ประโยชน์ของจิงจูฉ่าย ไอเดียการกินและการใช้จิงจูฉ่ายเพื่อสุขภาพ

เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ประโยชน์ของจิงจูฉ่าย ไอเดียการกินและการใช้จิงจูฉ่ายเพื่อสุขภาพ

หากกล่าวถึงพืชผักสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และสามารถต้านเซลล์มะเร็งได้ด้วยนั้น จะไม่กล่าวถึงจิงจูฉ่ายคงไม่ได้ เพราะจิงจูฉ่ายจัดว่าเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยามากมาย โดยคนส่วนใหญ่จะนิยมนำมาปรุงอาหารเพื่อรับประทาน และด้วยรูปลักษณ์ของใบที่สวยงาม มีกลิ่นเฉพาะตัว บางบ้านก็นิยมนำมาปลูกลงในกระถางเพื่อตกแต่งบ้าน เพิ่มความสวยงามให้กับบ้านได้อีกด้วย

จิงจูฉ่ายคืออะไร?

จิงจูฉ่าย (White mugwort) หรือ ที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ โกศจุฬาลัมพา แต่สำหรับชาวต่างชาติจะเรียกว่า เซเลอรี (Celery) เป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน มีฤทธิ์เย็น ให้รสชาติขมเล็กน้อย และมีกลิ่นหอม ยิ่งเมื่อถูกความร้อนกลิ่นยิ่งจะหอมมากขึ้นไปอีก คนจีนนิยมนำมาปรุงอาหารในช่วงหน้าหนาว เพราะเชื่อว่าจิงจูฉ่ายจะช่วยปรับความสมดุลให้กับร่างกายได้ แต่สำหรับคนไทยจะมานำมาปรุงอาหารเพื่อดับกลิ่นคาว ส่วนชาวต่างชาติจะนิยมนำมาวางตกแต่งจานอาหารเพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับอาหารเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลักษณะของจิงจูฉ่าย

จิงจูฉ่ายเป็นพืชล้มลุก ซึ่งมีลักษณะเป็นพุ่มเล็กๆ สูงประมาณครึ่งถึงหนึ่งฟุต ใบจะมีลักษณะเป็นรูปวงรี มีขอบเป็นแฉก 5 แฉกมีสีเขียว เนื้อที่ใบหนาเหมือนกับผักขึ้นฉ่าย เมื่อโตเต็มที่จะแตกกิ่งออกเป็นกอคล้ายใบบัวบก รากมีขนาดใหญ่ และมีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น และมีแสงแดดสลัวๆ

คุณค่าทางโภชนาการของจิงจูฉ่าย

จิงจูฉ่ายจะมีสารไลโมนีน ไกลโคไซด์ชื่อ อะปิอินและมีซิลนีน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการปรับสมดุลความดันเลือดภายในร่างกาย อีกทั้งยังมีวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินอี และวิตามินซี โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส กากใยอาหาร และเหล็ก เป็นต้น

การรับประทานจิงจูฉ่ายในปริมาณ 100 กรัม ทำให้ได้รับพลังงานถึง 392 กิโลแคลอรี่ ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการของจิงจูฉ่ายประกอบไปด้วยโปรตีน 18 กรัม, วิตามิน 1.08 มิลลิกรัม, เหล็ก 45 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 550 มิลลิกรัม, ไขมัน 11 กรัม และมีแคลเซียมสูงถึง 1,760 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ยังมีวิตามินเอ ซี และคลอโรฟิลด์อีกด้วย

ประโยชน์ของจิงจูฉ่าย

จูจิงฉ่าย เป็นพืชที่มีประโยชน์และสรรพคุณทางยามากมาย โดยในส่วนของประโยชน์ก็มีดังนี้

  1. รักษาโรคมะเร็ง จากผลการวิจัยพบว่าจิงจูฉ่ายสามารถนำมารักษาโรคมะเร็งได้ โดยนำใบจิงจูฉ่าย 1 กำมือ มาปั่นหรือตำ เพื่อคั้นเอาน้ำออกมา นำมาดื่มทุกเช้า-เย็น ดื่มก่อนรับประทานอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง วันละ 1-2 ครั้ง โดยให้ทำทานติดต่อกันเป็นเวลา 2-3 เดือน สารในจิงจูฉ่ายจะสามารถช่วยต้านเซลล์มะเร็งได้
  2. บำรุงเลือด โดยเฉพาะสตรีที่มีปัญหาเรื่องเลือดลมไม่ดี ประจำเดือนมาไม่ปกติ จิงจูฉ่ายจะช่วยในการประสะเลือดลมให้ไหลเวียนได้ปกติ
  3. มีสรรพคุณเป็นยาเย็น หากรับประทานในช่วงหน้าหนาวจะช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย เลือดไหลเวียนได้สะดวก ช่วยบำรุงปอดและฟอกเลือด
  4. ดีต่อความดันโลหิต โดยน้ำมันหอมระเหยในจิงจูฉ่ายจะช่วยปรับความสมดุลความดันโลหิต ช่วยในเรื่องของการขับลม ในลำไส้และกระเพาะอาหาร
  5. ช่วยดับพิษ แก้ผิวหนังเป็นฝี แก้อาการอักเสบ ช่วยเรื่องผดผื่นคันได้
  6. ช่วยรักษาโรคมาลาเรีย เนื่องจากเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคนี้คล้ายกับเซลล์มะเร็ง

สรรพคุณทางยาของจิงจูฉ่าย

ต้นและใบของจิงจูฉ่ายจะมีน้ำมันหอมระเหย ที่ชื่อว่า อะปิอิน ซึ่งประกอบด้วยสารเอพีอิน สารไลโมนีน และซิลินี ซึ่งสรรพคุณของสารเหล่านี้จะช่วยลดความดันโลหิต ช่วยในเรื่องการขยายตัวของหลอดเลือด ช่วยขับลมและกรดในกระเพาะอาหาร จิงจูฉ่ายจัดเป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็นซึ่งจะช่วยในเรื่องของการปรับสมดุลในร่างกาย เหมาะกับคนที่มีอาการร้อนในบ่อยๆ นอกจากนี้ ยังช่วยในเรื่องบำรุงปอด ช่วยฟอกเลือด และระบบการหมุนเวียนของเลือด และด้วยจิงจูฉ่ายเป็นพืชที่มีโซเดียมต่ำ จึงช่วยในการฆ่าไวรัส และขับพิษ จึงเหมาะกับผู้ที่เป็นโรคไต

ไอเดียการกินจิงจูฉ่ายเพื่อสุขภาพ

จิงจูฉ่ายเป็นพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาประกอบเมนูอาหารได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะนำมาทำอาหารหรือทำเป็นเครื่องดื่ม การกินจิงจูฉ่ายให้ได้รับคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุดคือ การรับประทานแบบสดๆ เช่น ทานเป็นเครื่องเคียงกับลาบหรือน้ำพริกก็ได้ แต่ก็สามารถนำมาปรุงอาหารได้อีกหลายเมนู โดยเมนูที่จะแนะนำก็จะมีดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • จิงจูฉ่ายผัดไฟแดง เป็นเมนูที่ถูกดัดแปลงมาจากเมนูผัดผักบุ้งไฟแดงนั่นเอง กรรมวิธีก็ไม่อยาก เพียงนำจิงจูฉ่ายมาล้างน้ำให้สะอาด และหั่นให้ได้ความยาวพอประมาณ ใส่น้ำมันหอย พริก กระเทียมสับ น้ำตาล ซีอิ้วขาว และเต้าเจี้ยวเล็กน้อย โดยราดไว้บนจิงจูฉ่ายที่หั่นไว้ จากนั้นตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันลงไป เทส่วนผสมทุกอย่างลงไปในกระทะพร้อมกันๆ ผัดให้เข้ากัน เพียงแค่นี้ก็จะได้เมนูหอมๆ จากจิงจูฉ่ายไว้ทานกับข้าวต้มเพิ่มอีกหนึ่งเมนูแล้ว
  • แกงจืดจิงจูฉ่าย นอกจากเมนูผัดแล้ว เมนูต้มจิงจูฉ่ายก็นำมาทำได้เช่นกัน วิธีการทำก็ง่ายๆ ไม่ต่างจากแกงจืดทั่วไป เพียงแค่เพิ่มจิงจูฉ่ายลงไปเป็นส่วนประกอบเพิ่มเท่านั้น อันดับแรกเตรียมวัตถุดิบให้พร้อมได้แก่ หมูสับ แครอท เต้าหู้ไข่ วุ้นเส้น ซุปก้อน และซีอิ๊วขาว เริ่มต้นการทำจากการตั้งน้ำให้ร้อน แล้วใส่ซุปก้อนลงไป เมื่อน้ำเดือดจึงค่อยใส่หมูสับตามด้วยเต้าหู้ไข่ แครอท และวุ้นเส้น ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวเล็กน้อย จากนั้นให้ตักใส่จาน รับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ ก็ได้มื้ออาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มอีก 1 มื้อแล้ว
  • แกงส้มจิงจูงฉ่าย อาจจะฟังดูเป็นเมนูไม่คุ้นนัก แต่ในความเป็นจริงก็คือ เมนูแกงส้มทั่วไปที่ใส่จิงจูงฉ่ายเพิ่มเข้าไปนั่นเอง เริ่มกันที่การเตรียมผักที่คุณชอบหรือต้องการทาน 3-4 อย่าง เช่น มะละกอ ดอกแค ดอกกระหล่ำ และจิงจูฉ่าย เป็นต้น อาจจะใส่เนื้อสัตว์ลงไปผสมด้วยก็ได้ตามต้องการ เช่น เนื้อปลา เนื้อกุ้ง เตรียมพริกแกงส้ม น้ำตาลปึก เกลือ และน้ำมะขามเปียก สำหรับปรุงรส เริ่มทำจากการตั้งน้ำให้เดือด ใส่พริกแกงส้ม ตามด้วยเนื้อสัตว์ และผักตามลำดับ ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก น้ำตาลปึก และเกลือตามความชอบ พอเดือดให้ตักใส่ชามทานกับข้าวสวยร้อนๆ เมนูนี้เหมาะกับคนที่ชอบทานผักโดยเฉพาะ

