อาการท้องอืดนั้นจะทำให้รู้สึกแน่นในท้องและทำให้รู้สึกว่าท้องนั้นโตขึ้น อาการปวดท้องส่วนล่างหรือปวดท้องในอุ้งเชิงกรานนั้นมักจะเป็นอาการปวดที่เกิดต่ำกว่าสะดือ อวัยวะที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานเช่นกระเพาะปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์นั้นมักจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดดังกล่าว
สาเหตุ
การกลืนอากาศเข้าไป ทานอาหารที่มีไขมันสูงที่ทำให้อาหารบีบตัวออกจากกระเพาะอาหารได้ช้า และความเครียดนั้นสามารถทำให้เกิดอาการท้องอืดและปวดท้องส่วนล่างได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคเกี่ยวกับลำไส้และกระเพาะอาหารที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้ประกอบด้วย
- ท้องผูก
- การที่ไม่สามารถรับประทานส่วนผสมบางอย่างได้เช่นน้ำตาลแลคโตสหรือกลูเตน
- กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ
- ลำไส้ใหญ่อักเสบ
- โรคกรดไหลย้อน
- การอุดตันในลำไส้
- ภาวะที่ลำไส้เล็กและใหญ่นั้นทำงานช้าลง
- Gastroparesis ซึ่งมักจะเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
- Crohn’s disease
- โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ
- ลำไส้แปรปรวน
โรคที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ที่อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ประกอบด้วย
- การตั้งครรภ์นอกมดลูก
- การตั้งครรภ์
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- อาการปวดประจำเดือน
- กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน
- มะเร็งรังไข่
- ถุงน้ำในรังไข่
- อุ้งเชิงกรานอักเสบ
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้เช่น
- ไส้ติ่งอักเสบ
- ไส้เลื่อน
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ยา
- ตับแข็ง
- มะเร็งในช่องท้อง
- แพ้ยา
- แพ้อาหาร
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
ควรไปพบแพทย์ทันทีหากไม่สามารถผายลมและมีอาการอาเจียนตลอดเวลาร่วมกับอาการดังกล่าว เพราะอาจจะเป็นอาการของโรคที่รุนแรงได้ คุณควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมกับอาการท้องอืดหรือปวดท้องในอุ้งเชิงกราน
- มีไข้
- อาเจียนเป็นเลือด
- ถ่ายเป็นเลือด
- สารคัดหลั่งจากช่องคลอดผิดปกติ
- อาการปวดรุนแรงขึ้นอย่างฉับพลันโดนเฉพาะหากดีขึ้นเวลาที่นอนเฉยๆ
หากคุณมีอาการไม่รุนแรง ให้ไปพบแพทยืหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 วันหรือหากอาการนั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคุณ
นี่เป็นเพียงการสรุปข้อมูลเท่านั้น คุณควรไปพบแพทย์หากสงสัยและกังวลว่าตัวเองจะเกิดภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์
การรักษา
แพทย์จะเริ่มจากการหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการก่อนโดยการซักประวัติ เกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น อะไรทำให้แย่ลง และคุณเคยมีอาการเช่นนี้มาก่อนหรือไม่ ตัวอย่างการรักษาในบางโรคที่อาจทำให้เกิดอาการลักษณะนี้ประกอบด้วย
- แพทย์อาจจะรักษาการอุดตันในลำไส้ด้วยการให้สารน้ำ พักการใช้งานลำไส้และใส่สายทางจมูก แต่บางครั้งอาจจำเป็นต้องผ่าตัด
- ไส้ติ่งที่แตกนั้นจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
- แพทย์อาจจะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรืออุ้งเชิงกรานอักเสบ
- หากมีอาการจากการปวดประจำเดือนสามารถใช้ยาแก้ปวดบรรเทาอาการได้
การรักษาที่บ้าน
อาการท้องอืดและปวดท้องส่วนล่างที่เกิดจากระบบย่อยอาหารนั้นมักจะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป คุณอาจจะใช้วิธ๊ต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการได้
- ออกกำลังกายเพื่อปล่อยอากาศและแก๊ซที่สะสมในกระเพาะอาหารออก
- การดื่มน้ำเพิ่มขึ้นสามารถลดอาการท้องผูกได้
- รักประทานยาลดกรดเพื่อรักษาอาการแสบร้อนกลางหน้าอกหรือโรคกรดไหลย้อน
- รับประทานยาแก้ปวดเช่น ibuprofen เพื่อลดอาการปวดท้อง
การป้องกัน
อาหารและเครื่องดื่มบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดและปวดท้องส่วนล่างได้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มต่อไปนี้เพื่อป้องกันการเกิดอาการดังกล่าว
- ถั่ว
- เบียร์
- Brussel sprouts
- กะหล่ำปลี
- น้ำอัดลม
- การเคี้ยวหมากฝรั่ง
- ผลิตภัณฑ์จากนมหากคุณมีภาวะพร่องเอนไซม์แลคเตส
- ลูกอมที่แข็ง
- อาหารมันๆ
- ถั่วเลนทิล
- หัวไชเท้า
การสูบบุหรี่นั้นจะทำให้เกิดอาการเพิ่มขึ้นได้ หากคุณเลิกบุหรี่ นอกจากจะลดอาการเหล่านี้ได้แล้วยังช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นอีกด้วย การรับประทานเส้นใยอาหารเพิ่มขึ้นเช่นจากผัก ผลไม้และธัญพืชนั้นอาจจะช่วยป้องกันโรคท้องผูกได้