Trypophobia หรือโรคกลัวรู

โรคกลัวรู อาการผิดปกติที่อาจถึงขั้นหมดสติได้ อ่านวิธีรักษาและคำแนะนำสำหรับคนที่เป็นโรคกลัวรูได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Trypophobia หรือโรคกลัวรู

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคกลัวรู หรือ Trypophobia มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก "Trypo" หมายถึง การเจาะ หรือหลุม ส่วนคำว่า "Phobia" หมายถึง อาการกลัว เมื่อรวมทั้ง 2 คำเข้าด้วยกันจึงเป็นชื่อเรียกอาการกลัวรู
  • ผู้ที่เป็นโรคกลัวรู เมื่อเห็นภาพหรือวัตถุใดๆ ที่มีรูหรือตุ่มจำนวนมากติดๆ กัน อาจมีอาการขยะแขยง กลัว กังวล คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจเป็นลมได้ 
  • สาเหตุของโรคกลัวรูเชื่อว่าเกิดจากประสบการณ์ที่ไม่ดีในวัยเด็ก ทำให้รู้สึกกลัว เมื่ออายุมากขึ้นแล้วเห็นภาพรูจำนวนมาก สมองอาจนำภาพเหล่านั้นไปเชื่อมโยงกับความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็ก ก่อให้เกิดอาการวิตกกังวลขึ้นมา
  • การรักษาโรคกลัวรูนั้นสามารถทำได้โดยการดูแลตัวเองให้ดี นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากมีอาการมากจนถึงขั้นรบกวนการใช้ชีวิต ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อทำการรักษา
  • ดูแพ็กเกจปรึกษาหมอผ่านวีดีโอคอลได้ที่นี่

ภาวะการกลัวรูนี้เรียกว่า Trypophobia เกิดขึ้นเมื่อพบเห็นรูต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่มนุษย์ทำและเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งภาวะนี้แบ่งระดับความกลัวออกไปหลายระดับ ตั้งแต่คันยุกยิก ขนลุก อาการขยะแขยง ตัวสั่น เขาอ่อน หรือบางคนอาจหมดสติ 

โรคกลัวรูคืออะไร?

โรคกลัวรู หรือ Trypophobia เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คำว่า "Trypo" หมายถึง การเจาะ การกด หรือหลุมและตะปุ่มตะป่ำ เมื่อเติมคำว่า "Phobia" ซึ่งหมายถึง อาการกลัว ความหมายโดยรวมที่ว่า Trypophobia คือโรคหรืออาการของคนที่กลัวสิ่งที่มีลักษณะเป็นหลุมเป็นบ่อ ตะปุ่มตะป่ำ หรือมีพื้นผิวที่ขรุขระ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

จากการวิจัยของ อาร์โนด์ วิลกินส์ และจีออฟ โคล จากสถาบันจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแห่งเอสเซกซ์ สหราชอาณาจักร พบว่า ที่ริงแล้วโรคกลัวรูนั้นไม่ใช่อาการกลัว แต่เป็นอาการขยะแขยง เนื่องจากสมองนำภาพไปเชื่อมต่อกับเหตุการณ์หรือสิ่งที่จดจำในอดีตที่ส่งผลต่อร่างกายหรือ ความรู้สึกนึกคิด เช่น อาจคิดว่ารูเหล่านั้นเกิดขึ้นกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

สเตฟานี่ อินกาเมลส์ วัยรุ่นสาวชาวอังกฤษที่เกิดอาการกลัวมัฟฟิน เนื่องจากผิวของขนมปังดังกล่าวมีลักษณะเป็นหลุมเป็นบ่อ ตะปุ่มตะป่ำ ซึ่งสิ่งนี้เองที่ทำให้เธออาเจียนออกมาทุกครั้งหลังจากที่เห็นภาพของขนมปังดังกล่าว และมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องนำส่งโรงพยาบาล

สาเหตุของโรคกลัวรู

โรคกลัวรูเกิดจากสมองนำภาพรูหรือเม็ดที่ปรากฏไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่คิดว่าต้องอันตราย ทั้งๆ ที่ทราบอยู่แล้วว่าสิ่งที่เห็นนั้นไม่สามารถทำอันตรายได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะคนที่มีอาการแบบนี้เคยผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นในวัยเด็กมาก่อน หรืออาจมีความผิดปกติที่เกี่ยวกับการทำงานของสมอง รวมถึงมีสภาพแวดล้อมและพันธุกรรมในครอบครัวที่มีความวิตกกังวลมากเกินไป

อาการของโรคกลัวรู

อาการของโรคกลัวรูมีด้วยกันหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าจะมีอาการแบบไหน หรืออาจมีหลายอาการร่วมกัน เมื่อเห็นภาพที่มีรูหรือเม็ดที่กลวงอาจมีอาการดังนี้

การรักษาโรคกลัวรู

โรคกลัวรูเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากภายในจิตใจไม่ใช่จากทางกาย ดังนั้นจึงไม่สามารถรักษาด้วยการใช้ยาเพื่อให้ร่างกายหายป่วยได้ การรักษาที่ถูกวิธีจึงต้องไปพบจิตแพทย์เท่านั้น และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรีบไปพบแพทย์เมื่อมีอาการรุนแรง เช่น กลัวจนมีอาการซึมเศร้า หรือกลัวติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือนก็ยังไม่หาย และกลัวชนิดไม่มีเหตุผล เพราะกระทบกับสภาพจิตใจจนทำให้ป่วยกายหรือมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน

หากมีอาการซึมเศร้า จิตแพทย์อาจให้ใช้ยาร่วมด้วย ทั้งนี้การรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าร่วมกับการบำบัดทางจิตวิทยาให้ชนะความกลัวจะต้องทำควบคู่กันไป ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของจิตแพทย์ว่าควรจะต้องทำอย่างไร

การป้องกันและการดูแลตนเอง

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและลดความวิตกกังวลได้ หรืออาจเล่นโยคะซึ่งเป็นการฝึกจิตใจหรือสมาธิ ทำให้จิตใจผ่อนคลายและลดความเครียด

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ สารเสพติดต่าง ๆ และคาเฟอีน

  • พักผ่อนให้เพียงพอทุกวัน ช่วยทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใส

  • หากรู้สึกตัวว่ามีอาการของโรคกลัวรูแล้ว ควรเข้ากลุ่มที่มีการบำบัดโรคนี้ จะช่วยให้มีความเข้าใจโรคได้ดีขึ้น และการบำบัดก็จะได้ผลมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

  • ฝึกเข้าใกล้สิ่งของหรือสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกกลัวบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความคุ้นชิน และพยายามให้กำลังใจตัวเองโดยไม่ท้อแท้ เพื่อให้การบำบัดรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องและได้ผล

  • ถ้าทำแล้วยังไม่ดีขึ้นจะต้องรีบไปพบจิตแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำและได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

แม้ว่าคนส่วนมากจะไม่ได้มีอาการของโรคกลัวรู แต่เมื่อมองภาพรูที่มีลักษณะขรุขระหรือตะปุ่มตะป่ำแล้วยังเกิดความรู้สึกไม่สบายตาหรือไม่ค่อยชอบ อาจเป็นเพราะกลไกในร่างกายคนเราต้องการให้หลีกเลี่ยงจากสัตว์ต่าง ๆ ที่มีพิษก็ได้ นั่นคือพวกงูหรือแมงป่อง แต่หากเกิดอาการมากเกินไปจนรบกวนจิตใจและหมดความสุขแบบนี้ ก็ควรรีบไปพบจิตแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะดีกว่า

ดูแพ็กเกจปรึกษาหมอผ่านวีดีโอคอล เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Is Trypophobia and Is There a Cure?. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/trypophobia-101-beginners-guide/)
Trypophobia: Symptoms, Causes, and Treatments (https://www.verywellmind.com/trypophobia-4687678)
Trypophobia: Fact or fiction?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320512)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)