บอกลาโรคนอนไม่หลับด้วยน้ำผลไม้สไตล์โฮมเมด

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
บอกลาโรคนอนไม่หลับด้วยน้ำผลไม้สไตล์โฮมเมด

โรคนอนไม่หลับถือเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต หากคุณนอนไม่เพียงพอในตอนกลางคืน ร่างกายก็จะไม่สามารถเรียกพลังงานกลับมาได้ และนั่นก็จะทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้าย ยิ่งไปกว่านั้น คนที่เป็นโรคนอนไม่หลับจะมีอาการวิตกกังวลในระหว่างชั่วโมงการนอนและไม่สามารถนอนหลับได้ ทำให้ต้องพึ่งยาในท้ายที่สุด ซึ่งในบางครั้งมันกลับทำให้เกิดผลข้างเคียง อย่างไรก็ดี มีเครื่องดื่มสูตรโฮมเมดที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติซึ่งไม่เพียงแต่มีรสชาติที่อร่อยเท่านั้น แต่มันยังช่วยให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้น เราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1.สับปะรดและบีทรูท

เครื่องดื่มสีชมพูที่ช่วยเติมความสดชื่นให้ร่างกายแก้วนี้มีสารอาหารที่ช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • สับปะรด: มีสารทริปโตเฟนสูง ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของเมลาโทนินและเซโรโทนิน ทั้งนี้เมลาโทนินช่วยให้คุณนอนหลับ ในขณะที่เซโรโทนินช่วยให้คุณรู้สึกมีความสุขมากขึ้น
  • บีทรูท: อุดมไปด้วยแมคนีเซียม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับโรคนอนไม่หลับบางประเภท อย่างไรก็ดี คนที่ร่างกายขาดแมคนีเซียมมักนอนไม่ค่อยหลับและตื่นขึ้นมากลางดึกหลายครั้ง

2.กล้วย สตรอว์เบอร์รี และผักโขม

สมูทตี้แก้วนี้เป็นอีกหนึ่งอาหารว่างสุดเพอร์เฟ็กต์สำหรับคืนที่คุณนอนไม่หลับ แม้ว่ามีผักโขมเป็นส่วนผสม แต่กล้วยและสตรอว์เบอร์รีสามารถช่วยกลบกลิ่นและทำให้สมูทตี้แก้วนี้มีรสชาติอร่อยมากขึ้น

  • กล้วย: เป็นผลไม้ที่ช่วยรักษาโรคนอนไม่หลับได้เป็นอย่างดี เพราะมันมีเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้เรานอนหลับ อีกทั้งยังเป็นแหล่งของแมคนีเซียม ซึ่งเป็นธาตุที่ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
  • สตรอว์เบอร์รี: มีเมลาโทนินเช่นกัน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งโดยต่อมไพเนียล
  • ผักโขม: มีวิตามิน บี6 ที่ช่วยสมองผลิตเมลาโทนินและเซโรโทนิน

3.มะเขือเทศและผักกาดหอม

รสชาติของเครื่องดื่มแก้วนี้มีความคล้ายกับกัซปาโซ ซึ่งคุณสามารถปรุงรสเพิ่มเติมโดยใช้เกลือทะเล น้ำมันมะกอก กระเทียม และน้ำส้มสายชู

  • มะเขือเทศ: เพิ่มการผลิตเมลาโทนิน และอุดมไปด้วยแมคนีเซียม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
  • ผักกาดหอมป่า: มีสารที่ช่วยระงับประสาทและสารที่ช่วยให้ผ่อนคลาย รวมถึงมีสารระงับปวดที่สามารถช่วยให้คุณนอนหลับถ้าคุณมีอาการเจ็บเรื้อรัง

4.แครอทและอัลมอนด์

นอกจากสมูทตี้สูตรนี้มีคุณสมบัติช่วยต่อสู้กับโรคนอนไม่หลับแล้ว มันก็ยังดีต่อการมองเห็น ผิว และกระดูก

  • แครอท: มีความเหมือนกับผักโขมตรงที่มันอุดมไปด้วยวิตามิน บี6
  • อัลมอนด์: มีกรดไขมันโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 ซึ่งล้วนแต่เป็นสารอาหารที่ช่วยให้คุณภาพการนอนดีขึ้นและช่วยให้คุณกลับมามีพลังอีกครั้ง

5.เชอร์รีและข้าวโอ๊ต

เครื่องดื่มแก้วนี้อาจมีรสเปรี้ยวเล็กน้อย คุณอาจเพิ่มความหวานโดยใช้สเตเวียหรือน้ำผึ้ง

  • เชอร์รี: มีสารเมลาโทนินและแมคนีเซียม รวมถึงสารอาหารที่มีประโยชน์อื่นๆ นอกจากนี้มันยังมีสารต้านการอักเสบและมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการเจ็บกล้ามเนื้อ
  • ข้าวโอ๊ต: นอกจากเป็นธัญพืชที่ให้พลังงานสูงแล้ว มันก็ยังมีสารที่ช่วยให้ระบบประสาทผ่อนคลาย ดังนั้นมันจึงช่วยรับมือกับโรคนอนไม่หลับ ความเครียด ความวิตกกังวล และความประหม่า

เมื่อไรที่ควรดื่ม?

  • หากคุณต้องการให้ระบบประสาทมีความสมดุล คุณสามารถบริโภคเครื่องดื่มเหล่านี้ตลอดวันในระหว่างมื้ออาหาร ซึ่งมันจะมีประโยชน์สำหรับคนที่วิตกกังวล เครียด หรือหงุดหงิดง่าย
  • ถ้าคุณต้องการรักษาโรคนอนไม่หลับ ให้คุณบริโภคเครื่องดื่มเหล่านี้ในช่วงกลางวัน และหลีกเลี่ยงการดื่มก่อนเข้านอน เพราะเครื่องดื่มบางแก้วมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และอาจทำให้คุณตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อไปเข้าห้องน้ำ
  • คุณจำเป็นต้องอดทนสักเล็กน้อย เพราะคุณอาจไม่ได้เห็นผลลัพธ์ในทันที
  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นในช่วงกลางวันและกลางคืน เช่น กาแฟ  ชา น้ำอัดลม ฯลฯ 

ที่มา: https://steptohealth.com/stop-...


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Better Sleep: 3 Simple Diet Tweaks. Johns Hopkins Medicine. (https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/better-sleep-3-simple-diet-tweaks)
Five Foods and Drinks That May Enhance the Quality of Your Sleep. Sleep.org. (https://www.sleep.org/articles/good-foods-drinks-help-sleep-better/)
How diet may lead to insomnia. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/327302)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีรักษาอาการนอนไม่หลับ ด้วยหลักทางการแพทย์
วิธีรักษาอาการนอนไม่หลับ ด้วยหลักทางการแพทย์

นอนไม่หลับ มีทั้งนอนไม่หลับเฉียบพลันและนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับเรื้อรังอาจใช้ยาช่วยได้ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

อ่านเพิ่ม
โรคร้ายที่มากับการนอน นอนไม่พอ นอนมากเกินไปส่งผลอะไรบ้าง
โรคร้ายที่มากับการนอน นอนไม่พอ นอนมากเกินไปส่งผลอะไรบ้าง

นอนไม่พอ นอนมากเกินไป รู้หรือไม่ว่าเกิดโรคร้ายได้

อ่านเพิ่ม
8 วิธีช่วยรับมือกับโรคนอนไม่หลับ
8 วิธีช่วยรับมือกับโรคนอนไม่หลับ

คุณภาพการนอนหลับสามารถดีขึ้นได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม

อ่านเพิ่ม