สูตรไม่ใส่นม อร่อย แถมยังได้สาอาหารเยอะ ให้พลังงานพร้อมเริ่มต้นวันใหม่

เผยแพร่ครั้งแรก 7 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สูตรไม่ใส่นม อร่อย แถมยังได้สาอาหารเยอะ ให้พลังงานพร้อมเริ่มต้นวันใหม่

ระยะเวลาทั้งหมดในการทำ: 5 นาที
เวลาในการเตรียม: 5นาที, เวลาในการปรุง: 0 นาที
ปริมาณที่ได้: 2 แก้ว

หากคุณและครอบครัวกำลังมองหาอาหารเช้าที่รวดเร็ว รสชาติอร่อย และมีประโยชน์ต่อร่างกายนั้น  การค้นหาของคุณสิ้นสุดลงแล้ว เพราะนี่คือน้ำผลไม้ปั่น สุดยอดเครื่องดื่มที่เต็มไปด้วยสารอาหาร ซึ่งคนที่แพ้อาหารนั้นก็ยังสามารถดื่มได้

เริ่มต้นโดยการใช้น้ำผลไม้ หรือนมสดเป็นส่วนประกอบพื้นฐาน และต่อมาคุณอาจใส่ผลไม้ ผัก เมล็ดพืช หรือธัญพืชลงไปด้วย ซึ่งจะทำให้อาหารเช้าของคุณกลายเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย อยากให้คุณลืมอาหารเช้าที่คุณเคยทำเป็นประจำแล้วหันมาสนใจเครื่องดื่มที่อร่อยและเต็มไปด้วยสารอาหารกัน  น้ำผลไม้ปั่นไม่เพียงแต่รสชาติอร่อย แต่ยังเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ครอบครัวของคุณเริ่มมีสุขภาพดีร่วมกัน

จากการศึกษาพบว่าอาหารเช้าเป็นมื้ออาหารที่สำคัญที่สุด แล้วทำไมคุณถึงจะไม่ลองทำเครื่องดื่มที่เต็มไปด้วยวิตามินและเกลือแร่หลากหลายชนิดล่ะมันยังเป็นวิธีที่ดีในการแนะนำให้ลูกของคุณรู้จักและสนใจกับผลไม้และผักต่าง ๆ มากขึ้น อีกทั้งน้ำผลไม้ปั่นยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับอาหารเช้าที่สามารถนำไปดื่มนอกบ้านได้ เนื่องจากครอบครัวส่วนใหญ่มักจะรีบร้อนกันในตอนเช้า ฉะนั้นน้ำผลไม้ปั่นจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่สุด

วิธีการทำน้ำผลไม้ปั่นนั้นมีหลายสูตรด้วยกัน แต่สำหรับคนที่มีปัญหาแพ้อาหารอาจมีความกังวล อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่แพ้นม คุณสามารถทำน้ำผลไม้ปั่นโดยไม่ใช้นมได้ แต่ใช้น้ำผลไม้เป็นส่วนประกอบหลัก 100% หรือการใช้นมชนิดอื่นทดแทน เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ นมถั่วเหลืองนั้นให้ปริมาณแคลอรี่ที่สูงกว่าเล็กน้อย แต่ก็มีปริมาณโปรตีนและวิตามินบีมากกว่า สำหรับนมอัลมอนด์นั้นมีปริมาณวิตามินดีและแคลเซียมสูง

เคล็ดลับในการทำน้ำผลไม้ปั่นปราศจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมให้ดูดีมากขึ้น คือการบดน้ำแข็งให้เป็นชิ้นเล็ก หรือการใช้ผลไม้แช่แข็งแทนน้ำแข็ง เพราะจะช่วยให้ได้รสชาติที่เข้มข้นขึ้นและช่วยให้น้ำผลไม้ปั่นไม่เหลวจนเกินไป นอกจากนี้รสชาติของน้ำผลไม้ปั่นขึ้นอยู่กับการผสมผสานของผลไม้สดและผลไม้แช่แข็งที่คุณมี แต่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดนั้นคุณควรจะใส่ผลไม้แช่แข็งอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของผลไม้ทั้งหมด

เคล็ดลับ:

  • กล้วย: หากคุณมีกล้วยที่กำลังจะสุก ให้คุณปอกเปลือกกล้วยออกและใส่ในถุงพลาสติกที่มีซิป แล้วใส่ในตู้แช่แข็ง ซึ่งในบางครั้งกล้วยอาจเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แต่คุณไม่ต้องกังวลเพราะรสชาตินั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลง การใส่กล้วยแช่แข็งลงไปจะช่วยให้น้ำผลไม้ปั่นมีรสชาติที่เข้มข้นมากขึ้น
  • ​​​​​​​ส่วนผสมเพิ่มเติม: เมล็ดแฟลกซ์อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือก เนื่องจากเมล็ดแฟลกซ์อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดีและมีปริมาณกากใยสูงอีกด้วย

นอกจากนี้อาจใส่เมล็ดเชียเข้าไปด้วย ซึ่งเมล็ดเชียช่วยในการเพิ่มปริมาณกากใยในน้ำผลไม้ปั่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าเมล็ดเชียนั้นดูดซึมน้ำมาก ฉะนั้นไม่ควรใส่ในปริมาณมากเกินไป เพราะจะทำให้น้ำผลไม้ปั่นของคุณนั้นข้นจนเกินไป

  • น้ำเชื่อม: หากคุณต้องการให้น้ำผลไม้ปั่นของคุณมีรสหวานมากขึ้น คุณอาจใส่น้ำเชื่อมเมเปิล อะกาเว น้ำผึ้ง หรือสารให้ความหวานที่ไม่มีแคลอรี่ หากคุณต้องการควบคุมแคลอรี่
  • ส่วนผสมที่เป็นชั้น: ผสมของเหลวให้เข้ากันก่อนแล้วจึงใส่ของแข็ง ซึ่งจะช่วยให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดีมากขึ้น
  • หากกินแล้วเหลือ: อาจใส่น้ำผลไม้ปั่นลงไปในแม่พิมพ์สำหรับทำไอศกรีม และแช่แข็งเอาไว้กินเป็นอาหารว่างแสนอร่อย

ส่วนผสม

  • กล้วย 2 ลูก (กล้วยสดหรือกล้วยแช่แข็ง)
  • สตรอว์เบอร์รี่ 2 ถ้วย (สดหรือแช่แข็ง)
  • น้ำส้ม 1-2 ถ้วยหรือนมสด 1-2 ถ้วย
  • น้ำมะนาว
  • น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
  • เมล็ดแฟลกซ์ 1ช้อนโต๊ะ (ใส่หรือไม่ก็ได้)

ขั้นตอนการทำ

ผสมน้ำผลไม้หรือนม, น้ำมะนาว , กล้วย, สตรอว์เบอร์รี่, น้ำผึ้ง และเมล็ดแฟลกซ์เข้าด้วยกันในเครื่องปั่น จากนั้นปั่นให้เข้ากัน และสามารถใส่น้ำส้มหรือนมเพิ่มเติมได้เล็กน้อยหากจำเป็น ปั่นจนกว่าจะเข้ากันดี เสิร์ฟได้ทันทีในปริมาณ 2 แก้วใหญ่


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dairy-Free Strawberry-Banana Smoothie Recipe. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/milk-free-strawberry-banana-smoothie-1324403)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป