กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการของโรคต่อมไทรอยด์

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการของโรคต่อมไทรอยด์

อาการของโรคต่อมไทรอยด์จะแตกต่างกันตามแต่ละโรคที่เป็น ตัวอย่างเช่น ถ้ามีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป จะมีอาการท้องผูก ขี้หนาว เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร น้ำหนักเพิ่ม แต่ถ้าเป็นต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป จะมีอาการนอนไม่หลับ มือสั่น ใจสั่น ขี้ร้อน น้ำหนักลด หิวบ่อย เป็นต้น

อาการของโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (ระดับไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ)

อาการของต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปในเด็กทารก ได้แก่:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ท้องผูก
  • มีปัญหาเรื่องการดูดนม
  • การเจริญเติบโตช้า
  • ตัวเหลืองตาเหลือง (Jaundice)
  • นอนหลับมากผิดปกติ

อาการของต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปในเด็ก ได้แก่:

  • อาการคล้ายอาการในผู้ใหญ่
  • อ่อนเพลียมากกว่าปกติ
  • การเจริญเติบโตช้า
  • การพัฒนาการของฟันช้า
  • การพัฒนาทางด้านเพศช้า
  • การเรียนไม่มีประสิทธิภาพ

อาการของต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปในผู้ใหญ่ ได้แก่:

อาการระยะแรก (Early symptoms):

  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย
  • ขี้หนาว ทนต่ออากาศเย็นไม่ได้
  • ท้องผูก
  • การกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal tunnel syndrome): มีอาการปวดที่ข้อมือและชาบริเวณมือ

อาการระยะหลัง (Later symptoms):

อาการของโรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (ระดับไทรอยด์ฮอร์โมนสูง)

อาการของต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปในเด็ก ได้แก่:

  • อาการคล้ายกับผู้ใหญ่
  • ประสิทธิภาพในการเรียนลดลง
  • ปัญหาด้านพฤติกรรม
  • วิตกกังวล
  • อาการอยู่ไม่นิ่ง (ต้องการเคลื่อนไหวตัวเองตลอดเวลา)

อาการของต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปในผู้ใหญ่ ได้แก่:

  • นอนไม่หลับ
  • มือสั่น
  • วิตกกังวล หงุดหงิด
  • ขี้ร้อน รู้สึกร้อนผิดปกติทั้งที่อากาศปกติหรืออากาศเย็น
  • ลำไส้เคลื่อนไหวมากกว่าปกติ
  • น้ำหนักตัวลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารปกติหรือมากกว่าปกติ
  • เหงื่อออกมากผิดปกติ
  • ประจำเดือนมาน้อย หรือ ขาดประจำเดือน
  • ปวดข้อ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้สมาธิ
  • ดวงตาดูเหมือนใหญ่ขึ้น

อาการของต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปในผู้สูงอายุ ได้แก่:

อาการของก้อนที่ต่อมไทรอยด์และคอพอก

  • อาการที่แสดงให้เห็นของก้อนที่ต่อมไทรอยด์หรือคอพอก มีเพียงการขยายใหญ่ขึ้นของส่วนล่างของลำคอด้านหน้า การขยายใหญ่นี้มักไม่มีอาการปวดหรือสร้างความรำคาญ
  • เมื่อก้อนที่ต่อมไทรอยด์หรือคอพอกมีขนาดใหญ่ขึ้น จะเพิ่มแรงกดที่โครงสร้างปกติที่อยู่รอบๆ ลำคอ ได้แก่ หลอดอาหาร (ท่อสำหรับกลืนอาหาร), หลอดลม (ท่อหายใจ) และเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงศีรษะ อาการที่พบได้บ่อยคือ รู้สึกถึงแรงกดเบียดคงที่ที่ด้านหน้าของลำคอ และจะรู้สึกแย่ลงเมื่อก้มคอลง  แรงดันที่เกิดขึ้นที่หลอดลมอาจทำให้มีอาการไอแห้งเล็กน้อยซึ่งจะมีอาการแย่ลงเมื่อนอนลง แรงดันที่เกิดขึ้นที่หลอดอาหารอาจทำให้กลืนเม็ดยาขนาดใหญ่ได้ลำบาก หรือกลืนอาหารแห้ง เช่น ขนมปังและข้าว ได้ลำบาก ทำให้มีอาการติดคอ ที่ส่วนล่างของลำคอด้านหน้า และยังมีอาการที่พบได้น้อยคือ แรงดันไปทำให้เส้นประสาทที่ควบคุมกล่องเสียงเสียหาย ทำให้เสียงแหบ

11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Overactive thyroid (hyperthyroidism) - Symptoms. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/overactive-thyroid-hyperthyroidism/symptoms/)
30 Thyroid Disease Symptoms, Signs, Checklist, and Treatments. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/thyroid_disease_symptoms_and_signs/article.htm)
Common thyroid disorders and their symptoms. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323196)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร

รู้หรือไม่ว่า Sofia Vergara นักแสดงสาวที่มีชื่อเสียงจากเรื่อง Modern Family เคยป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มาก่อน

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

ควรรับประทานหรือระวังอะไรหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

อ่านเพิ่ม