กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ซิฟิลิส (Syphilis)

รู้จัก เข้าใจ รับมือได้ และป้องกันเป็น ไม่ว่าจะระบาดแค่ไหนก็ปลอดภัยหายห่วง
เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
ซิฟิลิส (Syphilis)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย “ทริปโปนีมา พัลลิดุม” ปัจจุบันเป็นโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มคู่รักวัยรุ่น และกลุ่มคู่รักชายรักชาย
  • โรคซิฟิลิสสามารถติดต่อกันได้ผ่านผ่านการจูบ การสัมผัสแผล หรืออวัยวะเพศ อีกทั้งยังสามารถติดต่อระหว่างมารดาไปถึงทารกในครรภ์ได้ด้วย แต่จะไม่สามารถติดต่อหากันได้ผ่านน้ำลาย และการสัมผัสทั่วไป
  • โรคซิลิฟิสสามารถส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ และยังทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ง่ายขึ้นด้วย ซึ่งวิธีป้องกันโรคซิฟิลิสที่ดีที่สุด คือ มีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย และงดมีพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงเกินไป
  • โรคซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากผู้ป่วยรู้ว่าตนเองติดเชื้อตั้งแต่ระยะแรกๆ และหากผู้ป่วยมีคู่นอน จะต้องบอกคู่นอนให้ไปเข้ารับการตรวจเชื้อด้วยกัน และอย่ามีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาโรคนี้หายด้วย
  • หากคุณเคยมีพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงเป็นโรคซิฟิลิส คุณจะต้องไปเข้ารับการตรวจให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้รีบรักษาให้โรคหายขาดได้ (ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ที่นี่)

ซิฟิลิส เป็นโรคที่สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก ผู้ที่ติดเชื้อมักจะไม่มีอาการใดๆ ในระยะแรก ทำให้เชื้อสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว ข้อมูลต่อไปนี้จะช่วยป้องกันคุณจากการติดเชื้อได้

ความหมายของโรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า ทริปโปนีมา พัลลิดุม (Treponema pallidum) ซึ่งมีขนาดเล็กมากและสามารถอาศัยอยู่ได้เกือบทุกส่วนในร่างกาย โดยหากส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์จะเห็นเชื้อตัวนี้มีลักษณะเหมือนเกลียวสว่าน (Spirochete bacteria)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับสถิติของโรคซิฟิลิสนั้น ตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1990 พบว่า มีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง แต่จากรายงานที่ผ่านมาพบว่า ในปัจจุบันมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มชายรักชาย 

ไม่เพียงเท่านั้นเมื่อปลายเดือนเมษายน 2562 ที่ผ่านมา ศูนย์กามโรคบางรักได้ออกประกาศสั้นๆ ว่า "ซิฟิลิสกลับมาระบาดอีกครั้ง"  นั่นทำให้ผู้คนเริ่มหันมาสนใจโรคซิฟิลิสกันมากขึ้นว่าโรคนี้คืออะไร ความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่   

การติดต่อระหว่างกันของผู้ป่วยโรคซิฟิลิส

เชื้อแบคทีเรียที่เป็นตัวการให้เกิดโรคซิฟิลิสสามารถแพร่จากคนไปสู่คนผ่านการสัมผัสแผลที่เกิดจากโรคโดยตรง 

แผลดังกล่าวมักเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือภายในช่องปาก ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือการออรัลเซ็กส์กับผู้ป่วยซิฟิลิส จึงล้วนทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งนั้น

นอกจากนี้เชื้อยังสามารถติดต่อได้โดยการจูบ หรือสัมผัสแผลบริเวณหน้าอก แผลในปาก หรืออวัยวะเพศ ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อนี้ก็สามารถแพร่เชื้อไปยังทารกในครรภ์ ทำให้เกิดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกมีความผิดปกติ หรือเสียชีวิตได้ 

อย่างไรก็ตาม เชื้อซิฟิลิสจะไม่ติดต่อผ่านการใช้ของใช้ หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ผ้าเช็ดตัว การใช้ช้อน การสัมผัสลูกบิดประตู การว่ายน้ำในสระเดียวกัน หรือการนั่งฝารองชักโครกร่วมกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของโรคซิฟิลิส

ผู้ป่วยโรคนี้มักไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ เนื่องจากอาการของโรคซิฟิลิสจะเริ่มปรากฏขึ้นในช่วงระยะ 10 วันถึง 3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ 

แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะแสดงอาการในช่วง 3 สัปดาห์ และหากไม่ได้รับการรักษา อาการในระยะที่ 2 ก็จะปรากฏขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในช่วงประมาณ 2-10 สัปดาห์หลังจากที่แผลริมแข็งในระยะที่ 1 ปรากฏขึ้น

ผู้ติดเชื้อซิฟิลิสจำนวนมากไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อหรือมีอาการของโรค ทำให้ไม่ได้รับการรักษาก่อนเชื้อแสดงอาการ และยังแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ง่าย 

ดังนั้นหากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง คุณควรแจ้งแพทย์เพื่อทำการตรวจหาเชื้อซิฟิลิสด้วย แม้คุณจะไม่ได้มีอาการใดๆ ก็ตาม 

โดยคุณเลือกดูแพ็กเกจตรวจซิฟิลิสและโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นๆได้ที่นี่

อาการของโรคซิฟิลิสแบ่งออกเป็นระยะต่างๆ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ระยะที่ 1

ในระยะแรกของการติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีแผลลักษณะแข็งๆ สีแดง ขอบนูน ที่มักเรียกว่า "แผลริมแข็ง" (Chancre) ปรากฎขึ้นบริเวณช่องคลอด ทวารหนัก องคชาต หรือปาก อาจมีเพียงแผลเดียว หรือหลายๆ แผลก็ได้ 

ซึ่งจะเกิดขึ้นบริเวณที่ได้รับเชื้อ แผลนี้ไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตในระยะนี้ด้วย

แผลริมแข็งจะหายไปภายใน 3-6 สัปดาห์ แม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษาก็ตาม แต่เชื้อจะยังคงแฝงตัวอยู่ในร่างกาย นั่นหมายความว่า หากไม่ได้รับการรักษา อาการของโรคก็จะกำเริบรุนแรงกว่าเดิมเมื่อเข้าสู่ระยะถัดไป

เชื้อซิฟิลิสสามารถแพร่กระจายได้ง่ายมากในระยะแรก อีกทั้งผู้ติดเชื้อในระยะนี้มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจนนัก ไม่มีอาการเจ็บปวด หรือแผลที่เกิดขึ้นอยู่ในบริเวณที่มองไม่เห็น เช่น ในปาก ใต้หนังหุ้มปลายองคชาต ปากมดลูก หรือที่ทวารหนัก ทำให้ผู้ติดเชื้ออาจไม่รู้ตัวและแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ

ระยะที่ 2

เมื่อติดเชื้อแล้วไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยซิฟิลิสจะเริ่มแสดงอาการมากขึ้น โดยมีผื่นขึ้นตามฝ่ามือและฝ่าเท้า แต่ไม่มีอาการคัน 

นอกจากนี้ยังอาจมีไข้ รู้สึกอ่อนเพลีย ผมร่วง และปวดเมื่อยตามตัว โดยมีอาการเกิดขึ้นประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือหลายเดือนหลังจากเกิดแผลริมแข็งในระยะแรก ผื่นในระยะนี้จะยังเป็นผื่นจางๆ มีลักษณะคล้ายผดผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อทั่วไปทำให้ผู้ป่วยอาจไม่สนใจและไม่สังเกตเห็น 

บางรายอาจมีแผลบริเวณริมฝีปาก ในปาก ในลำคอ ช่องคลอด และทวารหนักร่วมด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ติดเชื้อในระยะนี้จะไม่มีแผลเกิดขึ้นเลย

อาการในระยะที่ 2 นี้จะหายไปเองได้ แม้ไม่ได้รับการรักษา แต่อาการของโรคก็จะรุนแรงมากขึ้นอีกและเชื้อซิฟิลิสยังคงแพร่กระจายได้ง่ายในระยะนี้

ระยะแฝงเชื้อ

ระยะนี้เริ่มขึ้นหลังจากอาการของระยะที่หนึ่งและระยะที่สองผ่านไปแล้ว หากผู้ติดเชื้อยังไม่ได้รับการรักษา แม้ว่าอาการต่างๆ ของโรคจะหายไป แต่เชื้อจะยังคงแฝงตัวอยู่ภายในร่างกาย และอยู่ต่อไปได้นานหลายปี หรือตลอดชีวิตโดยไม่แสดงอาการใดๆ 

ระยะที่ 3

หากยังไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยประมาณ 15% จะเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรคซิฟิลิสและแสดงอาการแม้จะผ่านไปแล้ว 10-20 ปีหลังจากที่ได้รับเชื้อ 

เนื่องจากเชื้อได้แพร่กระจายไปทั่วร่างกาย และค่อยๆ ทำลายอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ได้แก่ สมอง เส้นประสาท ไขสันหลัง ดวงตา หัวใจ เส้นเลือด ตับ และกระดูก 

ทำให้ผู้ติดเชื้อซิฟิลิสในระยะสุดท้ายมีอาการป่วยทางจิต สมองเสื่อม การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน ไม่สามารถเดินได้ตามปกติ ตัวชา ตาบอดลงทีละน้อย และอาจเสียชีวิตในที่สุด

ผลกระทบจากการติดเชื้อซิฟิลิส

เชื้อซิฟิลิสนั้นอันตรายมากหากไม่ได้รับการรักษา ไม่ว่าในหญิง หรือชายก็ตาม เพราะเชื้อสามารถแพร่กระจายไปทั่วร่างกายและส่งผลต่ออวัยวะสำคัญต่างๆ หรือทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพร้ายแรง ซึ่งเมื่อมาถึงในระยะนี้จะไม่สามารถรักษาได้อีกต่อไป

หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อและไม่ได้รับการรักษามีความเสี่ยงสูงที่ทารกในครรภ์จะได้รับอันตราย เสียชีวิตในครรภ์ หรือเสียชีวิตหลังคลอด และยังอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ 

นอกจากนี้เชื้อซิฟิลิสยังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ง่ายเมื่อมีแผลเกิดขึ้น หรือเมื่อแผลซิฟิลิสมีเลือดออกและไปสัมผัสเข้ากับเชื้อเอชไอวี

โรคซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?

โรคซิฟิลิสนั้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการตรวจและรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ หากพบว่าการติดเชื้อของผู้ป่วย อยู่ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี จะสามารถหยุดการลุกลามของโรคได้ ด้วยการฉีดยาเพนิซิลลินเพียง 1 เข็ม 

แต่ถ้าผู้ป่วยมีการติดเชื้อเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี อาจต้องรับการยาฉีดชนิดนี้มากขึ้นอีก

เมื่อพบว่าผู้ป่วยแพ้ยาเพนิซิลลิน แพทย์ก็จะเสนอการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆ 

แต่กระนั้น ยาเพนิซิลลินเป็นยาปฏิชีวนะเพียงชนิดเดียว ที่สามารถใช้กับสตรีมีครรภ์ได้

การรักษาโรคซิฟิลิส

การติดเชื้อซิฟิลิสในระยะแรกนั้นสามารถรักษาให้หายได้ง่ายแต่หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงทางสุขภาพจนถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคซิฟิลิส คือเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

หากสงสัยว่า ตนเองอาจติดเชื้อ หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะหากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือมีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ แนะนำให้ไปพบแพทย์  หรือสูติแพทย์ตามโรงพยาบาลหรือคลินิกที่รับตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งคุณสามารถโทรสอบถามข้อมูลจากสถานพยาบาลแต่ละแห่งได้โดยตรง 

การรักษาซิฟิลิสจะขึ้นอยู่กับระยะการติดเชื้อ ซึ่งแพทย์จะรู้ได้จากการนำเนื้อเยื่อหรือชิ้นส่วนจากแผลไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการและส่องดูเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบพิเศษ หรืออาจใช้วิธีการตรวจเลือดหาเชื้อ ทั้งนี้คุณสามารถแจ้งให้แพทย์ทราบถึงวิธีการรับผลตรวจในแบบที่คุณสบายใจมากที่สุด

การรักษาโรคซิฟิลิสตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกนั้นง่ายกว่ามาก ทำได้โดยการรับประทาน  หรือฉีดยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลลิน ซึ่งสามารถใช้ในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อซิฟิลิสได้ แต่หลังจากคลอดแล้วทารกจะยังคงต้องได้รับยาปฏิชีวนะด้วย 

ส่วนผู้ที่ติดเชื้อมาระยะหนึ่งแล้วนั้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่นานกว่า และหากติดเชื้อในระยะสุดท้ายก็จะไม่สามารถรักษาได้ เนื่องจากเชื้อได้ทำลายระบบการทำงานภายในร่างกายไปมากแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อในระยะสุดท้ายก็ยังจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อทำลายอวัยวะต่างๆ เพิ่มขึ้นอีก 

การป้องกันโรคซิฟิลิส

วิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุด คือ การงดมีเพศสัมพันธ์ แต่หากคุณเลือกที่จะมีเพศสัมพันธ์ คุณจำเป็นต้องป้องกันตัวเองด้วยการใช้ถุงยางอนามัย และพยายามไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติด เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยง 

ทั้งนี้แม้การใช้ถุงยางอนามัยจะสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แต่หากพบว่ามีแผลหรือผื่นเกิดขึ้นบริเวณอื่นนอกเหนือจากบริเวณที่สวมถุงยางอนามัยก็จะต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ไปก่อน จนกว่าคุณหรือคู่ของคุณจะได้รับการรักษาเสร็จสิ้นแล้ว

จะแน่ใจได้อย่างไรว่าไม่ได้แพร่เชื้อซิฟิลิสให้คนอื่น?

หากพบว่า คุณมีเชื้อซิฟิลิส โปรดอย่าตกใจเพราะซิฟิลิสสามารถได้รับการรักษาให้หายขาดได้โดยง่าย นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ควรทราบเพื่อทำให้แน่ใจว่า คุณไม่ได้แพร่เชื้อให้คนอื่น ดังนี้

  • บอกคู่นอนในอดีตและปัจจุบันของว่า คุณมีเชื้อซิฟิลิส เพื่อพวกเขาจะได้เข้ารับการตรวจและรักษาด้วย
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับใครจนกว่าจะได้รับการรักษาซิฟิลิสให้หายขาดและแผลซิฟิลิสของคุณหายสนิทแล้ว
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และใช้สารเสพติด เพราะจะเพิ่มการมีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงได้
  • คู่นอนของคุณควรได้รับการรักษาก่อนที่กลับไปมีเพศสัมพันธ์กับใครอีกเช่นกัน
  • เมื่อรักษาซิฟิลิสหายขาดแล้ว แล้วเริ่มกลับมามีเพศสัมพันธ์อีกครั้ง ให้ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะการใช้ถุงยางอนามัยแบบถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซิฟิลิส เริม และแผลริมอ่อนได้
  • ซิฟิลิสไม่สามารถป้องกันได้โดยการล้างอวัยวะเพศ ปัสสาวะ หรือสวนล้างช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์

การบอกว่า คุณมีเชื้อซิฟิลิสนั้นแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดี แต่คุณต้องทำความเข้าใจว่า ซิฟิลิสเป็นโรคที่พบได้บ่อยและสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยง่าย ดังนั้นอย่าอาย หรือเครียดเกินไปกับเรื่องนี้ 

หากไม่มั่นใจว่าตนเองติดเชื้อหรือไม่ หรือหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคแล้วคิดว่า ตนเองมีอาการคล้ายๆ โรคซิฟิลิส แนะนำให้เข้ารับการตรวจและรับการรักษาจากแพทย์โดยตรง 

ไม่แนะนำให้ซื้อยารับประทานเอง เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและรับการรักษาที่เหมาะสมด้วย คุณก็จะได้โล่งอก และดำเนินชีวิตต่อไปได้ 

ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Johnson, S. Healthline (2017). Syphilis. (https://www.healthline.com/health/std/syphilis)
Mayo Clinic (2019). Diseases and Conditions. Syphilis. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/syphilis/symptoms-causes/syc-20351756)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รายชื่อโรคติดต่อ
รายชื่อโรคติดต่อ

ค้นหารายชื่อโรคติดต่อได้ง่ายๆ ในลิ้งค์เดียว ไม่ต้องนั่งหาทีละโรค พร้อมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคติดต่อ รวมมาตอบไว้แล้วที่นี่

อ่านเพิ่ม
โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้
โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้

ตอบชัดเจน คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคเอดส์ เชื้อ HIV ติดได้อย่างไร ทำแบบไหนติดบ้าง และจะป้องกันอย่างไร?

อ่านเพิ่ม