โฆษณาอาหารทำให้เด็กอ้วนได้อย่างไร?

อาหารสำเร็จรูปสำหรับทารก เป็นอาหารที่ดูเหมาะสม
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โฆษณาอาหารทำให้เด็กอ้วนได้อย่างไร?

อาหารสำเร็จรูปสำหรับทารก เป็นอาหารที่ดูเหมาะสม และสะดวกสบายสำหรับทารกที่กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนจากการกินนมแม่หรือนมผงสูตรต่างๆ มาเป็นการรับประทาน และย่อยอาหารจริงๆ แต่อาหารสำหรับเด็กถือเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะไม่ว่าอย่างไรอาหารก็คืออาหาร และอาหารที่ดีต่อสุขภาพและโภชนาการของผู้ใหญ่ก็มักจะดีต่อเด็กเช่นกัน แต่เราก็มีอุตสาหกรรมที่ตั้งขึ้นเพื่อทำอาหารสำหรับเด็กโดยเฉพาะซึ่งมักเป็นอาหารที่เต็มไปด้วยน้ำตาล แป้ง และไขมันที่ล้วนแต่ทำให้เกิดโรคอ้วน

มีขนมที่เรียกว่าขนมผลไม้แต่ไม่ได้มีผลไม้จริงๆ ผสมอยู่แต่เด็กๆ ก็มักจะชื่นชอบชนิดนี้เนื่องจากมักมีลายการ์ตูนที่พวกเขาชื่นชอบเช่น Scooby Doo, Spongebob หรือตัวละครจาก Pixar และ Disney อยู่บนกล่อง มีซีเรียลอาหารเช้าที่มีกล่องสีสันสดใส แต่มีปริมาณน้ำตาลมากกว่าคุกกี้ชอกโกแลตชิพ ซีเรียลกลุ่มนี้บางชนิดมีน้ำตาลมากกว่า 50% ของน้ำหนัก อ้างอิงจากรายงานล่าสุดจากกลุ่ม Environmental working group
นอกจากนั้นก็ยังมีขนมปังน้ำตาล ขนมอบ และคุกกี้ อาหารเย็นแช่แข็งที่อุดมไปด้วยไขมัน และกล่องมักกะโรนีและชีส และน้ำผลไม้ผสมเนื้อที่ในความจริงแล้วก็เป็นเพียงน้ำเติมน้ำตาลเท่านั้นที่มีการโฆษณาอย่างหนักในเด็ก

อำนาจของการเสนอแนะทางภาพ

ถึงแม้ว่าจะเป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการโฆษณาอาหารสำหรับเด็ก และการเกิดโรคอ้วน แต่จากหนังสือเรื่อง Challenges and Opportunities for Change in Food marketing to Children and Youth ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2013 Institute of Medicine ได้เน้นว่า “มีหลักฐานที่แสดงว่าการโฆษณาในโทรทัศน์ส่งผลต่อการเลือกบริโภคอาหารและเครื่องดื่มระยะสั้นในเด็กอายุ 2-11
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญก็คืออาหาร และเครื่องดื่มที่มักมีการโฆษณาในเด็กมักจะมีพลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง แต่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย
และเมื่อนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ รัฐชิคาโกได้ทำการศึกษาสารอาหารที่อยู่ภายในผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มที่มีการโฆษณาสำหรับเด็กในโทรทัศน์ พวกเขายังพบว่าอาหารเหล่านี้มีไขมันอิ่มตัว ไขมันชนิด trans น้ำตาล และโซเดียมในปริมาณที่สูงอีกด้วย

ไม่ใช่เพียงแต่โฆษณาในโทรทัศน์เท่านั้น แต่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเยลยังพบว่า 84% ของโฆษณากว่า 3 ล้านล้านชิ้นบนเว็บไซต์สำหรับเด็ก ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2009 – มิถุนายน 2010 ล้วนแต่ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่มีไขมัน น้ำตาล และ/หรือโซเดียมสูงทั้งสิ้น
มันง่ายมากที่จะคิดถึงผลที่จะเกิดตามมา การรดูโฆษณาหรือสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวกับขนม ซีเรียลอาหารเช้า และอาหารขยะที่มีน้ำตาล ไขมันหรือให้พลังงานสูงจะส่งผลต่อการเลือกอาหารสำหรับเด็ก ทำให้พวกเขาขอพ่อแม่ซื้ออาหารเหล่านี้ที่มีตัวการ์ตูนที่พวกเขาชื่นชอบอยู่มากขึ้น และส่งเสริมให้พวกเขารับประทานอาหารที่ไม่ให้ผลดีต่อสุขภาพ

ในความจริงแล้ว นักวิจัยของ Rudd Center for Food Policy & Obesity ของมหาวิทยาลัยเยลพบว่าการเข้าถึงโฆษณาทางโทรทัศน์ของเครื่องดื่มโซดาที่เติมน้ำตาลระหว่างปี 2002 และ 2004 มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของการบริโภคเครื่องดื่มเหล่านี้ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คิดเป็น 9.4% ในปี 2004 และการศึกษาโดยนักวิจัยประเทศออสเตรเลียที่ทำการเปรียบเทียบการเข้าถึงโฆษณาอาหารทางโทรทัศน์ในเด็กอายุระหว่าง 6-11 ปีกับความชุกของการเกิดโรคอ้วนในประเทศตะวันตก 6 ประเทศ

พบว่าเด็กได้รับโฆษณาอาหารทางโทรทัศน์ตั้งแต่น้อยที่สุดคือ 1.8 นาทีต่อวันในประเทศเนเธอร์แลนด์จนถึงสูงสุดที่ 11.5 นาทีต่อวันในสหรัฐอเมริกา และนักวิจัยได้สรุปว่าการรับโฆษณาทางโทรทัศน์ส่งผลต่อความชุดของการเกิดโรคอ้วนในเด็กตั้งแต่ 18% ในประเทศเนเธอร์แลนด์ (และสหราชอาณาจักร และสวีเดน) จนถึง 40% ในสหรัฐอเมริกา

การกำจัดผลกระทบที่ไม่ดีต่อสุขภาพทิ้งไป

วิธีการที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรื่องนี้คือการจำกัดการโฆษณาอาหารในเด็ก และในตอนนี้ก็มีการเริ่มเคลื่อนไหวในเรื่องนี้อย่างเงียบ และมีความหวังว่าหากสามารถทำได้สำเร็จ จะช่วยให้พ่อมีมีโอกาสในการส่งเสริมนิสัยการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้กับเด็ก และช่วยให้พวกเขามีน้ำหนักอยู่เกณฑ์ปกติโดยไม่ถูกชักจูงการผู้ประกอบการ
นักวิจัยจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้สร้างสูตรคณิตศาสตร์ตัวอย่างเพื่อประเมินว่าการกำจัดการเข้าถึงของโฆษณาทางโทรทัศน์ของเด็กในสหรัฐอเมริกาจะมีผลต่ออัตราการเกิดโรคอ้วนของเด็กหรือไม่ พวกเขาพบว่าใช่! พวกเขาพบว่าเพียงแค่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้เรื่องเดียวก็สามารถลดอัตราการเกิดโรคอ้วนได้ถึง 17% ในเด็กชายและ 15% ในเด็กหญิง นี่จึงแสดงว่าเรากำลังเริ่มเดินมาในทางที่ถูกต้องของการจัดการเรื่องนี้


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป