โรคนอนไม่หลับเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ง่ายเมื่อคุณมีอาการดังต่อไปนี้: รู้สึกนอนหลับยาก หลับ ๆ ตื่น ๆ ตื่นเช้า หรือตื่นนอนอย่างไม่สดชื่น โดยที่ไม่มีความผิดปกติอื่นทางการนอน
อย่างไรก็ตาม นี่อาจเป็นสัญญาณหรืออาการเริ่มต้นของภาวะนอนไม่หลับได้เช่นกัน ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยในบางครั้ง และอาจถูกมองข้ามได้บ่อย มาเรียนรู้สัญญาณบางอย่างที่บ่งบอกอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคนอนไม่หลับ และอาจบอกได้ถึงสาเหตุที่ทำให้นอนหลับอย่างไม่มีประสิทธิภาพและนอนหลับยากได้
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
-
ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า
ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ มักจะพบร่วมกับโรคนอนไม่หลับ โดยที่การหลับอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีปัญหาทางด้านอารมณ์ในช่วงเวลากลางวัน และสามารถส่งผลให้เกิดความหงุดหงิดได้ด้วย ภาวะซึมเศร้าอาจพบเกี่ยวข้องกับการตื่นเช้ามาก ๆ และไม่สามารถนอนต่อได้ ความวิตกกังวลก็สามารถทำให้ความคิดของคุณวิ่งวุ่นได้ในเวลากลางคืน ความกังวลจะเข้าครอบคลุมเมื่อคุณพยายามจะข่มตาหลับ ดังนั้น เมื่อการนอนหลับเริ่มทำได้ยากจนนำไปสู่การเกิดโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีของภาวะวิตกกังวล และทำให้สิ่งต่าง ๆ แย่ลง บางคนอาจฝันร้ายหรือตกใจตื่นขึ้นมากลางดึงจากการมีโรคตื่นตระหนกกำเริบได้ โรคเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์ร้ายแรงก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลต่อการนอนและเกิดโรคนอนไม่หลับต่อมาได้
-
ความคิดอยากฆ่าตัวตาย
เนื่องจากโรคนอนไม่หลับเกี่ยวข้องกับการมีภาวะซึมเศร้า จึงไม่ได้เป็นเรื่องน่าแปลกใจมากนักที่พบว่าอาการเหล่านี้สัมพันธ์กับความเสี่ยงของการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้น เมื่อพวกเขานอนไม่หลับในช่วงกลางคืน เป็นธรรมดาที่ภาวะซึมเศร้าจะกำเริบมากขึ้นในช่วงกลางวัน
การนอนหลับอย่างไม่มีประสิทธิภาพรวมถึงการอดนอนส่งผลต่อระดับและการทำงานของสารสื่อประสาทบางชนิด (serotonin) ในบริเวณสมองส่วนหน้าที่ควบคุมการทำงานระดับสูง การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล และการแสดงออกทางสังคมอย่างมีเหตุผล เมื่อการทำงานส่วนนั้นเสียไปอาจทำให้ความสามารถในการยับยั้งความคิดฆ่าตัวตายหายไป
มีการศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายว่าจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวในผู้ที่มีโรคนอนไม่หลับ โดยจะเพิ่มสูงสุดเป็น 3 เท่าในผู้ที่ตื่นนอนเร็วเกินไป ทุกคนที่มีความคิดดังกล่าวควรเข้ารับการรักษา โดยติดต่อได้ที่องค์กรป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ (National Suicide Prevention Lifeline) โทรศัพท์โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ที่ (800) 273-8255
-
การไม่สามารถงีบหลับได้
ผู้ที่มีโรคนอนไม่หลับมักจะไม่สามารถงีบหลับได้ในช่วงกลางวัน เมื่อถึงเวลา พวกเขาทำได้แค่นอนหลับตา แต่ไม่ได้หลับไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากการควบคุมระบบประสาทในส่วนที่กระตุ้นการตื่นตัว เกิดขึ้นในผู้มีโรคนอนไม่หลับซึ่งทำให้พวกเขาตื่นตัวได้ง่ายในช่วงกลางวัน แต่นอนหลับได้ยากในช่วงกลางคืน โดยมากจะสัมพันธ์กับสารสื่อประสาทหรือสารเคมีในสมองบางชนิดที่ทำให้เกิดการตื่นตัว โดยพวกเขาจะรู้สึกเหมือนมีระฆังดังอยู่ตลอดเวลา กระตุ้นให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนั่นรบกวนความพยายามในการงีบหลับในช่วงกลางวันของพวกเขา
-
การมีความคิดวิ่งวนอยู่ในหัว
หลายคนที่มีโรคนอนไม่หลับอธิบายอาการของพวกเขาได้หลากหลาย บางคนรู้สึกเหมือนกับมีการเปิดภาพยนตร์หรือรูปภาพวิ่งวนอยู่ในหัวเมื่อถึงเวลานอนตอนกลางคืน
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
นี่อาจจะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อก็ได้ แต่หลายครั้งที่พบว่าไม่เกี่ยวข้องกัน ภาวะตื่นตัวในเวลากลางคืนอาจจะแสดงออกมาในรูปแบบที่มีความรู้สึกกังวลเพียงอย่างเดียวก็ได้ ดังเช่นที่ Shakespeare กล่าวไว้ในเรื่อง Romeo and Juliet ว่า ... ความเครียด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิชาชีพ เรื่องส่วนตัว เรื่องเงินทอง หรือเรื่องอื่น ๆ อาจทำให้เกิดความคิดวิ่งวนอยู่ในหัวตลอดคืน และเป็นเรื่องยากที่จะปัดความกังวลเหล่านั้นทิ้งไป ภาวะที่มีความคิดวิ่งวนอยู่ในหัวจึงเป็นอาการที่พบได้บ่อย ๆ ในโรคนอนไม่หลับ
-
การรับรู้การนอนที่ผิดไป
ในภาวะที่เรียกว่า paradoxical insomnia จะทำให้การแยกแยะระหว่างความตื่นตัวและเวลานอนเสียไป หลายคนกล่าวว่าพวกเขาไม่ได้นอนเลยเป็นวัน เป็นสัปดาห์ หรือแม้กระทั่งเป็นเดือน นี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้เอง และจากการสังเกตการณ์พบว่าความจริงแล้วพวกเขามีช่วงเวลาที่หลับไป ซึ่งภาวะนี้เรียกว่าการรับรู้การนอนที่ผิดไป โดยมากภาวะนี้มักจะเกิดเมื่อพวกเขาเพิ่งจะหลับไป โดยที่การนอนในระยะแรกจะมีการรับรู้การนอนที่น้อยที่สุด คล้ายกับการวูบหลับไป ซึ่งพวกเขาอาจจะรู้สึกน้อยมากจนเข้าใจผิดไปว่าไม่ได้นอน โดยที่ในความเป็นจริงจากการศึกษาพบว่าเมื่อพวกเขาอยู่ในขั้นแรกของการนอนหลับนั้น คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ของผู้เข้ารับการศึกษาครึ่งหนึ่งที่ยังตื่นอยู่จะยังคงบอกว่าพวกเขายังไม่หลับ ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งบอกว่าพวกเขาหลับไปแล้ว ช่วงเปลี่ยนผ่านของภาวะการรู้สึกตัวนี้ในบางครั้งทำให้เกิดการรับรู้การนอนที่ผิดไปได้
-
ความเหนื่อยล้า (ที่ไม่ใช่อาการง่วงนอน)
ในท้ายที่สุด ผู้ที่มีโรคนอนไม่หลับมักจะมีปัญหาเหนื่อยล้า ซึ่งต่างจากความง่วง โดยที่ความเหนื่อยล้าจะอธิบายได้จากความรู้สึกเหนื่อยและหมดแรง โดยเป็นความรู้สึกที่ลึกลงไปในชั้นกระดูกและกล้ามเนื้อ ต่างกับความง่วงหรืออาการง่วงซึม ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความง่วงและต้องการนอน โดยที่จะรู้สึกว่าหนังตาหนักขึ้น ต้องอาศัยพลังในการรับรู้ตัวมากขึ้น และหลับไปในเวลาต่อมา ผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับจะรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่ใช่ง่วงนอน ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจเวลากลางคืนจะประสบปัญหาง่วงนอนในเวลากลางวัน งีบหลับได้ง่าย และนอนหลับไปได้อย่างรวดเร็ว ส่วนความเหนื่อยล้านี้จะพบได้บ่อยในโรคนอนไม่หลับ และเป็นอาการที่สำคัญในการช่วยแยกโรคออกจากความผิดปกติทางการนอนชนิดอื่น
หากคุณประสบปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีอาการที่ส่อว่าอาจเป็นโรคนอนไม่หลับ คุณอาจจะต้องไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการนอน คุณอาจพบสาเหตุของการนอนไม่หลับได้ นอกจากนั้น การรักษาอีกอย่างหนึ่งที่มีประสิทธิภาพคือยานอนหลับและการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตของคุณ