August 16, 2019 13:10
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
การหลั่งข้างนอก ( withdrawal ) เป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพไม่ค่อยดีเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ ครับ
>>จากสถิติ ถ้าทำได้ถูกต้องเลยโอกาสจะตั้งท้องประมาณ 4% แต่โดยทั่วๆไป หรือตามความจริงแล้ว ขณะที่อวัยวะเพศชายสอดใส่ มักมีสเปิร์มออกมาพร้อมกับร้ำหล่อลื่นบ้างบางส่วนครับ ทำให้โอกาสจะตั้งครรภ์ในชีวิตจริงมีสูงถึง 22-27% ครับ
ดังนั้น หากไม่แน่ใจ และไม่ได้คุมกำเนิดโดยวิธีอื่นๆ ช่วย อาจจะต้องรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน โดยเร็วที่สุดครับ
โดยหากรับประทานภายใน 24 ชม แรกหลังมีเพศสัมพันธ์ จะเพิ่มประสิทธิภาพการคุมกำเนิดได้ประมาณ 85% -90%
ถ้ากินภายใน 72 ชม ประสิทธิภาพได้ประมาณ 75% ครับ
และช้าสุดที่ 120 ชม ประสิทธิภาพ ของการป้องกันการตั้งครรภ์ยังพอมีอยู่ แต่ลดลงไปมากครับ
วิธีการคุมกำเนิดฉุกเฉินอีกวิธี ที่สามารถทำได้ หรือถ้าต้องการประสิทธิภาพการคุมกำเนิดมากขึ้น จะเปลี่ยนไปคุมกำเนิดโดยใช้ ห่วงอนามัยชนิดเคลือบสารทองแดงก็ได้ครับ
วิธีนี้ ประสิทธิภาพจะสูงกว่ายาคุมกำเนิดในช่วง 72-120 ชมครับ (สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่ 0-120 ชมได้ดี และมีประสิทธิภาพประมาณ 99%) ครับ
อย่างไรก็ตาม หลังรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน อาจมีผลข้างเคียงครับ
ผลข้างเคียงหลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ได้แก่อาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนหัว และหลังจากรับประทานในช่วงสัปดาห์แรก อาจมีเลือดออกกะปริดกะปรอยได้ แต่ไม่ใช่เลือดประจำเดือน แต่เป็นผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉินครับ ประจำเดือนของคนไข้ ควรมาตรวรอบตามปกติครับ หากพบว่าประจำเดือนไม่มาตามรอบปกติเกิน 1-3 สัปดาห์ (หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ 14 วัน) ให้ทดสอบการตั้งครรภ์ หรือพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องครับ
อย่างไรก็ตาม หาก ตรวจการตั้งครรภ์แล้วไม่พบการตั้งครรภ์. ปัจจัยที่จะทำให้ประจำเดือนที่เคยมา แล้วไม่มา หรือผิดปกติ มีหลายอย่างครับ ตัวอย่าง เช่น
1.ความเครียด การอดอาหารนานๆ และการออกกำลังกายอยางหักโหมมากเกินไป ทำให้ประจำเดือนขาดได้ครับ พบได้บ่อยที่สุด
2.การใช้ยาฮอร์โมนต่างๆ เช่น ยาคุมกำเนิด แบบฉีด หรือยาบางอย่าง เช่น ยารักษาโรคทางจิตเวช
3.โรคทางระบบสืบพันธ์บางชนิด เช่น ถุงน้ำรังไข่ ( PCOS) อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ หรือ การ ติดเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์ อาจมำให้มีอาการปวดท้อง หรือ ตกขาว ที่ผิดปกติได้ ซึ่ง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
4.ฮอร์โมน ไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งจะต้องทีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ใจสั่น กินจุ น้ำหนักลด หรือ ฮอร์โมนจากรังไข่ผิดปกติ อาจทำให้ไม่เกิดการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่มา หรือมาแบบกระปริบกระปรอย เป็นต้นครับ
5. โรคทางการกินที่ผิดปกติ (anorexia) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง หากอดอาหาร หรือทานอาหารไม่ถูกวิธีนานๆ จะทำให้ขาดประจำเดือนได้ครับ
ถ้าคนไข้มีอาการต่างๆที่ผิดปกติดังที่กล่าวไป แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหรือตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
หากประจำเดือนมาล่าช้ากว่าปกติ และไม่ได้เป็นมาติดต่อกันนานเกิน 3 ครั้ง ก็ให้รอดูอาการก่อนได้ครับ หากเกิน 3 เดือนประจำเดือนไม่มา แนะนำให้ไปตรวจร่างกาย และตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
อนึ่ง การทำใจให้สบาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ระมัดระวังเรื่องการใช้ยาหรืออาหารเสริมที่แพทย์ไม่ได้สั่ง และออกกำลังกาย จะช่วยให้สมดุลฮอร์โมนดีและทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
กอบศักดิ์ ชัยชะแตง (นพ.)
หากมีเพศสัมพันธ์โดยมีความเสี่ยงและไม่ได้มีการป้องกันมาก่อนหน้านี้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
สวัสดีครับ
เบื้องต้นหากมีประวัติมีเพศสัมพันธ์ในรอบเดือนที่ผ่านมาแล้วขาดประจำเดือน สงสัยว่าตั้งครรภ์ สามารถหาซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาทดสอบได้ด้วยตนเองครับ
__________________________
สาเหตุของการขาดประจำเดือน เป็นได้หลายสาเหตุครับ เช่น
- กำลังตั้งครรภ์อยู่ สามารถลองซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์ทั่วไปมาลองตรวจดูด้วยตนเองได้ครับ
- กำลังให้นมบุตรอยู่
- ความเครียด
- การมีพังผืดในมดลูก (Asherman’s syndrome) มักจะสัมพันธ์กับประวัติเคยขูดมดลูกมาก่อน
- การมีระดับฮอร์โมนเพศชายที่สูงกว่าปกติ (Hyperandrogenism) มักสัมพันธ์กับการมีหน้ามัน สิวมาก มีขนขึ้นมากผิดปกติ เช่น โรค Polycystic ovarian syndrome
- การมีระดับฮอร์โมนเพศต่ำกว่าปกติ (Hypogonadism) เช่น รังไข่เสื่อม ไม่มีการตกไข่
- การเป็นโรคไทรอยด์
สาเหตุต่างๆที่ได้กล่าวไปเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ซึ่งการวินิจฉัยต้องอาศัยการซักประวัติ และตรวจร่างกายเพิ่มเติมครับ ดังนั้นถ้าสงสัยหรือกังวลแนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจและให้การรักษาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ณัฐชยา รอดแป้น (พญ.)
สวัสดีค่ะ
ประจำเดือนขาดหายหรือเคลื่อนไป ต้องแยกก่อนว่าตั้งครรภ์หรือไม่ค่ะ
ในกรณีที่ไม่ตั้งครรภ์ประจำเดือนอาจคลาดเคลื่อนได้จากเหตุผลดังนี้ค่ะ
1.ความเครียด การอดอาหาร และการออกกำลังกายอย่างหนักมากเกินไป มีผลทำให้ประจำเดือนขาดหรือเคลื่อนได้ค่ะ
2.การใช้ยาฮอร์โมนต่างๆ เช่น ยาคุมกำเนิด แบบฉีด หรือยาบางอย่าง เช่น ยารักษาโรคทางจิตเวช
3.โรคทางระบบสืบพันธ์บางชนิด เช่น ถุงน้ำรังไข่ ( PCOS) อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้คะ PCOS มักพบในคนน้ำหนักเกินมีภาวะอ้วนค่ะ
4.ไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งจะต้องมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ใจสั่น กินจุ น้ำหนักลด หรือ ฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมองมาควบคุมรังไข่ผิดปกติ อาจทำให้ไม่เกิดการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ค่ะ
และถ้าประจำเดือนขาดไปเป็นเวลา 3 เดือน ถือว่ามีภาวะ amenorrhea ค่ะ เบื้องต้นแนะนำพบแพทย์เพื่อตรวจภายในว่ามีความผิดปกติของช่องคลอด/มดลูกหรือไม่รวมทั้งหาสาเหตุดังที่ได้กล่าวไปค่ะ
การหลั่งนอกเป็นวิธีการคุมกำเนิดประสิทธิภาพต่ำ แนะนำคุมกำเนิดวิธีอื่น เช่น ฝังยา/ฉีดยาคุมกำเนิด รับประทานยาคุมรายเดือนเป็นต้นค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
พิมพกา ชวนะเวสน์ (สูตินรีแพทย์)
ประจำเดือนปกติ จะมีลักษณะดังนี้ค่ะ
1. มาสม่ำเสมอ ทุก 24-35 วัน โดยส่วนใหญ่ จะมาทุก 28 - 30 วันค่ะ
2. มาครั้งละ 3-7 วันค่ะ
3. ใช้ผ้าอนามัย วันละ ประมาณ 2-3 แผ่นค่ะ
4. มีอาการปวดท้องน้อยได้เล็กน้อย ช่วงวันแรกๆ ไม่ปวดรุนแรงค่ะ
ประจำเดือนไม่มา เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ
ก่อนอื่นต้องเช็คเรื่องการตั้งครรภ์ก่อนค่ะ
ถ้าไม่ตั้งครรภ์
โดยทั่วไป จะถือว่าเป็น ภาวะไม่มีประจำเดือน (Amenorrhea) เมื่อประจำเดือนขาดหายไป ต่อเนื่องกัน 3 เดือนค่ะ ถ้าเป็นแบบนี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติอย่างละเอียด ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน เพื่อหาสาเหตุต่อไปค่ะ
ถ้าประจำเดือนขาดไปเพียงเดือนเดียว อาจเกิดจาก ความแปรปรวนของฮอร์โมน ไข่ไม่ตกในเดือนนั้น อาจสังเกตต่อไปก่อนได้ค่ะ แต่ถ้าเดือนถัดๆไป ประจำเดือนยังไม่มาอีก ควรไปพบแพทย์
ถ้าสาเหตุของการไม่มีประจำเดือน เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ
1. มดลูก ปากมดลูก ผิดปกติ
2. รังไข่ผิดปกติ หรือ ไข่ไม่ตก
3. สาเหตุทางสมอง ทำให้ฮอร์โมนที่หลั่งจากสมอง มาควบคุมรังไข่ ผิดปกติไป เช่น การที่น้ำหนักลดลงมาก ออกกำลัยการหนักๆ หรือมีความเครียด ก็ทำให้ฮอร์โมนที่หลั่งจากสมองมาควบคุมรังไข่ผิดปกติได้ค่ะ ทำให้เมนส์ไม่มา
อย่างไรก็ตาม การจะทราบแน่ชัด ว่าเมนส์ไม่มาจากสาเหตุใดนั้น ต้องหาสาเหตุโดยแพทย์ เพราะต้องตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และ อาจต้องเจาะเลือดเพื่อดูฮอร์โมนเพิ่มเติมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
การที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- มีปัญหาการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- รังไข่ผิดปกติ เช่น การมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่
- ความเครียด/วิตกกังวล/อารมณ์แปรปรวน
- การออกกำลังกายที่หนักไป
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยไป
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- ตั้งครรภ์
เป็นต้นครับ
ถ้ามีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ อาจลองตรวจการตั้งครรภ์ และแนะนำให้พักผ่อนมากๆ หลีกเลี่ยงความเครียด/ออกกำลังกายหักโหม พยายามลดน้ำหนัก ดีที่สุดอยากให้พบแพทย์นรีเวชเพื่อตรวจประเมินอาการให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
มีเพศสัมพันกับแฟน ไม่ใส่ถุงยางอนามัย แต่ปล่อยหลั่งข้างนอก ผมกับแฟนทำแบบนี้มาหลายปีแล้วแต่ก็ไม่เห็นเป็นอะไร แต่ล่าสุดแฟนบอกว่าเม็นไม่มา มีอะไรกันครั้งล่าสุดหลังจากนั่น2อาทิตย์เม็นก็มา พอเดือนทัดมาเม็นไม่มา ไปกินยาเม็นถึงมา พอเดือนทัดมาก็ยังไม่มาอีก เป็นเพราะอะไรครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)