กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ดื่มนมตอนเช้ากับตอนกลางคืน ผลที่ได้ต่างกันไหม?

เผยแพร่ครั้งแรก 8 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ดื่มนมตอนเช้ากับตอนกลางคืน ผลที่ได้ต่างกันไหม?

การดื่มนมคือกิจวัตรที่เราคุ้นเคยตั้งแต่เด็กจนโต ซึ่งนมเป็นแหล่งของแคลเซียมที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมายอย่างโปรตีน แคลเซียม แมคนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส วิตามิน บี12 และวิตามินดี ทำให้นมเป็นเครื่องดื่มที่เราไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง แต่เคยสงสัยไหมว่าเราควรดื่มนมเวลาใดถึงจะดีต่อร่างกายมากที่สุด? วันนี้เราจะพาคุณไปค้นหาคำตอบนี้พร้อมกันค่ะ

ดื่มนมตอนเช้าดีหรือไม่?

การเริ่มต้นเช้าวันใหม่โดยทานซีเรียลราดนมถือเป็นอาหารเช้าที่อุดมไปด้วยสารอาหาร ซึ่งเหมาะสำหรับวันที่เร่งด่วน แต่มันอาจไม่ทำให้คุณรู้สึกอิ่มท้องเท่ากับอาหารเช้าที่มีไฟเบอร์มากกว่าเล็กน้อยอย่างโอ๊ตมีล หรืออาหารที่มีโปรตีนสูงอย่างไข่ ซึ่งช่วยให้คุณรู้สึกอิ่มนานขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในความเป็นจริงแล้ว การแพทย์แผนโบราณอย่างอายุรเวท (Ayurveda) แนะนำให้หลีกเลี่ยงการทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักเกินไปในตอนเช้า ซึ่งการทาน Heavy milk สามารถทำให้ปวดท้องหรือทำให้แสบร้อนกลางอก เพราะระบบย่อยอาหารต้องทำงานหนัก

ทั้งนี้อาหารที่เหมาะสำหรับช่วงเช้าคือ ผลไม้ที่นำไปอุ่น ผักที่ผ่านการปรุงอาหาร หรือการใส่นมเพียงเล็กน้อยในโจ๊กข้าวโอ๊ต เพื่อช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลายก่อนเริ่มวัน และเป็นการเติมอาหารที่ปล่อยพลังงานออกมาอย่างช้าๆ ให้ร่างกายสำหรับอาหารในกลุ่มนี้เช่น อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำอย่างธัญพืชเต็มเมล็ด ผลไม้ และผัก

ทำไมการดื่มนมตอนกลางคืนถึงเป็นไอเดียที่ดี?

นมเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับดื่มตอนกลางคืนเมื่อร่างกายจำเป็นต้องทำงานน้อยลงและต้องการผ่อนคลาย

ทริปโตเฟนในนมช่วยจัดการกับวงจรการนอนหลับและตื่นนอน

ทริปโตเฟนเป็นกรดอะมิโนที่พบได้ในนม ซึ่งสามารถช่วยให้คุณภาพการนอน และระยะเวลาที่ใช้นอนดีขึ้น ทั้งนี้ทริปโตเฟนมีส่วนช่วยสร้างเซโรโทนินและเมลาโทนิน ซึ่งล้วนแต่เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยควบคุมวงจรการนอนหลับและตื่นนอน คุณสามารถดื่มนมร้อนๆ 1 แก้ว ประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนเข้านอน

แมคนีเซียมช่วยแก้ปัญหานอนไม่หลับ

แมคนีเซียมในนมถือเป็นอีกหนึ่งเหตุผลว่าทำไมเราควรดื่มนมตอนกลางคืน สารอาหารชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ซึ่งประกอบไปด้วยการช่วยให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อทำงานได้ตามปกติ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่สำคัญต่อการนอนและการพักผ่อนในตอนกลางคืน การทานอาหารที่มีธาตุแมคนีเซียมอาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคขาอยู่ไม่สุข และกล้ามเนื้อเป็นตะคริวที่เกิดจากการขาดธาตุแมคนีเซียม

แคลเซียมช่วยต่อสู้กับโรคนอนไม่หลับ

แคลเซียมในนมมีส่วนช่วยเพิ่มระดับของเซโรโทนินในร่างกายเช่นกัน ในขณะที่เมลาโทนินช่วยต่อสู้กับโรคนอนไม่หลับในคนที่เผชิญกับโรคนอนไม่หลับที่เกิดจากความเครียดหรือเหตุผลอื่นๆ

การดื่มนมผสมขมิ้น

เมื่อร่างกายพักในช่วงกลางคืน มันก็จะฟื้นฟูหรือซ่อมแซมตัวเอง หากคุณใส่ขมิ้นลงไป มันก็จะยิ่งทำให้คุณได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น เพราะขมิ้นมีสารต้านการอักเสบ สารต้านแบคทีเรีย และสารที่ช่วยเยียวยา ทำให้เหมาะสำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบอย่างโรครูมาตอยด์ หรืออาการปวดเรื้อรัง

อย่างไรก็ตาม นมอาจเป็นเครื่องดื่มที่ไม่เหมาะกับบางคนไม่ว่าจะดื่มในช่วงใดของวันก็ตาม โดยเฉพาะคนที่ร่างกายไม่สามารถย่อยแลคโตสในนม (Lactose Intorerance) หรือแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม (Dairy allergy) ในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้ คุณจะสังเกตว่าระบบย่อยอาหารมีปัญหาหลังจากที่คุณดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ตัวอย่างของอาการ เช่น มีก๊าซ ท้องเสีย ท้องอืด ปวดท้อง คลื่นไส้ ฯลฯ คุณสามารถแก้ปัญหาโดยเปลี่ยนไปดื่มนมที่ทำจากถั่วหรือข้าวแทน ในขณะที่คนที่แพ้นมในระดับที่ไม่ได้รุนแรงจะมีอาการของโรคลมพิษ หรือมีผื่นขึ้นตามร่างกาย ท้องไส้ปั่นป่วน ถ่ายเป็นเลือด หรืออาเจียนหลังทาน ในคนที่มีอาการรุนแรง มันก็อาจทำให้การหายใจมีปัญหา และทำให้เกิดภาวะช็อค

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dairy and alternatives in your diet. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/milk-and-dairy-nutrition/)
Milk: Health benefits and nutritional information. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/273451)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป