June 29, 2019 11:28
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
สวัสดีค่ะ จากประวัติมีอาการเครียดเรื่องเพื่อน ครอบครัว รู้สึกเบื่อ เหนื่อยไม่มีแรง มือสั่นตลอด หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ หอบง่ายเหนื่อยง่าย หายใจแรง ปวดศีรษะ กินอะไรไม่ได้เลย มีอาการอาเจียน ร้องไห้ ซึม หมออาจคิดถึง
-Adjustment disorder เป็นความผิดปกติในการปรับตัวต่อเหตุการณ์ต่างๆภายนอกที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในชีวิต มักเป็นเหตุการณ์ร้ายๆแล้วปรับตัวสู่ภาวะปกติไม่ได้ เช่น การเสียชีวิตคนสำคัญ การอย่าร้าง เกิดอุบัติเหตุ มีโรคต่างๆ การเปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนที่ทำงาน เป็นต้น ระยะเวลาที่เป็นมักเกิดภายใน 3 เดือนหลังเกิดความเปลี่ยนแปลงหรือกดดันนี้ อาจทำให้เกิดอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า หงุดหงิด ท้อแท้ คิดมาก มองโลกในแง่ร้าย นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวณ หรือบางรายอาจมีอาการแสดงออกทางร่างกาย เช่น ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องผูก/เสีย เบื่ออาหาร เป็นต้นค่ะ การรักษาแพทย์จะให้ทำจิตบำบัดและอาจรับประทานยากลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า หรือกลุ่มยาลดวิตกกังวลร่วมด้วย
-โรคซึมเศร้า จะมีอาการดังต่อไปนี้ 1.มีอารมณ์เศร้าตลอดเวลา 2.ความสนใจสิ่งต่างๆลดลง 3.การนอนหลับผิดปกติ 4.รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิด 5.เหนื่อยง่ายหรือไม่ค่อยมีแรง 6.เบื่ออาหาร 7.การเคลื่อนไหวช้าลง 8.มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย 9.มีปัญหากับการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้ามีหลายๆข้อที่กล่าวไปข้างต้น เป็นเวลาอย่างน้อย2สัปดาห์ หมอจะคิดถึงโรคซึมเศร้าค่ะ
ยังไงควรไปพบจิตแพทย์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและจะได้รักษาอย่างเหมาะสมนะคะ หรือเบื้องต้นสามารถโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิตได้ที่เบอร์ 1323 ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การที่คนเรามีปัญหาในชีวิต อาจส่งผลต่อสภาวะทางอารมณ์และจิตใจได้ค่ะ หากไม่สามารถปรับตัวกับความเครียดหรือปัญหาเหล่านั้นได้ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ และมีอาการจนส่งผลกระทบต่อการเรียน การใช้ชีวิตประจำวัน แบบนี้มีโอกาสที่จะนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ค่ะ
เบื้องต้นหนูลองทำแบบประเมินความเครียดด้วยตนเองดูก่อนนะคะ
โดยสำรวจอาการภายใน 1-2 เดือน ว่ามีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน โดยให้คะแนนตามระดับความรุนแรงของอาการดังนี้
ไม่เคยเลย 0 คะแนน
ครั้งคราว 1 คะแนน
บ่อยๆ 2 คะแนน
ประจำ 3 คะแนน
1. นอนไม่หลับ เพราะมีเรื่องกังวลใจหรือคิดมาก
2. รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ
3. ทำอะไรไม่ได้เลย เพราะประสาทตึงเครียด
4. รู้สึกวุ่นวายใจ
5. ไม่อยากพบปะผู้คน
6. ไม่มีความสุข รู้สึกเศร้าหมอง
7. ปวดหัวข้างเดียวหรือปวดขมับ 2 ข้าง
8. รู้สึกหมดหวังในชีวิต
9. รู้สึกว่าชีวิตตนเองไร้คุณค่า
10. กระวนกระวายตลอดเวลา
11. ขาดสมาธิ
12. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงที่จะทำอะไร
13. เหนื่อยหน่ายไม่อยากทำอะไร
14. ใจเต้นแรง
15. เสียงสั่น ปากสั่น มือสั่นเมื่อรู้สึกไม่พอใจ
16. กลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ
17. ปวดเกร็งบริเวณท้ายทอย หลัง ไหล่
18. ตื่นเต้นง่ายกับเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
19. มึนงง วิงเวียนศีรษะ
20. ความสุขทางเพศลดลง ขาดความใส่ใจในการดูแลตัวเอง
หากรวมคะแนนได้มากกว่า 17 คะแนน หมายความว่ามีความเครียดในระดับที่สูงกว่าปกติ แนะนำพบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัดแล้วรับการรักษาด้วยวิะีที่เหมาะสมนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากที่คุณหมอและพี่นักจิตวิทยาได้ให้ข้อมูลไว้นะครับว่าอาการเหล่านี้ค่อนข้างตรงกับเรื่องของภาวะโรคซึมเศร้า ซึ่งหากอาการเหล่านี้เข้ามากระทบกับชีวิตประจำวันมากแล้ว การเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาก็เป็นหนทางหนึ่งนะครับที่จะทำให้หนูได้รับการประเมินและการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป
นอกจากนั้นแล้วผมอยากเพิ่มเติมในส่วนที่นอกเหนือจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญว่า หนูสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความตึงเครียดในตัวหนูลดน้อยลงได้ พูดคุยกับผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ที่เราไว้ใจ การทำแบบนี้จะให้ผลการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการช่วยให้หนูสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวอีกด้วยครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งในเรื่องของความตึงเครียดหรือเรื่องราวของเราที่เกิดขึ้น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หนูจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หนูขอสอบถามหน่อยนะคะ หนูอายุ16ปี หนูเครียดเรื่องเพื่อนที่โรงเรียนเครียดปัญหาครอบครัว หนูรู้สึกเบื่อ ไม่อยากเจอใคร ยากหนีแต่ปัญหา เหนื่อยไม่มีแรง มือสั่นตลอด หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ หอบง่ายเหนื่อยง่ายหายใจแรง ปวดหัว กินอะไรไม่ได้เลย มีแต่อาเจียร ตามัวๆ มีแต่ร้องไห้ ซึม น้ำตาไหลออกมาเอง เรียนไม่รู้เรื่อง ครูสอนก็นั่งคิดอะไรเรื่อยเปื่อย รู้สึกผิดหวัง อยากมีคนเข้าใจมากที่สุด อาการแบบนี้หนูเป็นอะไรคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)