กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะพยาธิเข็มหมุด (Enterobius Vermicularis infection)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 เม.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

พยาธิเข็มหมุด คือเชื้อ Enterobius vermicularis ซึ่งเป็นหนอนตัวกลมขนาดเล็ก สีขาว มีรูปร่างยาวคล้ายเส้นด้าย พยาธิชนิดนี้เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้มนุษย์ และมักทำให้เกิดอาการคันบริเวณรอบรูทวารและช่องคลอด 

การติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดเกิดขึ้นได้อย่างไร?

พยาธิเข็มหมุดติดต่อได้ง่ายและยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้อีกด้วย โดยเกิดจากการกินไข่ของพยาธิเข็มหมุดที่ปนเปื้อนในอาหาร เมื่อเข้าสู่ร่างกายพยาธิเข็มหมุดตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นพันๆ ฟองบนผิวหนังรอบรูทวาร การเกาที่บริเวณที่มีเชื้อและนำนิ้วมือเข้าปากจะทำให้ติดเชื้อซ้ำได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ไข่เล็กๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าจะถูกส่งผ่านจากนิ้วมือไปสู่สิ่งของอื่นๆ เช่น ของเล่น ที่นอน เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ฝาชักโครก อาหาร แก้วน้ำ หรืออุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งพยาธิชนิดนี้สามารถอยู่ได้ทั้งสภาพแวดล้อมที่ชุ่มชื้นและแห้งได้ยาวนาน โดยจะสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ยาวนาน 2-3 สัปดาห์หากไม่มีการทำความสะอาด และยังสามาถกระจายไปตามอากาศและเข้าสู่ร่างกายผ่านการสูดดมได้เช่นกัน

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ผู้ที่ทำงานที่ต้องคลุกคลีกับเชื้อ และผู้ดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ซึ่งจะมีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ถึง 50%

วัฏจักรชีวิตของ Enterobius vermicularis

พยาธิเข็มหมุดจะก่อโรคเฉพาะในมนุษย์ โดยไข่ของพยาธิชนิดนี้จะฟักตัวภายในลำไส้เล็ก และใช้เวลา 1-2 เดือนในการเจริญเติบโตเต็มที่ ในเวลากลางคืนขณะนอนหลับ พยาธิเข็มหมุดตัวเต็มวัยจะเดินทางไปยังลำไส้ใหญ่เพื่อผสมพันธุ์ ส่วนพยาธิเข็มหมุดตัวเมียที่ตั้งครรภ์จะออกมาจากร่างกายทางรูทวารเพื่อวางไข่รอบๆบริเวณนั้น ซึ่งตัวอ่อนที่อยู่ในไข่จะทำให้ติดเชื้อได้ในเวลา 4-6 ชั่วโมง และตัวอ่อนเหล่านี้ยังอาจไชกลับเข้ารูทวารไปยังลำไส้ตรงได้อีกด้วย

อาการของการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด

คนส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการใดๆ เมื่อเกิดการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด แต่บางคนก็อาการเล็กน้อย อาการของการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดที่พบได้มากที่สุดคืออาการคันรอบรูทวารและช่องคลอด ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวของพยาธิเข็มหมุดตัวเมียที่ตั้งครรภ์ โดยสังเกตได้ว่ามีอาการคันที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบดังต่อไปนี้

  • คันรุนแรง
  • คันจนรบกวนการนอน
  • อาการคันทำให้หงุดหงิด
  • ติดเชื้อแบคทีเรียจากการเกา

นอกจากนี้อาจพบได้ว่าพยาธิเข็มหมุดกระจายไปยังบริเวณช่องคลอด ทำให้เกิดการติดเชื้อในทางระบบทางเดินปัสสาวะ และหากอาจเดินทางไปที่ไส้ติ่งก็จะทำให้เกิดอาการคล้ายเป็นไส้ติ่งอักเสบ เช่น อาเจียน ปวดท้อง และไม่อยากอาหาร แต่ไม่มีการอักเสบที่ไส้ติ่งจริงๆ

การรักษาโรคติดเชื้อจากพยาธิเข็มหมุด

พยาธิเข็มหมุดรักษาได้ด้วยการใช้ยาต้านปรสิตเป็นจำนวน 2 โดส และใช้ห่างกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (โดสที่ 2 จะช่วยฆ่าไข่ที่อาจเพิ่งวางหลังจากได้รับยาโดสแรกไป) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยาที่มักใช้ในการรักษาพยาธิเข็มหมุด ได้แก่

  • มีเบนดาโซล (Mebendazole)
  • อัลเบนดาโซล (Albendazole)
  • ไพแรนเทล พาโมเอต (Pyrantel pamoate)

ยาไพแรนเทล พาโมเอตมีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป ไม่จำเป้นต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ แต่มีประสิทธิภาพสู้ยาอีกสองชนิดไม่ได้ นอกจากนี้คนอื่นๆ ในบ้านก็ควรรักษาด้วยการรับประทานยาเช่นเดียวกัน เพราะเป็นไปได้ที่จะเกิดการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆ ด้วยแล้ว

การป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อพยาธิเข็มหมุด

การรักษาความสะอาดและการดูแลสุขภาพจะช่วยป้องกันจากการติดเชื้อซ้ำและการแพร่กระจายของพยาธิชนิดนี้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • ล้างห้องน้ำเป็นประจำ
  • อาบน้ำทุกเช้า (อาบน้ำฝักบัวปลอดภัยกว่าแช่น้ำ)
  • อย่าสะบัดผ้า ไม่ว่าจะเป็นชุดชั้นใน ชุดนอน ผ้าเช็ดตัว หรือผ้าคลุมเตียง เพราะจะทำให้ไข่พยาธิเข็มหมุดลอยไปในอากาศ และควรซักผ้าเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการเกาบริเวณรอบรูทวาร
  • ไม่ไว้เล็บยาว และไม่กัดเล็บ
  • ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะก่อนและหลังรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih, Enterobius vermicularis infection. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1375686/), 1994 Sep
cdc, SearchA-Z IndexParasites - Enterobiasis (also known as Pinworm Infection) (https://www.cdc.gov/parasites/pinworm/index.html),January 10, 2013

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)