กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ประโยชน์ของตะไคร้ ไอเดียการกินการใช้ตะไคร้เพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

ตะไคร้ พืชสมุนไพรไทย ราคาถูก อุดมด้วยประโยชน์มากมาย สามารถใช้ได้ทั้งบำรุงความงาม และรักษาโรค
เผยแพร่ครั้งแรก 15 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ประโยชน์ของตะไคร้ ไอเดียการกินการใช้ตะไคร้เพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ตะไคร้เป็นพืชล้มลุกที่มีความโดดเด่นเรื่องกลิ่นหอม ทั้งยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้
  • ตะไคร้มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงร่างกายให้แข็งแรง บำรุงระบบประสาท ลดอาการอักเสบตามข้อต่างๆ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า
  • หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า “น้ำมันตะไคร้หอม” สามารถรับประทานเป็นยาได้ แต่ความจริงแล้วไม่สามารถรับประทานได้ แต่เหมาะสำหรับนำมาทำเป็นยาทาเท่านั้น
  • ตะไคร้มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถนำมาตำแล้วพอกผิว จะช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมากขึ้น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

พืชสมุนไพร คือ พืชที่มีประโยชน์ และสรรพคุณในการบำรุงรักษาร่างกาย ถูกนำมาใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประเทศไทยมีพืชสมุนไพรหลากหลายชนิด หาได้ง่าย ราคาไม่แพง สามารถนำมารับประทาน หรือใช้ประโยชนอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง 

ในวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับประโยชน์ของ "ตะไคร้" หนึ่งในพืชสมุนไพรติดครัวของทุกบ้าน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความหมายของตะไคร้

ตะไคร้ (lemon grass) คือ พืชตะกูลล้มลุกที่พบได้เป็นจำนวนมากในประเทศไทย สามารถปลูก ดูแล และขยายพันธุ์ได้ง่าย มีความสูงประมาณ 4–6 ฟุต ลักษณะลำต้นยาวเรียว มีใบสีเขียว ขึ้นหลายต้นจนรวมเป็นกอ 

ตะไคร้ถือเป็นสมุนไพรที่มีความโดดเด่นในเรื่องของกลิ่นหอม ทำให้รู้สึกดีเมื่อได้กลิ่น ปัจจุบันมีหลายสายพันธุ์ซึ่งสามารถนำมาประกอบอาหาร หรือใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ทั้งต้น ได้แก่ 

  • ตะไคร้กอ 
  • ตะไคร้ต้น 
  • ตะไคร้หางนาค 
  • ตะไคร้น้ำ 
  • ตะไคร้หางสิงห์ 
  • ตะไคร้หอม 

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้

  • ตะไคร้สดประกอบด้วยน้ำประมาณ 80% สารน้ำมันระเหยประมาณ 0.2-0.4% ขึ้นอยู่กับวิธีการสกัด และแหล่งที่ปลูก
  • ตะไคร้ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 126 กิโลแคลอรี ประกอบไปด้วยสารอาหารหลายอย่าง เช่น โปรตีน 1.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 25.5 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม วิตามินเอ 427 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม 

ประโยชน์ของตะไคร้

1. ช่วยขับปัสสาวะ และล้างสารพิษในร่างกาย

ตะไคร้เป็นสมุนไพรที่มีรสยาจืด มีสรรพคุณช่วยในการขับปัสสาวะ สำหรับผู้ที่เกิดปัญหาปัสสาวะขัด หรือปัสสาวะไม่ออก สามารถรับประทานเพื่อช่วยรักษาอาการดังกล่าวได้ นอกจากนี้ ยังช่วยลดความดันโลหิต ขับสารพิษ และกรดยูริค (Uric acid) ออกจากร่างกาย 

2. ทำให้ร่างกายแข็งแรง และสดชื่น

ตะไคร้เป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามินอี วิตามินบี วิตามินซี และพวกแร่ธาตุ ได้แก่ ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม เป็นสารสำคัญที่ช่วยทำให้กระบวนการทำงานต่างๆ ของร่างกายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่งผลให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า

3. บำรุงระบบประสาท

ตะไคร้มีสรรพคุณบำรุงระบบประสาท เสริมสร้างความจำ ซ่อมแซมการทำงานของสมอง ช่วยทำให้สมองไหลลื่น ลดความเครียด ลดความกังวล ทำให้อารมณ์ดียิ่งขึ้น 

4. ทำความสะอาดระบบย่อยอาหาร และภายใน

ตะไคร้มีสรรพคุณทำให้ระบบการทำงานภายในเป็นไปได้อย่างปกติ โดยจะช่วยทำความสะอาดลำไส้ ลดแก๊สในลำไส้ ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยชำระล้างพิษระบบต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ตับ ตับอ่อน และไต ทำให้อวัยวะส่วนดังกล่าวมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

5. ช่วยให้เจริญอาหาร

สำหรับใครที่เบื่ออาหารหรือรับประทานอาหารได้น้อย ควรเลือกรับประทานลำต้นแก่ของตะไคร้ เพราะมีกลิ่นหอม และสรรพคุณในการบำรุงธาตุ ทำให้ผู้ที่เบื่ออาหารกลับมารับประทานอาหารได้มากยิ่งขึ้น

6. ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง

น้ำมันหอมระเหยในตะไคร้ มีฤทธิ์ลดแก๊ส กระจายลมในช่องท้อง กระเพาะ ลำไส้ ส่งผลให้ลดอาการจุกเสียดแน่นท้องได้

7. ช่วยบำรุงผิว

ตะไคร้อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ทำให้ผิวพรรณดูสุขภาพดี อ่อนเยาว์ ลดการเกิดสิว และริ้วรอย 

8. ลดปวดตามข้อ

นำตะไคร้มาต้มน้ำ ผสมกับเตยหอม ดื่มวันละ 2 แก้ว เช้า เย็น ช่วยลดการอักเสบตามข้อต่างๆ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ และเพิ่มการไหลเวียนเลือด

ตะไคร้รักษาโรคเบาหวานได้หรือไม่?

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่า ตะไคร้สามารถใช้รักษาโรคเบาหวานได้ แต่มีงานวิจัยทดสอบเกี่ยวกับฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่ผลต่อโรคเบาหวาน พบว่าสารสกัดจากใบตะไคร้มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส (Alpha-amylase) และเอนไซม์ไลเปส (Lipase) 

นอกจากนี้ตะไคร้ยังมีฤทธิ์ในการต้านอนมุลูอิสระอีกด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ไอเดียการใช้ตะไคร้เพื่อสุขภาพ

1. สร้างความผ่อนคลาย

คุณสามารถนำต้นตะไคร้มาเป็นส่วนประกอบของยานวดต่างๆ ได้ โดยเฉพาะการนำมาทำเป็นน้ำมันตะไคร้หอม 

เนื่องจากกลิ่นหอมของตะไคร้ จะช่วยสร้างความผ่อนคลาย บรรเทาความตึงเครียด ทำให้รู้สึกสดชื่นยิ่งขึ้น และช่วยคลายกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี โดยนำน้ำมันตะไคร้หอมมาทาผิวแล้วนวดบรรเทาอาการปวดตามกล้ามเนื้อ

2. รักษาโรคผิวหนัง

ตะไคร้สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้สำหรับทาบนผิวหนังได้ โดยมีคุณสมบัติช่วยกำจัดเชื้อรา กลากเกลื้อน หรือโรคผิวหนังต่างๆ

3. ดูแลสุขภาพผิวให้ดีขึ้น

ตะไคร้เป็นพืชสมุนไพรที่เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อนำมาตำให้แหลก และพอกผิว จะช่วยบำรุงให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมากยิ่งขึ้น

4. แก้แผลร้อนใน

สำหรับใครที่มักเป็นร้อนในหรือแผลในปาก สามารถนำตะไคร้มาต้มดื่มได้ตลอดทั้งวัน น้ำตะไคร้มีสรรพคุณในการเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย ลดความกระหายน้ำ และลดอาการอักเสบของแผลร้อนในในปาก

5. ช่วยให้ชุ่มคอ

หากเกิดอาการเจ็บคอ ไอบ่อย และมีเสมหะ สามารถนำน้ำตะไคร้มาดื่มเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ ละลายเสมหะให้หมดไปได้ แนะนำให้ดื่มในอุณหภูมิร้อนดีกว่าดื่มโดยใส่น้ำแข็ง

ไอเดียการกินตะไคร้เพื่อสุขภาพ

1. ตำตะไคร้

เริ่มด้วยการหั่นตะไคร้ 1 กำ พริกแห้ง และกระเทียมให้เรียบร้อย นำมาตำในครก มะขามเปียก ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊ป น้ำปลา น้ำปลาร้า และน้ำมะนาว รับประทานคู่กับข้าวสวยร้อนๆ ผักสด หรืออาหารอื่นๆ เป็นอาหารที่มีทั้งความอร่อย รสจัด และได้รับคุณประโยชน์จากตะไคร้อย่างเต็มที่

2. ยำตะไคร้ทูน่า

นำตะไคร้ พริก มาหั่นซอย ใส่ลงไปในถ้วย ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว จากนั้นนำปลาทูน่าในน้ำแร่คลุกน้ำยำให้เคล้ากัน ตกแต่งด้วยใบสะระแหน่ โดยเมนูนี้จะได้รับโปรตีนจากทูน่า ไขมันต่ำ และยังได้สรรพคุณจากตะไคร้อย่างครบถ้วนอีกด้วย

3. ไอศกรีมตะไคร้

เริ่มจากต้มน้ำให้เดือด ใส่ตะไคร้ลงไป เมื่อน้ำเริ่มเปลี่ยนสีดีแล้วให้ปิดไฟ และพักไว้จนเย็น กรองเอาเฉพาะน้ำ นำมาต้มใส่น้ำตาลทราย และเกลือป่น เตรียมแป้งมันด้วยการนำมาละลายน้ำให้เรียบร้อย 

เมื่อส่วนผสมละลายเข้ากัน ให้เติมแป้งมันลงไป คนให้แป้งเข้ากันดีกับน้ำจึงยกลงพัก เติมสีผสมอาหารสีเขียวเพื่อความสวยงาม ใส่เจลาตินที่ละลายกับน้ำร้อน ตามด้วยน้ำมะนาว พักไว้จนเย็นสนิท 

ขั้นตอนต่อไป นำไปใส่ลงในถังปั่นไอศกรีม เติมวิปปิ้งครีม ปั่น 35 นาที และแช่แข็งให้เช็ตตัวอย่างน้อย 3 ชั่วโมง กลายเป็นไอศกรีมตะไคร้ เมนูของหวานที่ทั้งอร่อย และมีประโยชน์

4. หมูคั่วตะไคร้

นำตะไคร้ซอย กระเทียม หอมแดง ตำในครกให้พอแหลก ใส่กะปิลงไปคลุกเคล้าจนเข้ากัน ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันเล็กน้อย นำหมูชิ้นลงไปคั่วจนสุก แบ่งหมูในกระทะให้มีช่องว่าง ใส่เครื่องตะไคร้ที่ตำไว้ ผัดต่อจนแห้ง เป็นอันเสร็จ

5. น้ำตะไคร้หอม

นำน้ำสะอาดเทใส่ลงหม้อ 1 ลิตร ตามด้วยใบเตยหั่นเป็นชิ้นเล็ก 5 ใบ ตะไคร้ทุบ 3 ต้น เมื่อเดือดดีแล้ว สังเกตว่าน้ำในหม้อมีการเปลี่ยนสี ให้ยกหม้อลงเพื่อกรองเอากากออก 

จากนั้นเทน้ำลงไปต้มอีกครั้งหนึ่ง ใส่น้ำตาลทรายลงไปเล็กน้อย คนให้เข้ากันดี จากนั้นให้ยกเตาขึ้นอีกครั้ง สามารถนำไปแช่เย็น หรือใส่น้ำแข็งเพื่อดื่มในช่วงอากาศร้อน ช่วยแก้กระหาย แก้ร้อนใน ลดน้ำตาลในเลือด และยังบำรุงหัวใจอีกด้วย

ข้อควรระวังการใช้ หรือบริโภคตะไคร้

เนื่องจากตะไคร้เป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ถูกนำไปแปรรูปเป็นยาต่างๆ มากมาย อาจทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่า "น้ำมันตะไคร้หอม" สามารถนำมารับประทานได้ 

ในความเป็นจริง ไม่ควรนำมารับประทานอย่างเด็ดขาด เพราะมีส่วนผสมของสารอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มกลิ่นให้หอม เหมาะสำหรับนำมาทำเป็นยาทา ไล่แมลง หรือยาใช้เฉพาะส่วน 

ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายทางปากโดยการดื่มกิน อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ยกเว้นในกรณีที่นำ "ต้นตะไคร้สด" มาเป็นหนึ่งในวัตถุดิบประกอบเมนูอาหาร นอกจากจะไม่ได้เป็นอันตราย แต่ยังทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากตะไคร้ได้เต็มที่

ตะไคร้ถือเป็นพืชสมุนไพรที่อยู่คู่กับคนไทยมายาวนาน ที่สามารถหารับประทานได้ง่าย คนที่รับประทานเป็นประจำจะรู้สึกได้ว่า สุขภาพร่างกายแข็งแรงมากยิ่งขึ้น 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Department of Pharmacology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, ตะไคร้ (https://www.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/download/32245/27533/), 2555
กมลฉัตร อ่องมะลิ และคณะ, Inhibitory Effects of Crude Leaf Extract of Lemongrass on Digestive Enzyme Activity and Its Antioxidant Property (http://science.buu.ac.th/ojs246/index.php/sci/article/download/1572/1430), 6 กรกฎาคม 2561

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม
ประโยชน์ของหอมแดง ไอเดียการกินการใช้หอมแดงเพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง
ประโยชน์ของหอมแดง ไอเดียการกินการใช้หอมแดงเพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง

ทำความรู้จักวิธีการใช้ประโยชน์จากหอมแดง สมุนไพรติดครัว ราคาถูก หาซื้อง่าย มากสรรพคุณ

อ่านเพิ่ม