กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)

ภาวะติดเชื้อในมดลูกจัดเป็นภาวะที่รุนแรง
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)

>อะไร ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis) ?

ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis) เป็นภาวะที่เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มทารกหรือถุงน้ำคร่ำ จากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่เกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียเจริญจากช่องคลอดขึ้นไปสู่มดลูก และมักพบร่วมกับการคลอด ที่ใช้เวลานาน ความเสี่ยงของการเกิดถุงน้ำคร่ำอักเสบ จะเพิ่มสูงขึ้นทุกครั้งที่มีการตรวจภายใน ทั้งในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ และระยะคลอด  เกิดขึ้นประมาณ 2% ของภาวะตั้งครรภ์ที่ไม่มีการตรวจพบการติดเชิ้อและไม่ได้รับการรักษา  ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ(Chorioamnionitis) สามารถนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงสำหรับแม่และลูก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

สาเหตุของการ ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)  มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีการแพร่ผ่านเยื่อบุมดลูก มักมาจากบริเวณส่วนปลายของช่องคลอด เชื้อที่พบบ่อยเช่น  group B Strep  หรือแบคทีเรีย  E Coli มีแนวโน้มจะเกิดเมื่อระยะเวลาของการคลอดใช้เวลานานหลังจากมีภาวะน้ำเดิน (เกิดจากถุงน้ำคร่ำฉีกขาด)  อันเป็นภาวะที่พบมากที่สุดในการคลอดก่อนกำหนด

อาการ

เมื่อมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในระหว่างการทำคลอด  จะมีอาการที่เกิดจาก ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)  เช่น มีไข้, เหงื่อออก, อัตราการเต้นหัวใจสูงในแม่, หรือปวดมดลูก, มีกลิ่นผิดปกติของน้ำคร่ำ ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ(Chorioamnionitis) ที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์อาจไม่มีอาการแสดงใดๆ

การวินิจฉัย

ถ้าแพทย์สงสัย ว่าอาจมีภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis) ในช่วงก่อนคลอด อาจมีการตรวจโดยเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจสภาวะของทารกในครรภ์ และภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย เพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะสมตามอาการทางคลินิก

การรักษา

การรักษาภาวะติดเชื้อในมดลูกจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล มักใช้วิธีให้ยาปฏิชีวนะผ่านหลอดเลือดดำ การทำการคลอดทันทีอาจมีความจำเป็นในบางกรณี หลังการคลอดทั้งแม่และลูกอาจต้องรับยาปฏิชีวนะต่ออีกหนึ่งหรือสองวัน

ภาวะแทรกซ้อนของ ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)

ผลจาก ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis) จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล   ภาวะที่ดีสุดได้รับการรักษา อย่างทันท่วงทีเมื่อตรวจพบการติดเชื้อ  อาจไม่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวสำหรับมารดาหรือทารกเลย ตามสถิติของ สมาคม the March of Dimes พบว่าประมาณ 95% ถึง 97% ของทารกที่ติดเชื้อ  group B strep  สามารถหายเป็นปกติด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ  ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง หรือตายเนื่องจากการติดเชื้อ
ในกรณีที่การติดเชื้อไม่ได้รับการรักษา ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นไปได้ สำหรับคุณแม่คือ: การติดเชื้อแบคทีเรียที่ท้อง หรือ อุ้งเชิงกราน การติดเชื้อในเลือด  มดลูกอักเสบ (การติดเชื้อในเยื่อบุของมดลูก) หรือภาวะเลือดอุดตันในปอดหรืออุ้งเชิงกราน ส่วนภาวะแทรกซ้อนสำหรับทารกแรกเกิดอาจรวมถึงการติดเชื้อในทางเดินหายใจและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (การติดเชื้อของสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง)

ในบางกรณีของ ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis) ที่เกิดในช่วงตั้งครรภ์ ช่วงแรก และไม่มีอาการแสดง อาจเกิดการคลอดก่อนกำหนดหรือภาวะทารกตายในครรภ์ (stillbirth) มีการวิจัยแสดงว่า ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis) เป็นปัจจัยหลักของภาวะทารกตายในครรภ์ (stillbirth) น่าเสียดายที่มีปัญหาการติดเชื้อ แต่ไม่แสดงอาการของภาวะครรภ์ช่วงต้นซึ่งเป็นภาวะเสี่ยงสูง ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากนักวิจัยมากนัก  คาดว่าคงมีงานวิจัยเพิ่มเติมในอนาคตเกี่ยวกับเรื่องนี้เร็วๆนี้


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Intrapartum Management of Intraamniotic Infection. The American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG). (https://www.acog.org/Clinical-Guidance-and-Publications/Committee-Opinions/Committee-on-Obstetric-Practice/Intrapartum-Management-of-Intraamniotic-Infection?IsMobileSet=false)
Intra-amniotic infection (clinical chorioamnionitis or triple I). UpToDate. (https://www.uptodate.com/contents/intra-amniotic-infection-clinical-chorioamnionitis-or-triple-i)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม