กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

5 โรคความผิดปกติด้านการนอน

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
5 โรคความผิดปกติด้านการนอน

สมาคมจิตแพทย์อเมริกันกล่าวถึงความผิดปกติด้านการนอน (Sleep disorder) ว่าเป็นความผิดปกติของแบบแผนการนอนที่ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลและรบกวนการใช้ชีวิตในเวลากลางวัน ไม่เพียงแต่ความผิดปกติด้านการนอนนี้จะพบได้บ่อย ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ครั้งหนึ่งในชีวิต จะสามารถนำไปสู่ความเครียดรุนแรง และส่งผลกระทบอื่นต่อสุขภาพ

ความผิดปกติด้านการนอนนี้พบบ่อยแค่ไหน

จากผลสำรวจโดยมูลนิธิการนอนแห่งชาติ (National sleep foundation) ชาวอเมริกันมากกว่าครึ่งเคยประสบกับอาการนอนไม่หลับ (Insomnia) จำนวนหลายครั้งในช่วงปีที่ผ่านมา การสำรวจนี้ยังบ่งชี้ว่าร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมการสำรวจเคยมีอาการสะลึมลือ ขณะขับรถในช่วงปีที่ผ่านมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประเภทของความผิดปกติด้านการนอนที่พบบ่อย ได้แก่

อาการนอนไม่หลับ (insomnia)

อาการนอนไม่หลับ เป็นอาการแสดงที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งส่งผลต่อประชากรผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ อาการแสดงของผู้ป่วยคืออาจการนอนไม่หลับ หรือจะตื่นเช้ากว่าปกติ ปัจจัยที่ส่งผลต่ออาการนอนไม่หลับนั้นก็อาจเกิดจากความเครียดหรือการมีโรคประจำตัว การรักษาของอาการนอนไม่หลับได้แก่ การใช้ยานอนหลับและบำบัดด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การฝึกมีพฤติกรรมการนอนที่ดีนั้นก็ยังสามารถรักษาอาการนอนไม่หลับเบื้องต้นได้เช่นกัน

ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep apnea)

ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นภาวะที่พบบ่อยรองลงมาของความผิดปกติด้านการนอน ภาวะนี้ส่งผลต่อประชากรอเมริกันกว่า 20 ล้านคน ซึ่งภาวะนี้ทำให้เกิดการหยุดหายใจแบบทันทีในขณะหลับ ในช่วงนี้เอง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นในเลือดจะทำให้ผู้นอนต้องลุกขึ้นมาพักหายใจ ช่วงเวลาที่ผู้บุคคลจะหยุดหายใจขณะหลับนั้น มีเป็นตั้งแต่ไม่กี่วินาทีถึงนานพอที่จะทำให้เขาตัวเขียวจากการขาดออกซิเจนได้

โรคลมหลับ (Narcolepsy)

โรคลมหลับ เป็นความผิดปกติของระบบประสาทซึ่งจะนำไปสู่การง่วงนอนเป็นพัก ๆ ในช่วงวัน ผู้ที่เป็นโรคลมหลับนี้จะมีอาการง่วงมากผิดปกติและอาจหลับเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ระหว่างวัน ช่วงเวลาการหลับดังกล่าวอาจนานไม่กี่วินาทีไปจนถึงหลายนาที ในบาทีก็อาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ผู้ป่วยสามารถหลับท่ามกลางบทสนทนา ระหว่างรับประทานอาหาร หรือแม้แต่ขณะขับขี่ยานพาหนะ

โรคลมหลับซึ่งส่งผลต่อชาวอเมริกันกว่า 250,000 คน เป็นภาวะวะเรื้อรังที่มักเริ่มมีอาการตั้งแต่ตอนวัยรุ่น อาการง่วงนอนของโรคลมหลับนั้นมักมีอาการผลอยหลับ (Cataplexy) ซึ่งเป็นการที่มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อและการควบคุมลดลงร่วมด้วย อาการอื่นๆ เช่น ประสาทหลอน (Hallucination) และการเป็นอัมพาตระหว่างนอน

การละเมอเดิน (Sleep walking) และ ฝันผวา (Night terrors)

ในขณะที่อาการนอนไม่หลับและภาวการณ์หยุดหายใจขณะนอนหลับนั้น จะพบมากในผู้ใหญ่ ความผิดปกติด้านการนอนอื่นอันได้แก่ การละเมอเดิน และฝันผวาจะพบมากกว่าในเด็กเล็ก ซึ่งการละเมอเดิน (Sleep walking หรือ Somnambulism) นั้น มีลักษณะสำคัญคือมักลุกขึ้นมาจากเตียงขณะกำลังนอน

ฝันผวา เป็นอาการที่มักพบในเด็กเล็ก (อายุระหว่าง 2 - 6 ปี) แต่บุคคลในทุกช่วงอายุจะได้รับผลกระทบจากอาการนี้ทั้งนั้น ลักษณะอาการโดยทั่วไปของฝันผวาได้แก่ เหงื่อออกมาก ร่างกายสั่น และผวา


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Julie Roddick and Kristeen Cherney, sleep disorders (https://www.healthline.com/health/sleep/disorders), January 26, 2016

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีรักษาอาการนอนไม่หลับ ด้วยหลักทางการแพทย์
วิธีรักษาอาการนอนไม่หลับ ด้วยหลักทางการแพทย์

นอนไม่หลับ มีทั้งนอนไม่หลับเฉียบพลันและนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับเรื้อรังอาจใช้ยาช่วยได้ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

อ่านเพิ่ม
8 วิธีช่วยรับมือกับโรคนอนไม่หลับ
8 วิธีช่วยรับมือกับโรคนอนไม่หลับ

คุณภาพการนอนหลับสามารถดีขึ้นได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม

อ่านเพิ่ม