คุณสามารถทานแมกนีเซียมได้หรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คุณสามารถทานแมกนีเซียมได้หรือไม่

แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่พบในอาหารและร่างกายตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับทุกอย่างในโลกใบนี้ การที่มีแมกนีเซียมมากเกินไปก็อาจจะเป็นอันตรายได้ ภาวะที่มีแมกนีเซียมในเลือดสูงนั้นมักจะพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังแม้ว่าจะพบได้ค่อนข้างน้อย นอกจากนั้นอาจจะพบในผู้ที่รับประทานอาหารเสริมหรือยาที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียม

บทบาทของแมกนีเซียม

แมกนีเซียมนั้นทำหน้าที่หลายอย่างในร่างกายมนุษย์ โดยจำเป็นต่อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • กระบวนการสร้างโปรตีน
  • การสร้างกระดูกที่แข็งแรง
  • การควบคุมความดันโลหิต
  • การรักษาสุขภาพของหัวใจ
  • การสร้างพลังงาน
  • การทำงานของเส้นประสาท
  • การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ผู้ใหญ่เพศชายที่มีสุขภาพแข็งแรงนั้นควรได้รับแมกนีเซียมวันละ 400-420 มิลลิกรัม ในขณะที่ผู้ใหญ่เพศหญิงที่มีสุขภาพแข็งแรงนั้นควรได้รับวันละ 310-320 มิลลิกรัม หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์

หากคุณรับประทานแมกนีเซียมเสริม ขนาดสูงสุดที่จะสามารถรับประทานได้คือ 350 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตามอาจมีการสั่งจ่ายแมกนีเซียมเพื่อป้องกันการปวดหัวไมเกรนซึ่งต้องใช้ขนาดที่มากกว่าวันละ 350 มิลลิกรัม ดังนั้นการรับประทานแมกนีเซียมในปริมาณดังกล่าวจึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น

แหล่งของแมกนีเซียม

แมกนีเซียมนั้นพบได้ในอาหารหลายชนิดโดยเฉพาะอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง เช่นถั่ว ผักใบเขียวและธัญพืช ตัวอย่างอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงประกอบด้วย

แต่อาหารนั้นก็ไม่ใช่แหล่งเดียวที่คุณจะได้รับแมกนีเซียม คุณสามารถพบแมกนีเซียมได้ในอาหารเสริมและยาบางชนิด

ตัวอย่างเช่น แมกนีเซียมนั้นเป็นส่วนประกอบแรกในยาระบายบางชนิด ถึงแม้ว่ายาเหล่านี้นั้นมีแมกนีเซียมในปริมาณที่สูงแต่ก็มักจะไม่เป็นอันตรายเนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ทำให้ร่างกายไม่ได้ดูดซึมแมกนีเซียมเข้าไปทั้งหมด แต่จะถูกขับออกจากร่างกายก่อนที่จะส่งผลต่อร่างกาย นอกจากนั้นยังพบในยาที่เกี่ยวกับกรด อาหารไม่ย่อยหรืออาการแสบร้อนกลางหน้าอก

ปัจจัยเสี่ยง

ภาวะแมกนีเซียมในเลือดสูงนั้นพบได้น้อยเนื่องจากไตนั้นทำหน้าที่ในการขับแมกนีเซียมส่วนเกินออกจากร่างกาย ส่วนมากการมีแมกนีเซียมสูงนั้นจะพบในผู้ที่มีภาวะไตวายหลังจากที่รับประทานยาที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมเช่นยาระบายหรือยาลดกรด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้นผู้ที่มีโรคไตจึงต้องระมัดระวังในการรับประทานแมกนีเซียมเสริมหรือยาที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียม ผู้ที่มีโรคหัวใจและความผิดปกติในระบบทางอาหารนั้นก็จัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าปกติเช่นกัน

อาการของการมีแมกนีเซียมเกินขนาด

ประกอบด้วย

แพทย์สามารถให้ยา calcium gluconate ทางเส้นเลือดดำเพื่อช่วยรักษาการที่ได้รับแมกนีเซียมเกินขนาดได้ นอกจากนั้นการล้างไตอาจจะสามารถใช้เพื่อช่วยขับแมกนีเซียมส่วนเกินออกจากร่างกายได้เช่นกัน

สรุป

โดยสรุปแล้วความเสี่ยงของการได้รับแมกนีเซียมเกินไปนั้นต่ำมากในผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงเป็นปกติ แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางกลุ่ม ในผู้ที่มีการทำงานของไตที่ลดลง ควรปรึกษาเรื่องความเสี่ยงจากการรับประทานยาที่มีแมกนีเซียมเป็นส่วนผสมและอาหารเสริมกับแพทย์เพื่อให้มั่นใจในเรื่องของความปลอดภัย


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Magnesium — Health Professional Fact Sheet (https://ods.od.nih.gov/factsheets/Magnesium-HealthProfessional/)
Magnesium overdose: Symptoms, likelihood, and risk factors. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323349)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการก่อนมีประจําเดือน (พีเอ็มเอส)
อาการก่อนมีประจําเดือน (พีเอ็มเอส)

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ อาการก่อนมีประจําเดือน ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ไปจนถึงอาการปวดรุนแรง หงุดหงิด ก้าวร้าว ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ เราจะทำอย่างไรล่ะเพื่อรับมือกับอาการเหล่านี้

อ่านเพิ่ม