้นบนใบหน้า ทำให้แพทย์มักสามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากการตรวจดูผื่นดังกล่าว

นอกจากที่บริเวณหน้าแล้ว ผื่นจะเริ่มขึ้นตามลำตัว แขน ขา และแต่ละคนสามารถมีอาการคันและอาการของโรคที่รุนแรงแตกต่างกันไป ซึ่งผื่นที่ขึ้นมานี้เป็นผลจากปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นตามหลังการติดเชื้อ ดังนั้นเมื่อเริ่มมีผื่นขึ้นก็แสดงว่าคุณไม่ได้อยู่ในระยะแพร่เชื้ออีกต่อไป อาการของโรคนี้มักจะหายไปในช่วงวันที่ 7-10 แต่สามารถกลับเป็นซ้ำได้ในช่วงเวลาหลายสัปดาห์ให้หลัง

โรคฟิฟธ์ (Fifth Disease) ในผู้ใหญ่

คนที่ไม่เคยเป็นโรคนี้ในตอนเด็กอาจเป็นโรคนี้ได้เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ และแม้ว่าอาการของโรคในผู้ใหญ่มักจะไม่มีผื่นขึ้น แต่ก็อาจมีอาการปวดหรือบวมตามข้อมือ นิ้ว เข่า และข้อเท้าได้ ซึ่งอาการเหล่านี้มักหายไปหลังจากเริ่มมีอาการประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่อาจใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะหายได้เช่นกัน

การตรวจเลือดอาจช่วยวินิจฉัยได้ว่าคุณเพิ่งมีการติดเชื้อ Parvovirus B19 หรือว่ามีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อแล้วหรือไม่ เพราะหากเคยมีการติดเชื้อไปแล้วครั้งหนึ่ง จะทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ในอนาคต

การรักษาโรคฟิฟธ์ (Fifth Disease)

โรคนี้ไม่มีวัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาได้ แต่ในผู้ใหญ่และเด็กที่แข็งแรงมักจะหายได้เองอยู่แล้ว โดยสามารถบรรเทาอาการตามคำแนะนำต่อไปนี้ 

  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆ เช่น ไข้ อาการคัน หรืออาการปวดข้อและข้อบวม 
  • หากเด็กมีไข้หรือมีอาการคล้ายไข้หวัด ควรใช้ยาพาราเซตามอลตามคำแนะนำของแพทย์ 
  • หากมีอาการคัน ให้ใช้ยาแก้แพ้ตามคำแนะนำของแพทย์
  • พักและจำกัดการทำกิจกรรม เพื่อลดอาการปวดบวมของข้อ และอาจใช้ยาพาราเซตามอล หรือยาไอบูโพรเฟนช่วยบรรเทาอาการปวดบวมด้วย 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคฟิฟธ์ (Fifth Disease)

แม้โรคนี้มักมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง แต่ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในกลุ่มคนบางประเภทดังต่อไปนี้

  • หญิงตั้งครรภ์ เชื้อ Parvovirus B19 สามารถแพร่จากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ได้ โดยพบว่าในผู้หญิงตั้งครรภ์ประมาณ 5% ที่เป็นโรคนี้ ส่งผลให้ทารกมีภาวะซีดอย่างรุนแรง และอาจแท้งหรือเสียชีวิตขณะคลอดได้ อย่างไรก็ตามโรคนี้ไม่ได้ทำให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิดหรือสมองพิการแต่อย่างใด หากคุณแม่เป็นโรคนี้ แพทย์อาจใช้การถ่ายเลือดให้ทารกในครรภ์และการให้ยาช่วยรักษาการติดเชื้อไวรัส
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำจากมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็ง การติดเชื้อ HIV หรือผู้ที่มีการปลูกถ่ายอวัยวะ อาจต้องได้รับการรักษาแบบพิเศษเพื่อช่วยรักษาโรคฟิฟธ์
  • ผู้ที่มีภาวะซีดเรื้อรัง โรคนี้สามารถทำให้ผู้ป่วยโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว หรือโรคอื่นๆ ที่มีภาวะซีดเรื้อรัง เกิดภาวะซีดอย่างรุนแรงจนถึงขั้นต้องให้เลือดได้

นอกจากนี้ โรคฟิฟธ์ยังมีความเกี่ยวข้องกับโรคข้ออักเสบแบบติดเชื้อและโรคอื่นๆ อีกด้วย


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)