เมนูเครื่องดื่มจากจิงจูฉ่าย

นอกจากจิงจู่ฉ่ายจะสามารถนำมาประกอบเมนูอาหารต่างๆ ได้แล้ว เรายังสามารถนำพืชชนิดนี้มาทำเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพได้อีกด้วย ไปดูกันว่าจะมีสูตรใดบ้าง

  • น้ำจิงจูงฉ่ายคั้นสด น้ำจิงจูงฉ่ายก็เป็นอีกหนึ่งเมนูเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ไม่ต่างกันอะไรกับน้ำคลอโรฟิลด์ที่หลายๆ คนดื่มกัน ต่างกันแค่ส่วนประกอบที่นำมาทำเท่านั้น การทำน้ำจิงจูงฉ่ายคั้นสดก็มีขั้นตอนไม่มาก เพียงแค่นำใบของจิงจูงฉ่าย 1 กำมือ มาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นให้นำไปคั้นหรือใช้เครื่องสกัด เพื่อนำเอาน้ำมาดื่ม แต่ด้วยกลิ่นที่ค่อนข้างฉุนและรสชาติฝืดคออาจจะฝืนทานลำบากสักหน่อย ทั้งนี้อาจเติมน้ำผึ้งเพื่อเพิ่มรสหวานอีกสักเล็กน้อยก็ได้
  • น้ำจิงจูงฉ่ายเพื่อสุขภาพ การทานเมนูจิงจูงฉ่ายคั้นสดอาจจะยากไปสำหรับคนที่สู้เรื่องกลิ่นไม่ไหว ลองเปลี่ยนมาทำเมนูนี้แทน วิธีทำก็ง่ายๆ เพียงแค่นำใบของจิงจูงฉ่าย 1 กำมือ ไปใส่เครื่องปั่น ผสมผลไม้เพิ่ม เช่น มะนาว หรือส้มที่คุณชอบมา 2-3 อย่าง แล้วผสมลงไปในเครื่องปั่น จากนั้นปั่นให้ละเอียด และนำมาดื่ม แต่หากไม่อยากทานกากใยที่ถูกปั่นจนละเอียด ให้ใช้วิธีกรองเอาแต่น้ำมาดื่ม แต่วิธีนี้อาจทำให้คุณค่าทางโภชนาการลดลงไปจากเดิมได้

ไอเดียการใช้จิงจูฉ่ายเพื่อสุขภาพ

ช่วยในการห้ามเลือด เนื่องจากจิงจูฉ่ายในส่วนของใบ มีสรรพคุณช่วยในการห้ามเลือดได้ วิธีใช้คือ นำใบมาตำให้ละเอียด จากนั้นพอกลงไปที่แผลก็จะช่วยห้ามเลือดได้แล้ว

ข้อควรระวัง

สตรีมีครรภ์ไม่ควรทาน ถึงแม้ว่าจิงจูฉ่ายจะมีสรรพคุณเป็นยา แต่สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานอย่างเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแท้งลูกได้

ด้วยสรรพคุณทางยาที่มากมายขนาดนี้ อาจทำให้หลายคนหันมาสนใจที่รับประทานพืชชนิดนี้กันมากขึ้น เพราะเป็นพืชที่สามารถนำมาปรุงอาหารได้ และค่อนข้างทานง่าย สำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยเฉพาะในเรื่องของความดัน ลองหาจิงจูงฉ่ายมารับประทานกันเป็นประจำ รับรองจะช่วยปรับสมดุลความดันให้คงที่ได้ และนี่ก็คือ ประโยชน์และสรรพคุณของจิงจู่ฉ่าย พร้อมวิธีการกินการใช้เพื่อสุขภาพอย่างเหมาะสม มีดีขนาดนี้ลองหามาทานกันบ้าง รับรองไม่มีผิดหวัง

 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mugwort: A Weed with Potential. Healthline. (https://www.healthline.com/health/mugwort-weed-with-potential)
Mugwort:Uses, Side Effects, Dosage, Interactions & Health Benefits. eMedicineHealth. (https://www.emedicinehealth.com/mugwort/vitamins-supplements.htm)
Mugwort: Benefits, Side Effects, Dosage, and Interactions. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/mugwort-benefits-side-effects-dosage-and-interactions-4767226)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป