ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 18 มี.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
  • อาการปวดหลังส่วนล่าง เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรค หรือควาเสื่อมของโครงกระดูกสันหลัง จนทำให้เกิดอาการปวดร้าวที่หลัง ลามไปถึงขา หรือทำให้ขาชาได้
  • ในระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเป็นครั้งคราว หรือแค่เวลายกของหนักเท่านั้น แต่ต่อมาอาการป่วยก็จะบ่อย และเป็นเรื้อรังมากขึ้น โดยเฉพาะขณะยืน นั่งนานๆ หรือทำกิจกรรมที่ทำให้หลังแอ่น
  • การตรวจหาอาการปวดหลังชนิดนี้ อาจเป็นการคลำบริเวณที่กดเจ็บ การกดรากประสาท ตรวจหากล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง การถ่ายเอกซเรย์
  • มีวิธีการรักษาที่หลากหลายมากสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่าง ทั้งการรับประทานยา การประคบร้อนเย็น การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ การผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยต้องฝึกหัดเดินด้วยเครื่องช่วยเดิน ฝึกบริหารกล้ามเนื้อ การขึ้นลงเตียง เพื่อฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัดด้วย
  • เพื่อความมั่นใจในสุขภาพกระดูก และกล้ามเนื้อ คุณควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ วัดมวลกระดูก และปรึกษาแพทย์หากมีอาการเจ็บ หรือปวดกล้ามเนื้อบริเวณใดก็ตาม (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

อาการปวดหลังส่วนล่าง เป็นอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นบริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงสร้างกระดูกสันหลังส่วนเอว และบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ

สาเหตุอาการปวดหลังส่วนล่าง

อาการปวดหลังส่วนล่างเกิดจากพยาธิสภาพ (การเปลี่ยนแปลงในร่างกายเมื่อเกิดโรค) บริเวณใดบริเวณหนึ่งของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ที่มีสาเหตุทำให้เกิดได้หลากหลาย เช่น โรคกระดูกพรุนหรือกระดูกโปร่งบาง การเสื่อมของกระดูกสันหลัง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ซึ่งผลที่ตามมาจากสาเหตุเหล่านี้ ก็คือ หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน แนวของกระดูกสันหลังผิดไป โพรงกระดูกสันหลังแคบ และกระดูกสันหลังเคลื่อน ทำให้เกิดอาการปวดหลัง และปวดร้าวลงมาที่ขา

นอกจากนี้ ผู้ปวดหลังส่วนล่างที่เป็นผู้สูงอายุยังอาจมีประสบการณ์ปวดหลังร่วมกับกระดูกสันหลังพรุน และกระดูกแตก หรือจากการแพร่กระจายมะเร็งมาที่กระดูก ไตผิดปกติ หรือมีปัญหาของกระดูกเชิงกรานร่วมด้วย

พยาธิสรีรภาพ (การเปลี่ยนแปลงของสรีระร่างกายในขณะเกิดโรค)

การปวดหลังส่วนล่าง มักเกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง พบได้ในผู้ที่มีอายุ 30-50 ปี ผ่านการเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของโปรตีนโอไกลแคน ในส่วนประกอบของหมอนรองกระดูกบริเวณส่วนกลาง ทำให้ประสิทธิภาพในการอุ้มน้ำหนักไว้ของกระดูกบริเวณนั้นลดลง

หลังจากนั้น เมื่อความสามารถการอุ้มน้ำหนักมีลดน้อยลง จึงส่งผลให้กลไกแบบไฮดรอลิกของหมอนรองกระดูกสันหลังเสีย จึงเกิดแรงกดต่อเนื้อเยื่อรอบนอกของหมอนรองกระดูก และทำให้กระดูกเกิดรอยราวขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อมีแรงกดต่อเนื้อเยื่อรอบนอกมากขึ้น จึงทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเกิดการฉีกขาด หรือเคลื่อนที่ ซึ่งหากเคลื่อนไปกดเส้นประสาท ก็จะทำให้มีอาการชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง

หลังจากนั้น เมื่อระยะเวลาผ่านไป เมื่อผู้ป่วยเริ่มอายุมากขึ้น เอ็นที่อยู่รอบกระดูกสันหลังก็จะเสื่อม ความยืดหยุ่นจึงเสีย ร่างกายก็จะพยายามซ่อมแซมภาวะเสื่อมนี้ โดยการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้นบริเวณรอบๆ ของตัวกระดูกสันหลัง เรียกว่า "ออสตีโอไฟท์ (Osteophyte)" เพื่อช่วยให้ข้อมีความมั่นคงขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่ถึงข้อกระดูกจะมีความมั่นคงขึ้น ก็ยังมีผลกระทบตามมา คือ ทำให้โพรงกระดูกสันหลังแคบ หลอดเลือด และเส้นประสาทบริเวณนั้นถูกบีบ ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยง

และจากผลกระทบดังกล่าว ทำให้เมื่อใดที่ผู้ป่วยอยู่ในท่าหลังแอ่น ก็จะทำให้มีช่องตีบมากขึ้น จนเกิดอาการปวดหลัง และขาชาทั้ง 2 ข้างเวลาเดิน หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม 

เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมแล้ว จึงเกิดการเคลื่อนที่ของปล้องกระดูกสันหลัง โดยอันบนจะเหลื่อมออกไปจากปล้องกระดูกสันหลังอันล่าง ซึ่งมักเคลื่อนไปด้านหลัง โดยจะเห็นชัดในท่าแอ่นหลัง แต่อาจเคลื่อนมาทางด้านหน้าซึ่งจะเห็นชัดในท่างอหลัง

การเคลื่อนของกระดูกสันหลังมักพบบริเวณระดับ L4-5 และอาจเคลื่อนกดทับรากประสาท ทำให้มีอาการปวด และชา 

ส่วนอาการปวดหลังส่วนล่าจากกระดูกสันหลังเสื่อมนั้น มีสาเหตุจากเนื้อเยื่อที่ไวต่ออาการปวด เช่น เยื่อดูรา เส้นประสาท เยื่อหุ้มข้อ เยื่อบุข้อ ซึ่งเมื่อเนื้อเยื่อเหล่านี้ถูกยืดออกมากเกินไป หรือมีการอักเสบ หรือระคายเคือง ก็จะก่อให้เกิดอาการปวดได้

อาการ

ในระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เวลายกของหนักอาจมีอาการปวดร้าวไปที่ด้านหลัง ต้นขาถึงขาพับ แต่จะไม่ลงต่ำไปกว่าระดับเข่า และอาการปวดจะลดลงเมื่อได้นอนพัก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ต่อมาอาการปวดบ่อยมากขึ้น และเป็นเรื้อรัง มักเกิดภายหลังการยืน เดิน นั่งนานๆ หรือทำกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้หลังแอ่น อาจมีอาการปวดเมื่อเส้นประสาทถูกบีบรัดจากช่องสันหลังที่ตีบแคบลง ทำให้มีอาการปวด และชาที่ขา

การวินิจฉัยโรค

  • มีประวัติปวดหลัง และปวดร้าวไปที่สะโพก โคนขา หรือด้านหลังขา
  • ตรวจพบหลังแอ่นมากกว่าปกติบริเวณบั้นเอว (Lordosis)
  • คลำบริเวณหลังจะมีอาการกดเจ็บ
  • วัดความยาวของขาทั้งสองข้างมักจะไม่เท่ากัน
  • ทดสอบการกดรากประสาทด้วย Straight Leg Raising Test (SLRT) โดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียง แล้วผู้ตรวจค่อยๆ ยกขาผู้ป่วยขึ้นในท่าเข่าเหยียดออก
    หากผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงมาที่สะโพกหรือน่อง ในขณะที่งอสะโพกอยู่ระหว่าง 35-70 องศา อาจเกิดจากรากประสาทสันหลังระดับ L5 หรือ S1 ถูกกด บางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปที่ขาตามแนวเส้นประสาทไซอะติก (Sciatic nerve)
  • ตรวจพบการสูญเสียความรู้สึกบริเวณต่างๆ
  • ตรวจพบกล้ามเนื้อขาไม่แข็งแรงทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง
  • การตรวจอื่นๆ เช่น การถ่ายเอกซเรย์ (Plain X-ray) การตรวจคลื่นแม่เหล็ก (Magnetic resonance imaging: MRI) ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography scan: CT scan) และการถ่ายภาพฉีดสารทึบรังสีของไขสันหลัง (Myelography)

การรักษา

  • ให้ผู้ป่วยนอนพักบนเตียงในท่านอนหงาย ใช้หมอนหนุนบริเวณใต้เข่าเพื่อช่วยให้ข้อเข่า และสะโพกงอเล็กน้อย หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการปวด โดยค่อยๆ เพิ่มการเคลื่อนไหวจนสู่ภาวะปกติ
  • ให้ยาบรรเทาอาการปวด เช่น Acetaminophen (Tylenol
  • ให้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) เช่น Ibuprofen (Brufen) Diclofenac (Voltaren) Celecoxib (Celebrex)
  • คลายเครียด และผ่อนคลาย โดยให้ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือ Opioid (โอปิออยด์)
  • ประคบร้อนเย็นจะช่วยลดอาการได้เป็นครั้งคราว
  • การดึงถ่วงน้ำหนัก (Traction) ในรายที่มีหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
  • การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า (Transcutaneous electrical nerve stimulation: TENS) โดยการนวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลัง
  • การบริหารร่างกาย
  • การใช้กายอุปกรณ์พยุงหลัง (Lumbosacral support: LS support)
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อแก้ไขการกดทับรากประสาท

การพยาบาล

1. บรรเทาอาการปวดหลังโดยจัดให้นอนพักบนที่นอนที่แน่น ในท่านอนหงาย โดยใช้หมอนรองใต้เข่า ให้ข้อเข่า และสะโพกงอเล็กน้อย ส่วนในท่านอนตะแคง ใช้หมอนรองใต้ขาบน และใช้หมอนพยุงทางด้านหลังตามแนวความยาวของหลัง เวลาพลิกตะแคงตัวให้พลิกไปทั้งตัวไม่ให้หลังบิด

แนะนำท่าในการนอน ยืน และการยกของให้ถูกต้อง เช่น แนะนำให้ลุกจากที่นอนช้าๆ โดยนอนตะแคงก่อนแล้วใช้ข้อศอกยันพื้นเพื่อลุกขึ้น และลงนอนด้วยวิธีตะแคงตัวนอนลง หลีกเลี่ยงการใช้หลังก้มลงหยิบของ และไม่ยกของหนัก 

2. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาบรรเทาปวดตามแผนการรักษา และสังเกตผลข้างเคียงของยา หากพบต้องรายงานให้แพทย์ทราบ

3. สำหรับผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการผ่าตัด ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระดูกสันหลัง

4. ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัด ดังนี้

  • บริหารกล้ามเนื้อขาและข้อ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดส่วนล่างของร่างกาย โดยการกระดกข้อเท้าขึ้นลง แล้วหมุนข้อเท้าเข้าใน และออกนอก ทำทีละข้าง แล้วเกร็งกล้ามเนื้อต้นขา พลิกตัวแบบท่อนซุงด้วยตนเอง
  • สวมใส่อุปกรณ์พยุงหลังก่อนลุกจากเตียง โดยใส่เสื้อรองในท่านอนหงาย ชันเข่าขึ้นทั้งสองข้างแล้วยกสะโพก สอดเครื่องพยุงหลังเข้าใต้สะโพก ให้กึ่งกลางของเครื่องพยุงอยู่ตรงแนวของกระดูกสันหลัง โดยให้ขอบล่างอยู่ตรงก้นกบ ส่วนขอบบนสุดอยู่บริเวณกระดูกซี่โครง จัดให้เรียบร้อยกระชับพอดี
  • สำหรับการถอดเครื่องพยุงหลังให้ถอดบนเตียงในท่านอนหงาย
  • การลุกจากเตียงให้ลุกในท่านอนตะแคง ใช้ฝ่ามือ และข้อศอกยันตัวลุกนั่งบนเตียง เลื่อนตัวมานั่งขอบเตียง แกว่งขา 2 ข้างสลับกัน เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด 
  • การขึ้นบนเตียง ให้ขึ้นเตียงโดยนั่งบนเตียงก่อน แล้วเอนตัวลงบนเตียง ยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นบนเตียงในท่างอเข่า งอสะโพก เป็นท่านอนตะแคง
  • ฝึกหัดเดินโดยใช้เครื่องช่วยเดิน

5. ระวังการติดเชื้อแผลผ่าตัด เช่น ดูแลความสะอาดแผลผ่าตัด ไม่ให้แผลถูกกระทบกระเทือน ไม่ให้แผลโดนน้ำหรือเปียกชื้น

6. ระวังการเกิดอุบัติเหตุจากอาการหน้ามืดเป็นลมขณะเปลี่ยนท่า เช่น จากนั่งเป็นยืน ขณะหัดเดินด้วยเครื่องช่วยเดินต้องระวังสิ่งกีดขวางบนพื้น พื้นที่เดินจะต้องเรียบ ไม่เปียก ไม่ลื่น

7. ให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านในเรื่องต่างๆ เช่น การรับประทานยา การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน รักษาความสะอาดของร่างกาย ผ่อนคลายความเครียด

การดูแลรักษาหลังให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง 

  • การยืน ให้ยืนตัวตรง น้ำหนักลงที่ขาทั้ง 2 ข้าง ไม่ยืนหลังค่อม หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง ควรย่อเข่าเมื่อต้องยืนหรือเดินนานๆ ไม่สวมรองเท้าส้นสูง ควรนั่งเก้าอี้ที่สูงพอดี มีพนักพิงหลัง เมื่อนั่งแล้วเท้าทั้งสองข้างแตะพื้น นั่งตัวตรงพิงเก้าอี้ และไม่ควรนั่งนานๆ
  • การนอน ให้นอนท่านอนหงาย ใช้หมอนรองใต้คอถึงบริเวณไหล่ และใช้หมอนรองใต้เข่า ที่นอนควรแน่นแข็งไม่เป็นแอ่ง หรืออ่อนนุ่ม การลุกจากที่นอน ให้ลุกในท่านอนตะแคง
  • การหิ้วของหนัก ควรแบ่งหิ้ว 2 มือ และใช้การอุ้มของไว้บริเวณหน้าอกชิดลำตัว
  • การยกของ ควรหลีกเลี่ยงการก้มตัว โค้งตัว เพื่อก้มลงหยิบของ หลีกเลี่ยงการยกสิ่งของที่อยู่เหนือศีรษะมากๆ อย่าบิด หรือเอี้ยวตัว ขณะยกของหนัก เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้

นอกจากการดูแลตนเองให้ถูกต้อง ผู้ป่วยยังควรมาพบแพทย์ตามนัด และคอยสังเกตอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดหลังมากขึ้น มีอาการขาชามากขึ้น มีไข้ มีสารคัดหลั่งจากแผลผ่าตัด หรือแผลบวม 

หากมีสิ่งผิดปกติเหล่านี้ ก็ควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัด หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน ให้ติดต่อพยาบาลเพื่อขอคำปรึกษาทันที

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @HonestDocs และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

ที่มาของข้อมูล

Janelle Martel, What You Should Know About Low Back Pain (https://www.healthline.com/health/low-back-pain-acute), 31 July 2019.

Herniated disk (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/herniated-disk/symptoms-causes/syc-20354095), 26 September 2019.

Melinda Ratini, What Is Low Back Pain? (https://www.webmd.com/back-pai...), 11 December 2017.

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
โรคเกาต์ (Gout; Gouty arthritis)
โรคเกาต์ (Gout; Gouty arthritis)
บทความต่อไป
9. โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)
9. โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)