กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

รักษาอาการเท้าบวมด้วยวิธีธรรมชาติ

เท้าบวมรักษาอย่างไรดี รวมวิธีรักษาอยู่ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 8 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รักษาอาการเท้าบวมด้วยวิธีธรรมชาติ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการเท้า หรือข้อเท้าบวม สามารถรักษาได้หลายวิธี เช่น การแช่เท้าในน้ำอุ่น เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณเท้าได้ดี และหลอดเลือดมีการขยายตัว ทำให้บรรเทาอาการปวดได้
  • การใช้อุปกรณ์เสริมอย่างผ้ายืดรัดเท้า หรือข้อเท้า จะช่วยป้องกันไม่ให้ของเหลวในร่างกายไหลไปเลี้ยงที่เท้ามากเกินไปจนเท้าบวม
  • การรับประทานแร่ธาตุแมกนีเซียมเสริม มีส่วนช่วยบรรเทาอาการเท้า หรือข้อเท้าบวมได้
  • คุณอาจลองไปนวดผ่อนคลาย หรือยืดกล้ามเนื้อ บางทีอาการเท้า หรือข้อเท้าบวมอาจหายไปก็ได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจนวด สปา

หากอาการเท้า หรือข้อเท้าบวมทำให้คุณเกิดความเมื่อยล้าในแต่ละวัน ลองดูวิธีการธรรมชาติที่จะแนะนำต่อไปนี้ที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดบวมดังกล่าว

1. แช่เท้าในน้ำอุ่น

การบำบัดรักษาด้วยน้ำ หรือ "Hydrotherapy" เป็นวิธีการรักษาอาการต่างๆ ด้วยการใช้น้ำบำบัดภายนอกร่างกาย โดยเน้นการใช้น้ำร้อน และน้ำเย็นสลับกัน เนื่องจากน้ำอุ่นจะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ในขณะที่น้ำเย็นจะทำให้เลือดหดตัว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีแก้เท้าบวมผ่านการแก้เท้าในน้ำอุ่นจะช่วยเรื่องการไหลเวียนโลหิต ซึ่งจะช่วยลด และป้องกันการสะสมของของเหลวบริเวณเท้า และข้อเท้า วิธีการคือ แช่เท้าในน้ำร้อนประมาณ 3-5 นาที 

จากนั้นแช่น้ำเย็นประมาณ 30-60 วินาที สลับกันไปมาเป็นเวลา 15-20 นาที ทำเช่นนี้ 2 ครั้งต่อวัน จะทำให้อาการเท้าบวมดีขึ้น

2. ดีเกลือ หรือแมกนีเซียมซัลเฟต

เพิ่มความกระปรี้กระเปร่าจากการอาบน้ำด้วยการเติมดีเกลือ หรือแมกนีเซียมซัลเฟตลงไปในน้ำ เนื่องจากแมกนีเซียมซัลเฟตมีคุณสมบัติช่วยลดอาการบวมและปรับระบบการไหลเวียนโลหิตได้ 

นอกจากนี้มันยังสามารถซึมซาบเข้าสู่ผิวได้ง่าย ทำให้เท้าของคุณผ่อนคลาย และหายจากอาการปวดบวม วิธีการคือ ผสมดีเกลือครึ่งถ้วยตวงลงในกะละมังหรืออ่างน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น แล้วแช่เท้าไว้ประมาณ 10-20 นาที ทำซ้ำเช่นนี้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะทำให้อาการดีขึ้น

3. ออกกำลังกาย

เป็นสัญชาตญาณของร่างกายอย่างหนึ่งที่เมื่อเท้า หรือข้อเท้าของเรามีอาการบวม เราจะรู้สึกอยากจะขยับร่างกายโดยอัตโนมัติ เนื่องจากการขยับเยื้อน และใช้กล้ามเนื้อบริเวณเท้ากับขาจะช่วยเคลื่อนย้ายของเหลวส่วนเกินไปยังบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย 

ดังนั้นการออกกำลังกายเป็นประจำจึงช่วยป้องกันอาการเท้าบวมได้ แต่ถ้าการออกกำลังกายนั้นทำให้คุณรู้สึกปวดบริเวณที่บวม ลองออกกำลังแบบที่ไม่ต้องใช้เท้าพยุงน้ำหนักตัวมากเกินไป เช่น การว่ายน้ำ ซึ่งจะทำให้ร่างกายของคุณรู้สึกผ่อนคลายได้ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

4. ผ้ายืดรัดเท้า หรือข้อเท้า

ผ้ายืดรัดเท้าหรือข้อเท้า มีลักษณะการทำงาน คือ ช่วยกด และกระตุ้นเท้า เพื่อป้องกันไม่ให้ของเหลวมารวมอยู่ในบริเวณนั้นมากเกินไป และยังช่วยลดการรั่วไหลของของเหลวจากเส้นเลือดฝอย 

คุณสามารถหาซื้อผ้ายืดรัดเท้า หรือข้อเท้าได้จากร้านขายยาทั่วไป อย่างไรก็ตาม หากมีอาการบวมน้ำในระดับกลางถึงระดับรุนแรงร่วมด้วย คุณควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการใช้และลักษณะของผ้ายืดรัดเท้าหรือข้อเท้าที่เหมาะสม

5. ยกเท้าสูง

การยกขาขึ้นให้อยู่เหนือระดับหัวใจในขณะที่คุณนั่งหรือนอนสามารถลดอาการบวมของเท้าได้ หรือลองนอนหงายแล้วยกขาของคุณพิงผนังไว้สัก 2-3 นาที สามารถทำได้หลายครั้งต่อวันตามที่ต้องการ  นอกจากนี้ การใช้หมอนรองใต้ขาเวลานอนหลับก็ช่วยได้เช่นกัน

6. แมกนีเซียม

การขาดธาตุแมกนีเซียมอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเท้าบวม ลองปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวัดระดับแมกนีเซียมในร่างกาย ถ้าคุณมีภาวะขาดแมกนีเซียม ลองทานอาหารเสริมที่มีแมกนีเซียมปริมาณ 200-400 มิลลิกรัมต่อวัน 

แต่หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับภาวะไตหรือโรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงการใช้แมกนีเซียม อย่างไรก็ตาม แมกนีเซียมมีอยู่ในอาหารตามธรรมชาติทั่วไป เช่น ผักใบเขียว ถั่วต่างๆ เมล็ดธัญพืช ปลา ถั่วเหลือง กล้วย และช็อคโกแลต

7. ลดการรับประทานอาหารรสเค็ม

การลดปริมาณการบริโภคเกลือจะช่วยลดการกักเก็บน้ำภายในร่างกาย อาการเท้าบวมอาจเป็นสัญญาณหนึ่งที่บอกว่าคุณอาจทานเค็มมากเกินไป  อาหารที่มีส่วนผสมของเกลือจำนวนมาก ได้แก่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ขนมอบเพรสเซล 
  • มันฝรั่งกรอบ 
  • ขนมแพนเค้กที่ขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ต 
  • อาหารจานด่วน หรือฟาสฟู๊ด 
  • อาหาร ผัก หรือผลไม้กระป๋องต่างๆ 

อย่างไรก็ตาม แพทย์สามารถให้คำแนะนำได้ว่าปริมาณเกลือเท่าไหร่ที่เหมาะสมกับร่างกายของคุณ

8. การนวดผ่อนคลาย

การนวดเท้าจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และเพิ่มการไหลเวียนโลหิต เป็นการกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำเหลืองในร่างกายซึ่งสามารถช่วยเคลื่อนย้ายของเหลวส่วนเกินไปยังบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย และช่วยลดอาการบวมลงได้ 

คุณสามารถนวดเท้าตัวเองได้โดยการบีดนวด หรือลูบด้วยน้ำมัน โดยนวดเข้าหาลำตัว ทำได้หลายครั้งต่อวันเท่าที่ต้องการ ระวังอย่านวดหนักจนคุณรู้สึกเจ็บ แต่ให้ใช้วิธีการกดจุด หรือลูบให้ผ่อนคลาย 

การนวดจะมีประสิทธิภาพมากหากทำระหว่างที่แช่ตัวในอ่างน้ำ ระหว่างอาบน้ำ หรือหลังอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ

9. น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์

น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากมีส่วนประกอบของโพแทสเซียมสูงซึ่งจะช่วยลดการกักเก็บของเหลวที่เป็นสาเหตุของอาการเท้าบวมได้ 

วิธีการ คือ ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นที่ผสมน้ำส้มสายชูในปริมาณเท่ากัน แล้วพันเท้าไว้ อีกวิธีหนึ่งคือ หากคุณสามารถทนกลิ่นของน้ำส้มสายชูได้ ลองผสมน้ำส้มสายชู 2 ช็อนโต๊ะ กับน้ำดื่ม 1 แก้ว และน้ำผึ้งเล็กน้อย แล้วดื่ม 2 ครั้งต่อวัน จะช่วยให้อาการเท้าบวมดีขึ้นได้

10. ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน

คุณคงแปลกใจว่าทำไมถึงยังต้องดื่มน้ำเยอะๆ ในเมื่ออาการเท้าบวมเกิดจากการสะสมของน้ำ แต่การดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน หรือการดื่มชาสมุนไพร สามารถช่วยล้างสารพิษ ล้างโซเดียม และของเหลวส่วนเกินออกไปได้ หรืออาจลองดื่มชาขิง หรือชาดอกแดนดิไลออนก็ช่วยได้ 

เนื่องจากขิงและดอกแดนดิไลออนเป็นพืชธรรมชาติที่มีคุณสมบัติช่วยขับของเสียและขับปัสสาวะได้ จึงเป็นการชะล้างปริมาณโซเดียมในร่างกายด้วย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจนวด สปา จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
6 Best Fixes for Pain and Swelling in Your Feet and Ankles. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/6-best-ways-relieve-swollen-feet-ankles-home/)
Home Remedies for Swollen Feet: 10 Treatments That Work. Healthline. (https://www.healthline.com/health/home-remedies-for-swollen-feet)
Swollen feet: 15 causes, treatments, and home remedies. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323265)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการก่อนมีประจําเดือน (พีเอ็มเอส)
อาการก่อนมีประจําเดือน (พีเอ็มเอส)

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ อาการก่อนมีประจําเดือน ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ไปจนถึงอาการปวดรุนแรง หงุดหงิด ก้าวร้าว ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ เราจะทำอย่างไรล่ะเพื่อรับมือกับอาการเหล่านี้

อ่านเพิ่ม
แมกนีเซียม แร่ธาตุชนิดสำคัญที่ร่างกายขาดไม่ได้
แมกนีเซียม แร่ธาตุชนิดสำคัญที่ร่างกายขาดไม่ได้

หนึ่งในแร่ธาตุสำคัญที่เกี่ยวพันกับการทำงานหลายระบบในร่างกาย แต่ต้องระมัดระวังในการรับประทานเพื่อให้ได้ประโยชน์สุงสุด

อ่านเพิ่ม