แนวทางเกี่ยวกับอาหาร: การแถลงการณ์ของกลุ่มด้านความยั่งยืน

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
แนวทางเกี่ยวกับอาหาร: การแถลงการณ์ของกลุ่มด้านความยั่งยืน

รายงานทางวิทยาศาสตร์ของคณะกรรมการที่ปรึกษาเรื่องแนวทางเกี่ยวกับอาหาร (Dietary Guidelines Advisory Committee: DGAC) พบว่าประชาชนหลายล้านคนในสหรัฐอเมริกาเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากรูปแบบของอาหารที่ไม่ดี ในรายงานกล่าวไว้ว่า “กว่าครึ่งของชาวอเมริกันคือ 117 ล้านคนมีโรคเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้หนึ่งโรคหรือมากกว่า ซึ่งสัมพันธ์กับรูปแบบการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมและการไม่ออกกำลังกาย โรคดังกล่าวมีทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวานประเภทที่สอง และมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับอาหาร

มากกว่าสองในสามของผู้ใหญ่และเกือบหนึ่งในสามของเด็กและผู้เยาว์มีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทาง DGAC เชื่อว่าแนวทางด้านอาหารฉบับใหม่นี้จะช่วยให้ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ไม่ดีเหล่านั้นกลับมาดีได้ “ในอดีต เราไม่เคยเปลี่ยนแปลงการกินที่มากเกินไปของประชาชนเลย” Alice Lichtenstein สมาชิกของ DGAC กล่าว อ้างอิงจาก Tufts University Friedman School of Nutrition Science and Policy “หนึ่งในสิ่งที่รายงานนี้เน้นย้ำคือ อาหารทั้งหมด ไม่ใช่เพียงแค่สารอาหาร” การให้ความสนใจกับอาหารสอดคล้องกับความสนใจใหม่ทางด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ชี้นำให้คณะกรรมการแนะนำการเปลี่ยนแปลงของอาหารให้มีพืชเป็นหลัก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่กระตุ้นให้เกิดทั้งปฏิกิริยารุนแรงจากทางอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และการสนับสนุนจากกลุ่มผู้สนับสนุนทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

กระทรวงการเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Department of Agriculture: USDA) และกระทรวงสุขภาพและการบริการประชาชน (U.S. Department of Health and Human Services: HHS) รับผิดชอบร่วมกันในการตีพิมพ์แนวทางเกี่ยวกับอาหารฉบับเสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นปีนี้

เมื่อวันอังคารที่ 25 มีนาคม 2015 ผู้เชี่ยวชาญ 70 คนที่เป็นตัวแทนจากหลากหลายกลุ่มออกแถลงการณ์โดยตรงเกี่ยวกับรายงานของทาง DGAC ที่สถาบันแห่งชาติในเมือง Bethesda รัฐแมริแลนด์ “ชาวอเมริกันหลายล้านคนให้ความสนใจและเป็นกังวลในเรื่องนี้” กล่าวอ้างจาก Christiana Wyly กรรมการผู้บริหารของ Food Choice Taskforce “เรื่องที่ว่าการปศุสัตว์ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลต่อสิ่งแวดล้อมของเราไม่ใช่ข้อมูลใหม่”

“เป็นครั้งแรกที่ทั้งองค์กรทางสุขภาพของมนุษย์และองค์กรทางสิ่งแวดล้อมร่วมมือกันสนับสนุนคำแนะนำเหล่านี้ ประชาชนต้องการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือก”

Kari Hamerschlag กล่าวในฐานะตัวแทนของFriends of the Earth International ในการแถลงว่า “จากปริมาณของน้ำ ยาฆ่าแมลง เชื้อเพลิง และปุ๋ยที่ใช้ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม การเปลี่ยนแปลงไปทางอาหารจากพืชจะเป็นกุญแจสำคัญของความพยายามของเราในการที่จะเลี้ยงดูประชากรจำนวนมากขึ้นด้วยทรัพยากรที่น้อยลง พร้อม ๆ กับควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดมลภาวะทางน้ำและทางอากาศ”

Jillian Fry ผู้อำนวยการโครงการ Livable Future แห่ง Johns Hopkins Center เห็นด้วย “35% ของพืชผลจากการเกษตรบนโลกถูกเพาะปลูกเพื่อเป็นอาหารสัตว์ และคณะผู้เชี่ยวชาญหลายกลุ่มทั่วโลกก็เรียกร้องให้เพิ่มอัตราส่วนของพืชผลที่ปลูกเพื่อให้เป็นอาหารของคนโดยตรง เพื่อพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยทางอาหาร”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กลุ่มสนับสนุนเนื้อสัตว์กำลังผลักดันเพื่อต่อต้านแถลงการณ์ดังกล่าวด้วยเรื่องความยั่งยืนของการปศุสัตว์และเสนอว่าเนื้อสัตว์ไขมันต่ำเป็นสิ่งจำเป็นในอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

Betsy Booren สัตวแพทย์ใน North American Meat Institure กล่าวโต้ว่าทาง DGAC ทำเกินขอบเขตความเชี่ยวชาญของตนเอง และกล่าวว่าความยั่งยืนนั้น “ควรเอาไว้ให้คนในวงการนั้นเป็นคนพูดเอง” ส่วนคนอื่น ๆ มุ่งเน้นไปยังบทบาทของเนื้อในอาหารที่ดีต่อสุขภาพโดยไม่ได้กล่าวถึงคำแนะนำเรื่องความยั่งยืน อ้างอิงจากแถลงการณ์ของ Erig Berg นักวิทยาศาสตร์ด้านเนื้อสัตว์แห่ง North Dakota State University “เนื้อมีคุณค่าทางอาหารอัดแน่น ไม่ส่งผลกระทบต่อน้ำตาลในเลือด และเป็นแหล่งของกรดอะมิโนและกรดไขมันที่ครบถ้วน รวมถึงยังมีเหล็กในรูปแบบที่ร่างกายนำไปใช้ได้ด้วย” National Cattlemen’s Beef Association and the Sugar Association ก็ออกแถลงเช่นกัน

ในขณะที่ผู้พูดกำลังกล่าวอยู่ที่ Bethesda กลุ่มผู้สนับสนุนก็ระดมทุนเพื่อตีพิมพ์โฆษณาเต็มหน้ากระดาษในหนังสือพิมพ์ The New York Times และ The Washigton post ฉบับวันอังคาร โฆษณานี้ทำขึ้นโดยอ้างอิงจากข้อตกลงในจดหมายที่มีการลงชื่อของ 49 กลุ่ม ซึ่งเป็นการร้องเรียนไปยัง Tom Vilsack รัฐมนตรีกระทรวงการเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา และ Sylvia Burwell รัฐมนตรีกระทรวงสุขภาพและการบริการประชาชน “เพื่อแสดงให้เห็นข้อตกลงที่ชัดเจนที่จะทำให้ชาวอเมริกันและสิ่งแวดล้อมของเราดีขึ้น โดยการพัฒนาแนวทางการบริโภคที่ชัดเจนในด้านความจำเป็นของการลดการบริโภคเนื้อสัตว์และเพิ่มอาหารจากพืช”

Vilsack กำลังถูกกดดันจากสมาชิกสภาให้ปฏิเสธคำแนะนำทางด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานดังกล่าว โดยเขากล่าวในการให้สัมภาษณ์กับทาง Wall street journal ว่า “สิ่งที่ผมอ่านคือ งานของเราเป็นการสร้างแนวทางของอาหารและโภชนาการ และผมเน้นว่าอาหารและโภชนาการเพราะว่านั่นเป็นสิ่งที่กฎหมายกล่าวไว้” อย่างไรก็ตาม เขายังกล่าวด้วยว่าเขาไม่สามารถตัดความเป็นไปได้ที่ว่าความยั่งยืนจะมีบทบาทในเรื่องของแนวทางเกี่ยวกับอาหาร

การโต้เถียงกันในเรื่องของรายงานใหม่นี้คาดว่าจะมีต่อไปจนถึงสิ้นปีกระทั่งแนวทางที่ปรับปรุงใหม่เสร็จสิ้น เรื่องที่เกี่ยวกับความอ้วนหกตอนใน Lancet จะเน้นไปยังการกระทำที่สม่ำเสมอและสภาพแวดล้อมทางอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และในการประชุมงานวิจัยของนักเรียนที่ Friedman School จะมีคุณ Angela Tagtow ซึ่งเป็นกรรมการผู้บริหารของ Center for nutrition policy and promotion ของกระทรวงการเกษตรมาเป็นผู้บรรยายหลักในเรื่องนโยบายเกี่ยวกับอาหารที่ถึงจุดที่ต้องตัดสินใจ: แนวทางด้านอาหารสำหรับการนำไปใช้ของชาวอเมริกันและวิวัฒนาการ

ช่วงเวลาสำหรับการเขียนข้อคิดเห็นสำหรับรายงานของ DGAC ได้ถูกยืดออกไปจนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2015 โดยสิ่งที่ศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งรัฐสนใจคือให้ประชาชนบอกกระทรวงการเกษตรและกระทรวงสุขภาพและการบริการประชาชนให้ต่อต้านแรงกดดันจากอุตสาหกรรมอาหาร Jillian Fry ยังเขียนคำร้องเรียนที่คล้าย ๆ กัน เพื่อขอให้ทางสองกระทรวงดังกล่าวตระหนักถึงความเกี่ยวข้องของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อทางเลือกของอาหาร


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Can a Food Justice Movement Improve Nutrition and Health? A Case Study of the Emerging Food Movement in New York City. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3157506/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป