อาการก่อนมีประจําเดือน (พีเอ็มเอส)

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ อาการก่อนมีประจําเดือน ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ไปจนถึงอาการปวดรุนแรง หงุดหงิด ก้าวร้าว ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ เราจะทำอย่างไรล่ะเพื่อรับมือกับอาการเหล่านี้
เผยแพร่ครั้งแรก 12 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการก่อนมีประจําเดือน (พีเอ็มเอส)

 ช่วง 2 - 10 วันก่อนมีประจําเดือน ผู้หญิงหลายล้านคนจะมีอาการที่ก่อให้เกิดความไม่สบายกายและไม่สบายอารมณ์ อาการดังกล่าวมีตั้งแต่ท้องอืดบวม ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ไปจนถึงอาการปวดรุนแรง หงุดหงิด ก้าวร้าว ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ หรือแม้กระทั้งอยากฆ่าตัวตาย อาการเหล่านี้รวมเรียกว่าอาการ ก่อนมีประจําเดือนหรือพีเอ็มเอส (PMS: Premenstrual syndrome)

 อาหารและเครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยง

  • เกลือและอาหารที่มีรสเค็ม (ดูเพิ่มเติมในตอนที่ 351)
  • ชะเอมเทศ (กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนอัลโดสเทอโรน ซึ่งทําให้เกิดการ สะสมของเกลือโซเดียมและอาการบวมน้ำ)
  • อาหารและเครื่องดื่มเย็น (ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดในท้อง และทําให้ปวดท้องมากขึ้น)
  • กาเฟอีนในเครื่องดื่มและอาหารทุกชนิด (ดูเพิ่มเติมในตอนที่ 322) (กาเฟอีนเพิ่มความอยากน้ำตาล ทําให้ร่างกายสูญเสียวิตามินบี โพแทสเซียม สังกะสี และเพิ่มการหลั่งของกรดเกลือในกระเพาะ ทําให้ปวดแสบท้องได้)
  • ชาดํา (แทนนินจับกับแร่ธาตุที่สําคัญ ทําให้แร่ธาตุไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย)
  • แอลกอฮอล์ (ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับแมกนีเซียม ส่งผลต่อการทํางานของตับ และทําให้อาการ PMS แย่ลงได้)
  • ผักโขม ผักบีต และผักที่มีออกซาเลตอื่นๆ (ออกซาเลตทําให้แร่ธาตุ ไม่ถูกดูดซึม หรือดูดซึมได้ยากขึ้น)

 อาหารและเครื่องดื่มที่ควรรับประทานมากขึ้น

  • สตรอว์เบอร์รี แตงโม (รับประทานเมล็ดด้วย) อาร์ติโช้ก หน่อไม้ฝรั่ง
  • ผักชีฝรั่ง และวอเตอร์เครส (มีคุณสมบัติช่วยขับปัสสาวะ)
  • เมล็ดทานตะวันดิบ อินทผลัม มะเดื่อฝรั่ง ลูกพีช กล้วย มันละ ถั่วลิสง และมะเขือเทศ (มีโพแทสเซียมสูง)
  • ตังกุยและแบล็กโคฮอช (เป็นสมุนไพรที่ช่วยการไหลเวียนของเลือด ควบคุมการทํางานของตับ และช่วยกําจัดของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกาย)

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่แนะนํา

  • วิตามินบี 6 50-300 มก.ต่อวัน (ค่อยๆ เพิ่มจาก 50 มก.ขึ้นทีละน้อย)
  • *เอ็มวีพี
  • แมกนีเซียม 500 มก. และแคลเซียม 250 มก.ต่อวัน (ใช่ครับ ในกรณีของพีเอ็มเอส ปริมาณแมกนีเซียมจะมากกว่าแคลเซียมเท่าตัว เพราะการขาด แมกนีเซียมส่งผลให้เกิดอาการพีเอ็มเอสหลายอย่างด้วยกัน)
  • วิตามินอี (แบบแห้ง) 100 -400 ไอยูต่อวัน
  • กรดแพนโทเทนิก (วิตามินบี 5) 1,000 มก. (1 กรัม) ต่อวัน
  • น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส 500 มก. วันละ 1-3 เวลา
  • เซนต์จอห์นส์วอร์ตแบบดูอัลแอ๊คชัน วันละ 1-2 เวลา
  • และการออกกําลังกาย! นอกจากข้อเท็จจริงที่ว่า การออกกําลังช่วยให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณท้องดีขึ้นแล้ว เหงื่อที่ออกมายังช่วยขับของเหลว ส่วนเกินอีกด้วย ขอแนะนําเป็นอย่างยิ่ง
  • เดินเร็วๆ ประมาณ 30 นาที วันละ 2 ครั้ง และ/หรือว่ายน้ำ เป็นกิจกรรมที่ขอแนะนำเป็นอย่างยิ่ง

 เอ็มวีพี: โปรแกรมวิตามินของมินเดลล์ (MVP. Mindel Vitamin Program)

  • เป็นวิตามินรวมจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูงและแร่ธาตุรวม (ไม่มีสารกันเสียสังเคราะห์ สี สีย้อม หรือแว็กซ์เคลือบผิว) พร้อมด้วย เอนไซม์ช่วยย่อย เพื่อให้ดูดซึมได้ดีขึ้น และ
  • สารต้านอนุมูลอิสระสูตรรวมที่มีประสิทธิภาพสูง ประกอบด้วย แคโร ทีนอยด์รวมจากธรรมชาติ (แอลฟาและเบต้าแคโรทีน คริปโตแซนทิน ลูทีน และซีแซนทิน) ไลโคปีน กรดแอลฟาไลโปอิก แอล-คาร์โนซีน เมล็ดองุ่น สกัดเข้มข้น (Grapeseed OPCs) สารสกัดจากใบชาเขียว ซิตรัสไบโอฟลาโวนอยด์ เอ็น-อะซิทิลซิสเทอีน สารสกัดจากผิวอน เควอร์ซิทิน จากรูติน ขมิ้นชัน บิลเบอร์รี่ วิตามินซี วิตามินอีรวม (แอลฟา แกมมา และเดลตาโทโคฟีรอล) บวกโทโคไทรอีนอล ซีลีเนียม สารสกัดจากใบแปะก๊วย โคเอนไซม์-คิว 10 แอล-กลูตาไทโอน ไอโซฟลาโวนจาก ถั่วเหลือง (เจนิสทีนและเดดซีน)

รับประทานทั้งเอ็มวีพีและสารต้านอนุมูลอิสระสูตรรวม อย่างละหนึ่ง เม็ด เช้าและเย็นพร้อมอาหาร (ปริมาณนี้ใช้ได้กับทุกคนที่อายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

 หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Walton, L. M., Asumbrado, R., Machamer, L., & Behrens, M. A. (2014, October 10). C-1 Nutrition, exercise type, exercise intensity and stress and predictive relationship with premenstrual symptoms (http://digitalcommons.andrews.edu/cor/2014/oral-breakout-sessions/18/)
Wakeman, M. P. (2013). An open-label pilot study to assess the effectiveness of krill oil with added vitamins and phytonutrients in the relief of symptoms of PMS. Nutrition & Dietary Supplements, 5 (http://www.dietologaettafinocchiaro.it/images/immaginiNews/sindrome_premestruale_e_dieta.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป