แมกนีเซียม

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แมกนีเซียม

แมกนีเซียม

อ่านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับแมกนีเซียม รู้หรือไม่ว่าแร่ธาตุนี้ดีต่อร่างกายคุณอย่างไรและโรคที่เกิดขึ้นหากขาดแร่ธาตุนี้ รวมถึงแหล่งจากธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ศัตรูของแมกนีเซียม ข้อมูลเกี่ยวกับอาการเป็นพิษและสัญญาณเตือนว่ารับประทานมากไป ตลอดจนคำแนะนำที่น่าสนใจต่างๆมากมาย

สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อเท็จจริง

  • มีความจำเป็นต่อการเผาผลาญของแคลเซียมและวิตามินซี เช่นเดียวกับฟอสฟอรัส โซเดียมและโพแทสเซียม
  • มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก.)
  • มีความจำเป็นต่อการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ
  • มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน
  • ทราบกันดีว่าเป็นแร่ธาตุที่ช่วยคลายความเครียดได้ด้วย
  • คนที่ดื่มสุราเป็นประจำมักขาดแร่ธาตุชนิดนี้
  • ผู้ใหญ่ต้องการประมาณ 250-500 มก.ทุกวัน สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร สถาบันวิจัยแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา แนะนำให้รับประทาน 300-355 มก.
  • ร่างกายคนเรามีแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 21 กรัม

แร่ธาตุนี้ดีต่อร่างกายคุณอย่างไร

  • ช่วยเผาผลาญไขมันและเปลี่ยนเป็นพลังงาน
  • ช่วยต่อสู้กับอาการซึมเศร้า
  • ช่วยให้หลอดเลือดและหัวใจแข็งแรงและป้องกันหัวใจวายเฉียบพลัน
  • ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล
  • ป้องกันกล้ามเนื้อหดเกร็ง
  • ช่วยลดความรุนแรงของอาการเจ็บจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Angina pain)
  • ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
  • ช่วยให้ฟันแข็งแรง
  • ช่วยป้องกันการสะสมของแคลเซียม นิ่วในไต และนิ่วในถุงน้ำดี
  • บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย
  • เมื่อรวมกับแคลเซียม ทำงานคล้ายเป็นยาสงบประสาทจากธรรมชาติ
  • บรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน (พีเอ็มเอส)

แหล่งจากธรรมชาติที่ดีที่สุด

ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี มะเดื่อฝรั่ง อัลมอนด์ ถั่ว ผักสีเขียวเข้ม กล้วย เมล็ดธัญพืช

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

แมกนีเซียมและแคลเซียมในปริมาณที่สมดุล (อย่างละครึ่งเท่าๆ กัน) เป็นรูปแบบที่ดีที่สุด มีจำหน่ายในรูปวิตามินรวมและแร่ธาตุ อาจหาซื้อในรูปแมกนีเซียมออกไซด์ 250 มก. ซึ่งออกฤทธิ์เท่ากับ 150 มก.ต่อเม็ด โดยทั่วไปมีจำหน่ายในขนาด 133.3 มก.และรับประทานวันละสี่เวลา แมกนีเซียมเสริมไม่ควรรับประทานหลังอาหารทันที เพราะจะลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารได้

อาการเป็นพิษและสัญญาณเตือนว่ารับประทานมากไป

การรับประทานเป็นปริมาณมากในระยะเวลายาวนาน อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ หากคุณรับประทานแคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณสูงด้วย หรือหากไตของคุณทำงานได้ไม่ดี

ศัตรู

ยาขับปัสสาวะ แอลกอฮอล์

คำแนะนำส่วนตัว

  • หากคุณเป็นนักดื่ม ผมแนะนำให้คุณรับประทานแมกนีเซียมให้มากขึ้น
  • หากการออกกำลังในแต่ละวันทำให้คุณอ่อนล้าหมดแรง คุณอาจต้องการแมกนีเซียมมากขึ้น
  • ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือเสริมฮอร์โมนเอสโทรเจนในรูปแบบใดก็ตาม ควรรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงให้มากขึ้น (ระลึกไว้เสมอว่า เนื้อสัตว์ ปลา และผลิตภัณฑ์จากนม เป็นแหล่งอาหารที่มีแมกนีเซียมต่ำ)
  • หากคุณรับประทานถั่ว เมล็ดธัญพืช และผักใบเขียวมากเป็นประจำ คุณอาจจะได้รับแมกนีเซียมมากพอแล้ว เช่นเดียวกันกับผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ใช้น้ำกระด้าง
  • หากคุณเป็นโรคเบาหวานชนิดดื้อต่อินซูลิน การรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงช่วยลดความดันโลหิตได้ (ปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนเริ่มรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)
  • แมกนีเซียมทำงานร่วมกับวิตามินเอ แคลเซียม และฟอสฟอรัสได้ดี
  • โดยตัวของแมกนีเซียมเองอาจทำให้ท้องร่วงได้ ดังนั้น ควรรับประทานร่วมกับแคลเซียม ในรูปของวิตามินรวม หรือในรูปของแมกนีเซียมไกลซิเนต กลูโคเนต หรือซิเทรต
  • อย่าลืมว่าแมกนีเซียมช่วยเสริมการทำงานของเอนไซม์ที่ใช้วิตามินบี 1 บี 2 และบี 6 ดังนั้น หากร่างกายขาดแร่ธาตุชนิดนี้ไป อาจส่งผลให้มีอาการที่เกี่ยวข้องกับการขาดวิตามินบีได้ เช่น อาการชัก

ข้อควรระวัง: หากคุณกำลังรับประทานยากลุ่มดิจิทัลลิส เพื่อรักษาโรคหัวใจ ยานี้จะเป็นอันตรายต่อร่างกายของได้ หากคุณมีภาวะขาดแมกนีเซียมหรือโพแทสเซียม และพึงระลึกไว้ว่ายาหลายตัวทำให้ร่างกายสูญเสียแมกนีเซียมได้ โดยเฉพาะแอมิโนไกลโคไซด์ ซิสพลาทิน คอร์ติโคสเตียรอยด์ ไซโคลสปอริน ยาขับปัสสาวะ ฟอสคาร์เน็ต เจ็นทาไมซิน และเพนทามิดีน

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What you should know about magnesium. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/what-you-should-know-about-magnesium2)
Magnesium Supplements: Benefits, Deficiency, Dosage, Effects, and More. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/supplement-guide-magnesium#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
แมกนีเซียม แร่ธาตุชนิดสำคัญที่ร่างกายขาดไม่ได้
แมกนีเซียม แร่ธาตุชนิดสำคัญที่ร่างกายขาดไม่ได้

หนึ่งในแร่ธาตุสำคัญที่เกี่ยวพันกับการทำงานหลายระบบในร่างกาย แต่ต้องระมัดระวังในการรับประทานเพื่อให้ได้ประโยชน์สุงสุด

อ่านเพิ่ม