ทุกคนต่างเป็นผู้รับผิดชอบต่อสุขภาพและพฤติกรรมทางเพศของตน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกัน ซึ่งหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือทางปากโดยไม่ สวมใส่ถุงยางอนามัย คุณไม่อาจแน่ใจได้ตลอดเวลาว่า คู่นอนของคุณมีสุขภาพดีหรือไม่ แม้เขาหรือเธออาจกล่าวอ้างเช่นนั้น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลายโรคอาจไม่แสดงอา การใดๆ เลย ดังนั้น ผู้ที่เป็นพาหะอาจไม่รู้ตัวว่าเขาหรือเธอมีเชื้ออยู่
หากมีความเป็นไปได้ว่าคุณจะติดเชื้อ ควรหาโอกาสเข้ารับการตรวจวินิจฉัย โรคกลุ่ม STD นี้สามารถวินิจฉัยได้ผ่านการตรวจเท่านั้น และโปรดจำาไว้ว่า คู่นอนของคุณจะต้อง เข้ารับการตรวจด้วยเช่นกัน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โรคกลุ่ม STD ที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนอื่นๆ มากมาย เช่น การ ติดเชื้อต่างๆ ปัญหาข้อต่อกระดูก และการเป็นหมันในชายและหญิง
ถุงยางอนามัยเป็นวิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ! สิ่งสำาคัญ เกี่ยวกับเรื่องนี้คือจะต้องหาถุงยางอนามัยที่เหมาะกับคุณและคู่นอน วิธีเดียวที่จะทราบ ได้ว่าถุงยางอนามัยแบบใดที่เหมาะสม คือ ผ่านการลองผิดลองถูก หากถุงยางอนามัยมีขนาดใหญ่เกินไปอาจลื่นหลุดได้ง่าย ถุงยางอนามัยที่เล็กเกินไปฉีกขาดง่าย ถุงยางอนามัยมีจำาหน่ายในหลากหลายขนาด รูปร่าง และรสชาดตามร้านค้า ร้านค้าออนไลน์ และร้านขายยา
คุณควรใช้เจลหล่อลื่นชนิดน้ำหรือซิลิโคนกับถุงยางอนามัย สิ่งนี้ช่วยเพิ่มความสุขสมและช่วยให้ถุงยางและเยื่อบุผิวเกาะติดกัน การป้องกันตัวจากโรค STD ขณะมีเพศสัมพันธ์ทางปากเป็นสิ่งสำาคัญไม่แพ้กัน ถุงยางอนามัยจะปกป้องคุณจากการติดเชื้อระหว่างการอมอวัยวะเพศชาย คุณควรใช้อุปกรณ์ป้องกันสำาหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก เช่น แผ่นยางอนามัย หากคุณทำาการเลียอวัยวะเพศหญิงหรือทวารหนัก (การใช้ปากเพื่อกระตุ้นช่องคลอดหรือทวารหนัก) อุปกรณ์ป้องกันสำาหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางปากสามารถหาซื้อได้
นอกจากนี้ คุณยังสามารถทำาอุปกรณ์ป้องกันสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางปากด้วยตนเองได้โดยใช้ถุงยางอนามัย :
- ใช้กรรไกรตัดส่วนปลายของถุงยางอนามัยออก
- สอดกรรไกรลงในถุงยางและตัดให้แผ่ออก
- คลี่ถุงยางออกเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม
- วางแผ่นยางบนช่องคลอดหรือทวารหนักก่อนจะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
วิธีการใช้ถุงยางอนามัย:
- ตรวจดูอายุการใช้งาน
- เปิดห่อถุงยางอนามัยด้วยความระมัดระวังตามภาพตัวอย่าง ดูให้แน่ใจว่าคุณคลี่ถุงยางออกในทิศทางที่ถูกต้อง
- จับให้หนังหุ้มปลายองคชาติเลื่อนไปด้านหลัง ใช้นิ้วมือบีบไล่ฟองอากาศออกจากกระเปาะตรงปลายถุงยาง รูดถุงยางอนามัยลงสวมอวัยวะเพศที่แข็งตัวแล้ว ห้ามสวมถุงยางอนามัย 2 ถุงพร้อมกัน ตรวจดูอายุการใช้งาน
- ใช้เจลหล่อลื่นชนิดน้ำหรือซิลิโคน หากจำาเป็น นี่เป็นสิ่งที่ต้องทำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
- สวมถุงยางอนามัยตลอดระยะเวลาที่มีเพศสัมพันธ์และห้ามนำกลับมาใช้ซ้ำ
- เลื่อนอวัยวะเพศออกทันทีหลังจากการหลั่งน้ำเชื้อ จับถุงยางอนามัยไว้ขณะเลื่อนอวัยวะเพศออกเพื่อป้องกันถุงยางหลุด ซึ่งจะทำให้น้ำเชื้อเข้าสู่ร่างกายของคู่นอนได้
- ทิ้งถุงยางอนามัยพร้อมกับขยะภายในบ้านได้ตามปกติ อย่าทิ้งถุงยางลงในโถชักโครก
เอชไอวีและเอดส์
เอชไอวี (HIV) หรือ ฮิวแมน อิมมูโนเดฟิเชียนซี ไวรัส (Human Immunodeficiency Virus) เป็นไวรัสที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์อ่อนแอลง ฮิวแมน อิมมูโนเดฟิเชียนซี ไวรัสตัวนี้จะบุกรุกเข้าไปในเซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิดและทำลายเซลล์เหล่านั้น เนื่องจากสามารถกลายพันธุ์ได้ ทำให้ไวรัสนี้กำจัดโดยการรักษาด้วยยาได้ยาก เมื่อผู้ป่วยมีผลตรวจ HIV เป็น positive ระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขาจะค่อยๆ อ่อนแอลงและหากไม่ได้รับยารักษา ก็สามารถพัฒนาเป็นโรคอื่นๆ เพิ่มขึ้นได้โดยง่าย
หากไม่ใช้ยารักษาเชื้อ HIV สามารถพัฒนาไปเป็นโรคเอดส์ได้ (กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม) เอชไอวีและเอดส์เป็นคนละสิ่งกัน คือ ไม่ใช่ทุกการติดเชื้อเอชไอวีที่พัฒนาไปเป็นเอดส์ มีการกล่าวไว้ว่า ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีจะเป็นโรคเอดส์เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขาถูกทำาลายอย่างร้ายแรงและพัฒนาไปเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเอชไอวีที่ร้ายแรง เช่น โรคปอดบวมหรือการติดเชื้อทางปอดชนิดอื่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ การติดเชื้อที่ต่อมน้ำาลาย หรือการติดเชื้อราที่หลอดอาหาร
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดสำหรับเชื้อเอชไอวี แต่่การรักษาทางการแพทย์สามารถหยุดหรือชะลอการแพร่กระจายของไวรัสในร่างกายและพยุงระบบภูมิคุ้มกันได้ หมอจะตรวจและประเมินอาการของผู้ป่วยแต่ละรายก่อนระบุวิธีการรักษา การรักษาทางการแพทย์สำหรับเชื้อเอชไอวีจะต้องทำต่อเนื่องตลอดชีวิต
การรับเชื้อเอชไอวีเกิดขึ้นได้อย่างไร?
HIV หรือฮิวแมน อิมมูโนเดฟิเชียนซี ไวรัส เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อได้ยาก ไวรัสชนิดนี้ไม่แพร่กระจายทางอากาศหรือการสัมผัส แต่ติดต่อผ่านของเหลวในร่างกายหรือเลือด
ช่องทางการติดเชื้อเอชไอวีหลัก:
- การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทวารหนักกับผู้ที่ติดเชื้อโดยไม่ป้องกัน การมีเพศสัมพันธ์ทางปากกับผู้ที่ติดเชื้อโดยไม่ป้องกัน
- ผู้ร่วมมีเพศสัมพันธ์รับเอาน้ำคัดหลั่งจากช่องคลอด อสุจิ หรือน้ำเลี้ยงอสุจิเข้าไปในปากของเขาหรือเธอทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ การถ่ายเลือดหรือการปลูกถ่ายอวัยวะที่มีการปนเปื้อน
- การใช้เข็มฉีดยา กระบอกฉีดยา หรืออุปกรณ์ฉีดยาอื่นๆ ร่วมกับผู้ที่มีเชื้อ HIV positive
- จากแม่สู่ลูกระหว่างตั้งครรภ์ คลอดบุตร หรือให้นมบุตรด้วยน้ำนมแม่่
การตรวจวินิจฉัยเชื้อเอชไอวีี
เชื้อเอชไอวีวินิจฉัยด้วยการทดสอบสารภูมิต้านทานต่อเอชไอวี (HIV antibody test) เชื้อจะตรวจพบได้ภายใน 1-3 เดือนหลังจากมีการติดต่อ โดยการเจาะตัวอย่างเลือดจาก ปลายนิ้วหรือแขนข้างใดข้างหนึ่ง ในฟินแลนด์ มีบริการตรวจวินิจฉัยเชื้อเอชไอวีโดยศูนย์สุขภาพทุกแห่ง มูลนิธิเอชไอวี และสภากาชาดฟินแลนด์ หากคุณสงสัยว่าตัวเองมีเชื้อเอชไอวี เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการตรวจ! การรับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็วที่สุดหลังจากติดเชื้อทำให้คุณดูแลสุขภาพของตนเองได้ดีขึ้นและป้องกันไม่ให้ติดต่อไปยังผู้อื่น การรับรู้ว่ามีเชื้อเอชไอวีอาจทำให้เกิดความกลัวตาย การเป็นหมัน การเสียใบอนุญาตขอมีถิ่นที่อยู่ หรือการถูกปฏิเสธจากครอบครัวหรือชุมชน
ในประเทศฟินแลนด์ การติดเชื้อเอชไอวีไม่มีผลกระทบต่อใบอนุญาตขอมีถิ่นที่อยู่
การรักษา
การติดเชื้อเอชไอวีเป็นอาการป่วยต่อเนื่องที่จำเป็นต้องรับการรักษาและควบคุมดูแล การรักษาการติดเชื้อเอชไอวี คือ การใช้ยาต้านไวรัส ซึ่งมักประกอบด้วยยาต้านไวรัสที่แตกต่างกัน 3 ชนิด ยาจะชะลอการขยายจำานวนของไวรัสและป้องกันเซลล์ที่มีสุขภาพดีจากการติดเชื้อ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันกลับเป็นปกติและหยุดการเจริญเติบโตของโรค
การรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันมักประสบความสำเร็จในการลดปริมาณการแพร่เชื้อและจัดการกับการติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีโอกาสพัฒนาเป็นเอดส์ การรักษาจะทำให้อายุยืนยาวขึ้นรวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ยาที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถกำจัดไวรัสออกจากร่างกายได้อย่างสมบูรณ์
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โรคหนองในเทียม (CHLAMYDIA)
การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?
โรคหนองในเทียมติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก และทางปากซึ่งไม่มีการป้องกัน โรคนี้ติดต่อจากอวัยวะเพศไปยังดวงตาได้โดยผ่านมือสัมผัสอาการของโรค
อาการของโรค
ผู้ป่วยอาจพบอาการภายใน 10-14 วันหลังการติดเชื้อ แต่บ่อยครั้งที่หนองในเทียมจะแสดงอาการเพียงเล็กน้อยมากหรือไม่แสดงอาการเลย
อาการที่อาจพบในเพศหญิง: ตกขาวไม่ปกติ ปวดแสบขณะปัสสาวะ ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ และเจ็บท้องหรือหลังช่วงล่าง
อาการที่อาจพบในเพศชาย: ปวดแสบขณะปัสสาวะ น้ำอสุจิจากท่อปัสสาวะเป็นสีเทา และเจ็บท้องหรืออัณฑะ
หนองในเทียมที่ไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบในเพศหญิง และเป็นสาเหตุของภาวะข้อต่ออักเสบและอาการเป็นหมันทั้งในเพศชายและเพศหญิง
คุณควรเข้ารับการตรวจเมื่อใด?
ประมาณ 1-2 สัปดาห์ตั้งแต่รับเชื้อ
หนองในเทียมตรวจวินิจฉัยจากตัวอย่างปัสสาวะ โปรดทราบ! หนองในเทียมที่ทวารหนักหรือลำคอ ไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้จากตัวอย่างปัสสาวะ หากผู้ป่วยมีเพศสัมพันธ์ทาง ทวารหนักหรือทางปากโดยไม่ป้องกัน ต้องเก็บตัวอย่างหนองในเทียมจากทวารหนักหรือช่องคอ
การรักษา
ยาปฏิชีวนะและการตรวจติดตามผล
การป้องกัน
ถุงยางอนามัยและแผ่นยางอนามัยจะช่วยปกป้องคุณระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางปาก สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก คุณควรเสริมประสิทธิภาพการใช้ถุงยางอนามัยด้วยเจลหล่อลื่นชนิดน้ำหรือซิลิโคน
โรคหนองใน (Gonorrhoea)
การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?
โรคหนองในติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก และทางปากซึ่งไม่มีการป้องกัน โรคนี้ติดต่อจากอวัยวะเพศไปยังดวงตาได้ผ่านมือ
อาการของโรค
อาการจะปรากฏภายใน 2-14 วันหลังการติดเชื้อ แต่ก็อาจไม่แสดงอาการใดๆ ได้เช่นกัน
อาการของโรคหนองในอาจมีความปวดแสบขณะปัสสาวะ เป็นต้น ผู้หญิงอาจเจ็บปวดจากอาการต่างๆ เช่น ตกขาวมากขึ้นและมีอาการปวดหน้าท้องส่วนล่าง ขณะที่ผู้ชายอาจรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น น้ำอสุจิมีสีเหลืองเข้ม และมีอาการปวดเมื่ออวัยวะเพศแข็งตัว
โรคหนองในสามารถทำให้เยื่อบุตาอักเสบมีการติดเชื้อผ่านทางมือสัมผัส โรคหนองในที่ไม่มีการป้องกันสามารถทำให้เป็นหมันได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิ
คุณควรเข้ารับการตรวจเมื่อใด?
ประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากรับเชื้อ
โรคหนองในตรวจวินิจฉัยจากตัวอย่างปัสสาวะ โปรดทราบ! โรคหนองในที่ทวารหนักหรือ ลำคอไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้จากตัวอย่างปัสสาวะ หากผู้ป่วยมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักหรือทางปากโดยไม่ป้องกัน ต้องเก็บตัวอย่างหนองในจากทวารหนักหรือช่องคอ
การรักษา
ยาปฏิชีวนะและการตรวจติดตามผล
การป้องกัน
ถุงยางอนามัยและแผ่นยางอนามัยจะช่วยปกป้องคุณระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางปาก สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก คุณควรเสริมประสิทธิภาพการใช้ถุงยางอนามัยด้วยเจลหล่อลื่นชนิดน้ำหรือซิลิโคน
โรคซิฟิลิส (SYPHILIS)
การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?
โรคซิฟิลิสติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก และทางปากซึ่งไม่มีการป้องกัน
อาการของโรค
อาการระยะเริ่มต้นจะปรากฏภายใน 3-6 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ แต่บางคนอาจไม่มีอาการที่เห็นได้ชัดในระยะเริ่มต้น
อาการระยะเริ่มต้นของโรคซิฟิลิสคือเกิดแผลเปื่อยขอบแข็งโดยไม่รู้สึกเจ็บบริเวณที่เชื้อเข้าไป เช่น อวัยวะเพศ ในปาก หรือทวารหนัก และต่อมน้ำเหลืองโตตรงที่ติดเชื้อ อาการเหล่านี้จะคงอยู่ต่อไปเรื่อยๆ
อาการระยะที่สองจะปรากฏภายใน 2-4 เดือนหลังจากเริ่มอาการระยะแรก โดยจะมีอาการไข้ ต่อมน้ำาเหลืองโต ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และอาการบนผิวหนังหลายแบบ
อาการระยะที่สองของโรคซิฟิลิสจะปรากฏอยู่ประมาณ 6 เดือนหากปล่อยไว้ไม่รักษา และนำไปสู่ระยะแอบแฝง ผู้ป่วยหลายรายมีอาการระยะที่สามนานหลายปีหลังจากติดเชื้อ
โรคซิฟิลิสที่ไม่ได้รับการรักษาจะนำไปสู่โรคซิฟิลิสระยะที่สามในกลุ่มผู้ป่วย 20-30% ซึ่งทำลายระบบประสาทส่วนกลางและระบบการไหลเวียนต่างๆ
คุณควรเข้ารับการตรวจเมื่อใด?
ประมาณ 3-6 สัปดาห์หลังจากรับเชื้อ
การรักษา
ยาปฏิชีวนะและการตรวจติดตามผล
การป้องกัน
ถุงยางอนามัยและแผ่นยางอนามัยจะช่วยปกป้องคุณระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางปาก สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก คุณควรเสริมประสิทธิภาพการใช้ถุงยางอนามัยด้วยเจลหล่อลื่นชนิดน้ำหรือซิลิโคน
โรคหูดหงอนไก่ (GENITAL WARTS)
โรคหูดหงอนไก่เกิดจากไวรัสพาพิลโลมาในมนุษย์ (Human Papillomavirus; HPV)
การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?
โรคหูดหงอนไก่ติดต่อผ่านการสัมผัสทางเพศและเยื่อบุผิว ความเสี่ยงในการติดเชื้อลดลงได้ด้วยการใช้ถุงยางอนามัย
อาการของโรค
เม็ดหูดใสเล็กๆ บนเยื่อบุผิวของอวัยวะเพศซึ่งอาจเพิ่มโตขึ้นเป็นกระจุกคล้ายดอกกระหล่ำาขนาดใหญ่ อาการต่างๆ อาจรวมไปถึงความปวดแสบขณะปัสสาวะ มีเลือดออกทางปัสสาวะ ผิวบวมหรือเยื่อบุผิวเป็นเมือก และมีอาการคัน
ระยะแอบแฝงจากการติดเชื้อไปจนถึงการแสดงออกของอาการต่างๆ อาจใช้เวลาหลายเดือนจนถึงหลายปี
คุณควรเข้ารับการตรวจเมื่อใด?
เมื่อเริ่มมีอาการ
การรักษา
ไม่มีการรักษาให้หายขาดสำหรับไวรัสพาพิลโลมาในมนุษย์ (HPV) วัตถุประสงค์ของการรักษาคือ เพื่อทำลายอาการของเชื้อที่มองเห็นและช่วยระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับไวรัส วิธีการรักษารวมไปถึงสารและครีมที่มีในประเทศ การศัลยกรรมด้วยความเย็นจัดโดยใช้ไนโตรเจนเหลว และการตัดด้วยเลเซอร์
การป้องกัน
มีวัคซีนต้านทานไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่ชนิดที่พบมากที่สุด วัคซีนนี้มีจำหน่ายที่ร้านขายยาตามคำสั่งแพทย์ วัคซีนนี้ใช้ไม่ได้ผลหากคุณติดเชื้อแล้ว ด้วยเหตุนี้ คุณจึงต้องรับวัคซีนก่อนที่จะมีการสัมผัสทางเพศครั้งแรก นอกจากนี้ การใช้ถุงยางอนามัยเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันที่แนะนำ
ไวรัสพาพิลโลมาบางชนิดอาจก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ในบริเวณปากมดลูกของเพศหญิง และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกหากปล่อยไว้โดยไม่รับการรักษา ด้วยเหตุนี้ การตรวจคัดกรองโรคแบบ Pap smear จึงสำคัญสำหรับผู้หญิงที่มีเชื้อ HPV
โรคเริม (HERPES)
โรคเริมจะแสดงอาการที่ริมฝีปากหรือที่อวัยวะเพศ ทั้งสองชนิดเกิดจากเฮอร์เปส ซิมเพล็ กซ์ ไวรัส (Herpes simplex virus; HSV)
HSV 1 โดยส่วนใหญ่มักเป็นสาเหตุของโรคเริมบนริมฝีปาก ขณะที่ HSV 2 บ่อยครั้งมักนำไปสู่โรคเริมที่อวัยวะเพศ
การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?
โรคเริมติดต่อผ่านการสัมผัสกับรอยแผล สะเก็ดแผล หรือแผลพุพอง
ไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อได้เมื่อจูบหรือระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าระหว่างอวัยวะเพศ กับอวัยวะเพศหรือระหว่างอวัยวะเพศกับทวารหนัก ในการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก โรคเริมบนริมฝีปากสามารถแพร่เชื้อไปยังอวัยวะเพศและเริมที่อวัยวะเพศก็แพร่เชื้อไปยังปากได้
ไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อได้ทุกระยะ แม้ช่วงที่ไม่แสดงอาการ แต่จะแพร่เชื้อมากที่สุดเมื่อเริ่มมีแผลพุพอง
อาการของโรค
อาการของโรคเริมจะปรากฏภายใน 2-12 วันหลังการติดเชื้อ อาการที่พบโดยมาก คือ ปวดและคันบริเวณที่ติดเชื้อ แผลพุพองจะปรากฏในบริเวณที่เป็น แตกและตกสะเก็ดภายในเวลาไม่กี่วัน
คุณควรเข้ารับการตรวจเมื่อใด?
เมื่อเริ่มมีอาการ
การรักษา
ไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดสำาหรับไวรัส HSV ไวรัสตัวนี้จะอยู่ในร่างกายตลอดชีวิตในลักษณะเชื้อแฝง ยาต้านไวรัสสามารถป้องกันไม่ให้ไวรัสขยายพันธุ์ ลดระยะเวลาของอาการ เร่งการรักษา และป้องกันอาการไม่ให้เกิดซ้ำ อาการของโรคเริมอาจปรากฏซ้ำ เป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียด การแพ้ระคายเคือง การติดเชื้อแทรกซ้อน หรือระหว่างการมีประจำเดือนสำหรับเพศหญิง
การป้องกัน
ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ติดเชื้อในระยะที่แสดงอาการ ถุงยางอนามัยจะปกป้องคุณจากการติดโรคเริม หากสวมใส่ให้ครอบคลุมบริเวณที่มีแผลพุพอง หรือรอยแผลทั้งหมด
ในระยะที่แสดงอาการ โรคเริมสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกระหว่างการคลอด จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณควรแจ้งให้โรงพยาบาลและคลินิก
ผดุงครรภ์ของคุณทราบเสมอเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อ หรืออาการต่างๆ ของโรค
โรคตับอักเสบ B (HEPATITIS B)
การติดเชื้อที่ตับเกิดจากเฮพาติทิส บี ไวรัส (Hepatitis B virus; HBV)
การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?
โรคตับอักเสบ B สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือทางปากซึ่งไม่มีการป้องกัน รวมถึงทางหลอดเลือดดำ เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
อาการของโรค
การติดเชื้อโรคตับอักเสบ B แบบเฉียบพลันโดยมากจะไม่แสดงอาการ ประมาณ 40% ของผู้ที่ได้รับเชื้อจะเริ่มมีอาการ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย อาเจียนหรือปวดท้อง ดีซ่าน และบางครั้งอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ อาการเหล่านี้โดยปกติจะคงอยู่ในระยะ 2-3 สัปดาห์
การติดเชื้อโรคตับอักเสบ B โดยมากจะหายเอง แต่ผู้ป่วย 3-5% จะยังคงเป็นพาหะเรื้อรังของเชื้อไวรัส การติดเชื้อโรคตับอักเสบ B เรื้อรังอาจนำไปสู่โรคตับแข็งหรือมะเร็งตับเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี
คุณควรเข้ารับการตรวจเมื่อใด?
โรคตับอักเสบ B จะตรวจพบได้เร็วที่สุด 8-12 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ
การรักษา
โรคตับอักเสบ B ไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่โรคตับอักเสบ B แบบเฉียบพลันมักจะหายไปเอง ยาต้านไวรัสบางชนิดและอินเตอร์เฟียรอนสามารถใช้รักษาโรคตับอักเสบ B แบบเรื้อรังได้
การป้องกัน
มีวัคซีนต้านโรคตับอักเสบ B นอกจากนี้ ถุงยางอนามัยยังช่วยปกป้องการติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และการใช้เข็มฉีดยาที่สะอาดจะช่วยป้องกันการติดเชื้อที่เป็นผลจากการฉีดยาเข้าสู่หลอดเลือดดำ
โรคตับอักเสบ C (HEPATITIS C)
การติดเชื้อโรคตับแบบเรื้อรังเกิดจากเฮพาติทิส ซี ไวรัส (Hepatitis C virus; HCV)
การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?
ไวรัสชนิดนี้ติดต่อผ่านทางเลือด โดยมากเป็นผลมาจากการใช้เข็มฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำร่วมกัน โรคตับอักเสบ C ยังสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกันได้ด้วย ความเสี่ยงของการติดเชื้อมีมากขึ้นในกลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
อาการของโรค
การติดเชื้อโรคตับอักเสบ C มักแสดงอาการเพียงเล็กน้อย ผู้ติดเชื้อเพียง 25% เท่านั้นที่จะมีอาการในระยะเริ่มต้น ได้แก่ ดีซ่าน คลื่นไส้ และปวดท้อง
ผู้ป่วยประมาณ 70% จะยังคงเป็นพาหะนำโรคแบบเรื้อรัง การติดเชื้อโรคตับอักเสบ C แบบเรื้อรังสามารถนำไปสู่โรคตับแข็งหรือมะเร็งตับเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี
คุณควรเข้ารับการตรวจเมื่อใด?
โรคตับอักเสบ C ตรวจพบได้ประมาณ 10 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ
การรักษา
การรักษาโรคตับอักเสบ C ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การรักษาด้วยการฉีดอินเตอร์เฟอรอน เข้าสู่หลอดเลือดดำที่ใช้ในปัจจุบันกำาลังเปลี่ยนมาเป็นการรับประทานยาต้านไวรัสแทน
การป้องกัน
ไม่มีวัคซีนต้านทานโรคตับอักเสบ C ดังนั้น การใช้เข็มฉีดยาที่สะอาดช่วยป้องกันการติดเชื้อผ่านการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ และถุงยางอนามัยช่วยป้องกันการติดต่อของเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์
ตัวโลน (CRAB LICE)
ตัวโลนคือแมลงสีเนื้อตัวแบน ยาวประมาณ 1-3 มิลลิเมตร ซึ่งดูดเลือดผ่านผิวหนังและวางไข่ตามขนในที่ลับ
การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?
โลนจะแพร่กระจายผ่านผ้าปูที่นอน การสัมผัสทางผิวหนัง และการมีเพศสัมพันธ์
อาการของโรค
โลนทำให้เกิดอาการคันในบริเวณที่มีขนลับ และอาจรวมถึงในบริเวณขนรักแร้และขน หน้าอก อาการต่างๆ จะปรากฏภายใน 1-3 วันหลังการติดเชื้อ โลนจะทิ้งรอยกัดสีเทาซึ่งมองเห็นได้บริเวณที่มีขนดก และยังมองเห็นตัวแมลงตามขนได้ด้วยตาเปล่า
การรักษา
การติดโลนกำจัดได้ด้วยแชมพูยา ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านขายยา ควรทำาการรักษาซ้ำๆ ใน ช่วง 2-3 สัปดาห์ ควรซักและเปลี่ยนชุดชั้นในและผ้าปูที่นอนควบคู่กับการรักษา
โรคหิด (SCABIES)
หิดเกิดจากแมลง Sarcoptes scabiei ขนาด 0.3-0.5 มิลลิเมตรหรือตัวไรคัน
การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?
ตัวไรคันจะแพร่กระจายผ่านการสัมผัสของผิวหนังอย่างใกล้ชิด และสามารถแพร่เชื้อได้ทางเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอนและผ้าเช็ดตัว และระหว่างมีเพศสัมพันธ์์
อาการของโรค
อาการคันจะเกิดหลังการติดเชื้อ 3-6 สัปดาห์ รูไรเล็กๆ และแผลพุพองจะปรากฏบนผิวหนัง การเกาอาจทำาให้ผิวและแผลพุพองติดเชื้อโรคได้
การรักษา
การติดเชื้อตัวไรคันกำจัดได้ด้วยการใช้ยารักษา ซึ่งมีจำาหน่ายตามร้านขายยา คู่นอนและผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังเดียวกันทุกคนต้องรับการรักษาพร้อมกัน แม้ยังไม่มีอาการ ควร ทำาการรักษาซ้ำาภายใน 1 สัปดาห์ ควรซักและเปลี่ยนชุดชั้นในและผ้าปูที่นอนควบคู่กับ การรักษา
โรคพยาธิไตรโคโมนีเอซิส (TRICHOMONIASIS)
โรคพยาธิไตรโคโมนีเอซิสเกิดจากเชื้อโปรโตซัว Trichomonas vaginalis
การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?
โรคพยาธิไตรโคโมนีเอซิสติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน
อาการของโรค
ผู้ป่วยอาจประสบกับอาการต่างๆ ภายใน 2-3 วัน ไปจนถึง 4 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ แต่โรคนี้มักก่อให้เกิดอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเลย
อาการที่พบในเพศหญิง: ช่องคลอดอักเสบ; ตกขาวไหลมาก มีฟองเป็นสีเขียว และมีกลิ่นเหม็น และมีอาการแสบร้อนที่เยื่อเมือก
อาการที่พบในเพศชาย: ท่อปัสสาวะอักเสบ
การรักษา
การใช้ยาปฏิชีวนะสักระยะหนึ่ง คู่นอนต้องรับการรักษาด้วย
โรคแผลริมอ่อน (CHANCROID)
โรคแผลริมอ่อนเกิดจากแบคทีเรียตัวใดตัวหนึ่งระหว่าง Haemophilus ducreyi หรือ Chlamydia trachomatis (LGV chlamydia)
โรคแผลริมอ่อนพบได้ยากในประเทศฟินแลนด์ และกรณีส่วนมากอยู่ในแอฟริกาและเอเชีย และระบาดเป็นครั้งคราวในยุโรป อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีนี้ อัตราการติดเชื้อ LGV chlamydia ในประเทศฟินแลนด์เพิ่มขึ้นในกลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์ชายกับชาย
การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?
ผ่านการมีเพศสัมพันธ์
อาการของโรค
โรคแผลริมอ่อนมักแสดงอาการภายใน 1 สัปดาห์หลังจากรับเชื้อ
อาการ: ต่อมน้ำเหลืองโต แผลเปื่อย และมีแผลบนเยื่อเมือก
การรักษา
ยาปฏิชีวนะ
ศูนย์ช่วยเหลือผู้ป่วยเอชไอวีี
มูลนิธิเอชไอวีมีส่วนร่วมในการป้องกันเชื้อเอชไอวีและให้บริการแก่ผู้ที่ติดเชื้อหรือได้รับผลกระทบจากเชื้อเอชไอวี รวมถึงผู้ที่เชื่อว่าพวกเขาอาจเริ่มเป็นโรคดังกล่าว
มูลนิธิของเราให้บริการที่เข้าถึงง่าย เช่น บริการตรวจวินิจฉัยเชื้อเอชไอวีแบบทันใจและการให้คำแนะนำปรึกษาทางโทรศัพท์และออนไลน์
การตรวจวินิจฉัยเชื้อเอชไอวี มีให้บริการ ณ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ป่วยเอชไอวีทุกแห่ง ติดต่อสายให้คำปรึกษาเพื่อนัดหมายขอเข้ารับการตรวจ
สายให้คำาปรึกษาให้บริการ จันทร์-พฤหัสบดี เวลา 10.00 - 15.30 น. โทร. +358 207 465 705
และติดต่อรับบริการทางออนไลน์ได้ที่ www.hivtukikeskus.fi / www.aidscouncil.fi
นอกจากนี้ มูลนิธิเอชไอวี ยังให้คำาปรึกษาและการช่วยเหลือฉุกเฉิน รวมถึง การช่วยเหลือแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
มูลนิธิเอชไอวีมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ Helsinki, Tampere, Turku และ Oulu