กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

9 อาการที่พบบ่อยของผู้ป่วยระยะสุดท้าย

เตรียบรับมือกับอาการเหล่านี้
เผยแพร่ครั้งแรก 7 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
9 อาการที่พบบ่อยของผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ระหว่างทางของการเจ็บป่วยตั้งแต่เริ่มรู้การวินิจฉัยไปจนถึงปลายทางของชีวิต ผู้ป่วยโรคมะเร็งอาจจะต้องเจอกับอาการต่างๆ หลากหลายมากมาย ถึงแม้จะไม่อาจรักษาให้อาการหลายๆ อย่างหายขาดได้ แต่การรู้เทคนิคการดูแลผู้ป่วยสำหรับอาการต่างๆ ที่พบบ่อยเหล่านี้อาจจะช่วยให้ผู้ป่วยก้าวผ่านวันเวลาและความทุกข์ทรมานจากอาการ ต่างๆ เหล่านี้ได้ดีขึ้น

สำหรับทางการแพทย์ เรามีแบบสอบถามที่เรียกว่า ESAS (Edmonton Symptoms Assessment System) ไว้สำหรับให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยลองตอบดูก่อน ซึ่งพบว่ามีอาการที่พบบ่อยสัมพันธ์กับโรคมะเร็งมากถึง 9 อาการ และผู้ป่วยสามารถเติมอาการอื่นๆ ที่พบบ่อยลงเพิ่มเติมในข้อ 10 ได้ การดูแลภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ควรเริ่มจากการดูแลโดยยังไม่ต้องใช้ยาก่อน แต่หากอาการเป็นมากขึ้นจนเริ่มควบคุมได้ยากจึงควรพิจารณาใช้ยาเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

9 อาการที่พบบ่อย ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย

1) ปวด

2) อ่อนเพลีย 

วิธีดูแลให้พักบ่อยและนานขึ้นระหว่างการทำกิจกรรมที่เคยทำ ทำความเข้าใจว่าอาการอ่อนเพลียอาจเป็นส่วนหนึ่งของโรคที่เป็น ไม่ควรหักโหมหรือสร้างมาตรฐานสูงเกินไปสำหรับตัวผู้ป่วย

3) คลื่นไส้อาเจียน 

วิธีดูแล

  • หลีกเลี่ยงอาการกลิ่นฉุน
  • อาหารที่ไม่น่ารับประทาน
  • ให้กินน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง 
  • เลี่ยงอาหารมัน เลี่ยงอาหารรสจัด 
  • รักษาความสะอาดในช่องปาก 
  • จัดท่าให้ผู้ป่วยนั่งหลังมื้ออาหาร 
  • ดูแลเรื่องความกังวลของผู้ป่วย เพราะความกังวลอาจเป็นสาเหตุของการอาเจียนได้ 
  • อาจพิจารณาให้ยากินแก้อาเจียน หากยังไม่ดีขึ้นควรฉีดยา

4) ซึมเศร้า

วิธีดูแล รับฟังความรู้สึกของผู้ป่วย ให้กำลังใจด้วยคำพูดดีๆ    

แก้ไขอาการทางกายที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบาย เช่นอาการปวด อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการเหนื่อยหอบ หรืออาการอื่นๆ หากภาวะซึมเศร้าเป็นรุนแรงขึ้นอาจพิจารณาให้ยาต้านอารมณ์ซึมเศร้า

5) วิตกกังวล

วิธีดูแล

  • รับฟังความรู้สึกของผู้ป่วยและเรื่องราวที่กังวล 
  • ให้คำอธิบายเรื่องที่กังวล 
  • ช่วยให้ผู้ป่วยจัดการเรื่องที่กังวลอยู่หากทำได้ 
  • หากอาการเป็นมากขึ้นอาจพิจารณาให้ยาคลายกังวล

6) ง่วงซึม

วิธีดูแล หาสาเหตุว่าเป็นจากการได้รับยาคลายกังวล ยานอนหลับ หรือยาแก้ปวดมากเกินไปหรือไม่ หากไม่พบสาเหตุ อาจเป็นส่วนหนึ่งของอาการอ่อนเพลีย ควรให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนเต็มที่ บางครั้งผู้ป่วยอาจใช้วิธีเก็บพลังงานสะสม และอาจจะกระปรี้กระเปร่าขึ้นในวันถัดไป 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

7) เบื่ออาหาร

วิธีดูแล 

  • ให้ผู้ป่วยกินอาหารที่ตนเองชอบ 
  • ให้กินน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง 
  • ผู้ป่วยมักกินได้มากที่สุดในมื้อเช้า และเมื่อกินในมื้อเช้าแล้วอาจรู้สึกไม่อยากกินในมื้อถัดไป 
  • เลี่ยงอาหารมัน 
  • เลี่ยงอาหารรสจัด 
  • รักษาความสะอาดในช่องปาก 
  • หาสาเหตุที่อาจแก้ไขได้ เช่นท้องผูก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือซึมเศร้า 
  • อาจพิจารณาใช้ยาเจริญอาหารกลุ่มสเตียรอยด์หากไม่มีข้อห้าม
  • ญาติหรือผู้ดูแลควรทำความเข้าใจว่า ไม่ใช่ความผิดของญาติ หรือผู้ดูแลที่ดูแลไม่ดี แต่เป็นอาการของโรคที่เป็นมากขึ้นที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร

 8) เหนื่อยหอบ

วิธีดูแล

  • ให้พักเหนื่อย 
  • ไม่ทำกิจกรรมที่หักโหมเกินไป เลือกทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย 
  • ฝึกการหายใจ หรือการกำหนดลมหายใจ 
  • ใช้พัดลมเป่าให้ผู้ป่วยรู้สึกเย็นสบาย                                                    

โดยทั่วไปการให้ออกซิเจนมักไม่ได้ช่วยให้อาการหอบลดลงในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เนื่องจากออกซิเจนในเลือดของผู้ป่วยมักไม่ต่ำ แต่การให้ออกซิเจนอาจช่วยให้ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลรู้สึกคลายความกังวลได้

การดูแลอาการเหนื่อยของผู้ป่วยจึงควรเป็นการแก้ไขที่สาเหตุ เช่น หากเป็นจากการมีน้ำในปอดปริมาณมาก อาจต้องใช้วิธีการเจาะน้ำในปอดออก อย่างไรก็ตามน้ำในปอดสามารถกลับมาใหม่ได้ เนื่องจากตัวโรคยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องอาจพิจารณาใช้ยากลุ่มมอร์ฟีนช่วยลดอาการเหนื่อยควบคู่ไปด้วยหรือเป็นทาง เลือกหลักกรณีที่ผู้ป่วยไมอ่ยากใช้วิธีเจาะนำ้ในปอดออก

ในผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อยหอบมักมีความวิตกกังวลร่วมด้วยจากความกลัวเรื่องอาการที่เกี่ยวข้องกับการหายใจไม่สะดวก การให้ ยาคลายกังวลอาจช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้นได้

9) สบายดีทั้งกายและใจ

สำหรับข้อนี้เป็นการประเมินว่าผู้ป่วยรู้สึกสบายดีมากน้อยเพียงใด เป็นการวัดคุณภาพชีวิตแบบคัดกรองเบื้องต้นด้วยแบบสอบถาม หากผู้ป่วยให้คะแนนข้อนี้น้อยอาจลองถามดูว่ามีอะไรที่ผู้ป่วยยังอยากทำอยู่และยังไม่ได้ทำหรือไม่ 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
End-of-Life Care: Managing Common Symptoms. American Academy of Family Physicians (AAFP). (https://www.aafp.org/afp/2017/0315/p356.html)
Palliative Care. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care)
What is palliative care?. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000536.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)