การปลูกถ่ายปอด

เผยแพร่ครั้งแรก 13 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 12 นาที
การปลูกถ่ายปอด

การปลูกถ่ายปอดเป็นหัตถกรรมเพื่อทดแทนปอดที่ป่วยด้วยปอดจากผู้บริจาคที่มีสุขภาพดีกว่า ผู้บริจาคปอดมักจะเป็นผู้ที่เสียชีวิตแล้ว แต่ในกรณีหายากบางครั้งก็อาจใช้ชิ้นส่วนปอดของผู้ที่มีชีวิตปลูกถ่ายเข้าไปแทน

เมื่อไรจึงต้องดำเนินการปลูกถ่ายปอด?

การปลูกถ่ายปอดจะถูกแนะนำแก่คนไข้เมื่อ:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • คนไข้ป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับปอดขั้นรุนแรงจนไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น
  • แพทย์คาดว่าคนไข้จะมีอายุขัยน้อยกว่า 2 หรือ 3 ปีหากไม่ทำการปลูกถ่ายปอด

ส่วนภาวะที่ต้องรักษาด้วยการปลูกถ่ายปอดมีดังนี้:

  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD): หมายถึงภาวะที่สร้างความเสียหายแก่ปอดแบบต่าง ๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่
  • ซิสติกไฟโบรซิส: ภาวะสืบทอดที่ทำให้ปอดและระบบย่อยอาหารเกิดการอุดตันด้วยเมือกเหนียวข้น
  • ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง: แรงดันในหลอดเลือดที่เชื่อมจากหัวใจไปสู่ปอดสูง
  • ภาวะพังผืดในปอดแบบที่ไม่ทราบสาเหตุ: เป็นภาวะเสียหายที่ปอด

ประเภทของการปลูกถ่ายปอด

การปลูกถ่ายปอดมีอยู่ 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้:

  • การปลูกถ่ายปอดแบบเดี่ยว: ที่ซึ่งปอดข้างที่เสียหายถูกนำออกจากผู้รับบริจาค และถูกใส่แทนด้วยปอดจากผู้ให้บริจาค มักใช้เพื่อการรักษาภาวะพังผืดในปอด แต่ไม่เหมาะสมกับผู้ที่เป็นโรคซิสติกไฟโบรซิสเนื่องจากการติดเชื้อในปอดที่คงอยู่สามารถลามเข้าไปในปอดที่ปลูกถ่ายได้
  • การปลูกถ่ายแบบคู่: ที่ซึ่งปอดทั้งสองข้างถูกนำออกมา และทดแทนด้วยปอดของผู้ให้บริจาคทั้งสองข้าง มักเป็นทางเลือกรักษาผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสหรือ COPD
  • การปลูกถ่ายปอดและหัวใจ: ที่ซึ่งแพทย์จะนำปอดทั้งสองข้างและหัวใจออกมาและแทนด้วยหัวใจและปอดใหม่จากผู้ให้บริจาค มักใช้กระบวนการนี้กับผู้ที่มีภาวะความดันหลอดเลือดในปอดสูงแบบรุนแรง

ความต้องการปอดสำหรับปลูกถ่ายมีจำนวนมากกว่าปอดที่ใช้ได้ ทำให้การดำเนินการปลูกถ่ายกับคนไข้แต่ละคนต้องผ่านการพิจารณาถึงโอกาสในความสำเร็จของการผ่าตัดเสียก่อน

ยกตัวอย่างเช่น การปลูกถ่ายปอดจะไม่แนะนำให้กับผู้ที่เป็นมะเร็งปอด เนื่องจากเนื้อร้ายอาจลามเข้าไปในปอดข้างที่ได้รับบริจาคมาได้ และจะไม่พิจารณาดำเนินการกับผู้ที่สูบบุหรี่ เป็นต้น

ผู้ให้บริจาคที่ยังมีชีวิต

บุคคลที่ยังมีชีวิตสามารถเป็นผู้บริจาคปอดได้เช่นกัน (ต้องใช้ผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต 2 คนให้กับผู้รับบริจาค 1 คน) แม้ว่ากรณีเช่นนี้จะหายากมากก็ตาม

ระหว่างการปลูกถ่ายปอดประเภทนี้ กลีบล่างของปอดขวาจะถูกนำออกจากร่างกายผู้ให้บริจาคคนแรก และจะมีการนำกลีบด้านล่างของปอดซ้ายมาจากผู้ให้บริจาคอีกคน ปอดทั้งสองข้างของผู้รับบริจาคจะถูกนำออกมาก่อนปลูกถ่ายด้วยปอดจากผู้บริจาคทั้งสอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้คนส่วนมากที่ได้รับการปลูกถ่ายปอดจากผู้ให้ที่ยังมีชีวิตจะเป็นโรคซิสติกไฟโบรซิส และมีผู้ให้บริจาคเป็นญาติใกล้เคียง เนื่องจากผู้ให้และผู้รับต้องมีความเข้ากันทั้งขนาดของปอดและกรุ๊ปเลือดเดียวกัน

การเตรียมการ

ก่อนที่ชื่อของคุณจะถูกจับใส่ในรายชื่อผู้ต้องเข้ารับการปลูกถ่าย คุณจะต้องผ่านการทดสอบอวัยวะหลักต่าง ๆ อย่างหัวใจ ไต และตับเพื่อให้แพทย์มั่นใจว่าอวัยวะสำคัญเหล่านี้จะยังคงทำงานได้อย่างปกติหลังการผ่าตัด

คุณอาจต้องทำการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตของคุณเสียใหม่ อย่างการเลิกสูบบุหรี่ ลดน้ำหนัก (หากน้ำหนักเกิน) เพื่อให้ร่างกายของคุณสุขภาพดีพร้อมรับการผ่าตัดที่สุด

กระบวนการปลูกถ่ายปอด

การปลูกถ่ายปอดมักดำเนินการโดยใช้เวลาประมาณ 4 หรือ 12 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของกระบวนการ เริ่มจากแพทย์จะกรีดผิวหนังหน้าอกของคุณไปยังปอดที่เสียหายเพื่อทำการนำออกมา อาจมีการใช้เครื่องบายพาสหัวใจและปอดเพื่อทำให้เลือดในร่างกายของคุณไหลเวียนต่อไป (บางกรณีอาจไม่จำเป็น) ปอดที่ได้รับมาจะถูกเชื่อมเข้ากับหลอดลมและหลอดเลือดต่าง ๆ ก่อนที่แพทย์จะปิดช่องเปิดที่หน้าอกของคุณ หัตถการปลูกถ่ายปอดเป็นการผ่าตัดขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เวลาฟื้นร่างกายอย่างน้อย 3 เดือน และอาจใช้เวลานานกว่าที่คุณจะสามารถกลับไปทำงานได้

ความเสี่ยง

การปลูกถ่ายปอดเป็นกระบวนการผ่าตัดที่ซับซ้อนที่มีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง ความเสี่ยงที่พบได้บ่อยคือการที่ร่างกายปฏิเสธอวัยวะใหม่ ซึ่งการใช้ยากดภูมิคุ้มกันจะสามารถช่วยกดผลกระทบนี้ได้ แต่จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อขึ้น

ภาพรวม

ภาพรวมของผู้ที่ผ่านการปลูกถ่ายปอดได้เพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คาดการณ์กันว่ามีผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายปอดประมาณ 9 ใน 10 คนที่รอดชีวิตมาจากการปลูกถ่าย โดยส่วนมากจะรอดชีวิตต่อไปอย่างน้อยหนึ่งปีหลังการผ่าตัด

ประมาณ 5 ใน 10 คนจะรอดอย่างน้อย 5 ปีหลังการปลูกถ่ายปอด และอีกหลาย ๆ คนจะรอดชีวิตไปได้อีกอย่างน้อย 10 ปี อีกทั้งยังมีรายงานว่าบางคนสามารถใช้ชีวิตต่อไปนานถึง 20 ปีเลยทีเดียว

แม้ว่าภาวะแทรกซ้อนจะสามารถเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ แต่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงหนึ่งปีแรกหลังการผ่าตัด

การเตรียมความพร้อม

หากคุณต้องเข้ารับการปลูกถ่ายปอด คุณจะถูกส่งตัวไปรับการประเมินก่อนการปลูกถ่าย

การประเมินปลูกถ่าย

คุณต้องพักที่โรงพยาบาลเป็นเวลามากถึง 3 วันเพื่อรับการประเมินก่อนการปลูกถ่ายปอด การทดสอบจะดำเนินการเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของอวัยวะสำคัญต่าง ๆ อย่างตับ ไต และหัวใจ โดยอาจมีการตรวจเลือดและการตรวจประเด็นอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้:

  • การเอกซเรย์ทรวงอก
  • การทำเอคโคคาร์ดิโอแกรม: เพื่อตรวจการสูบฉีดเลือดที่หัวใจ
  • การทำอีเล็กโทรคาร์ดิโอแกรม (ECG): เพื่อบันทึกกิจกรรมไฟฟ้าของหัวใจคุณ
  • การบันทึกภาพหลอดเลือด: เป็นการเอกซเรย์อีกประเภทเพื่อตรวจการไหลเวียนโลหิตที่ปอดของคุณ

ระหว่างการประเมิน คุณจะได้พบสมาชิกทีมรักษาปลูกถ่าย ซึ่งประกอบไปด้วย:

  • ศัลยแพทย์
  • วิสัญญีแพทย์
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลหลังผ่าตัด
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านปอด
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดเชื้อ
  • พยาบาลปลูกถ่าย
  • นักกายภาพบำบัด
  • นักจิตวิทยา
  • นักสังคมสงเคราะห์
  • ผู้ประสานงานปลูกถ่าย

ผู้ประสานงานปลูกถ่ายจะเป็นบุคคลหลักที่คุณใช้ติดต่อหา พวกเขาจะพูดคุยกับคุณและครอบครัวถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกถ่ายปอด

หลังการประเมินเสร็จสิ้น การตัดสินใจสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการดำเนินงานกับตัวของคุณเอง

โดยทีมแพทย์อาจตัดสินใจว่า:

คุณอยู่ในกลุ่มสำรองรายชื่อ: ซึ่งคุณสามารถถูกเรียกให้เข้ารับการปลูกถ่ายเมื่อไรก็ได้ การปลูกถ่ายเหมาะสมกับกรณีของคุณ แต่ภาวะที่คุณเป็น ณ ตอนนี้ยังไม่ร้ายแรงมากนัก: คุณจะถูกตรวจสภาพร่างกายอีกเป็นระยะ และหากพบว่าอาการของคุณแย่ลง คุณอาจถูกจัดให้อยู่ในรายชื่อสำรอง

คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจสอบหรือการรักษาอื่น ๆ ก่อนการตัดสินใจ การปลูกถ่ายปอดไม่เหมาะสมกับคุณ: โดยทางทีมรักษาจะมาอธิบายเหตุผลกับคุณเอง พร้อมกับเสนอแนวทางรักษาอื่น ๆ อย่างการใช้ยาหรือการผ่าตัดประเภทอื่น คุณต้องได้รับความคิดเห็นจากศูนย์ปลูกถ่ายอื่น ๆ อีก

เหตุใดการปลูกถ่ายปอดจึงไม่เหมาะสม?

เนื่องจากจำนวนผู้ให้บริจาคปอดมีจำกัด ทำให้ต้องมีการคัดกรองอย่างละเอียดก่อนการปลูกถ่ายในแต่ละครั้ง ผู้ที่มีความเสี่ยงที่การปลูกถ่ายจะไม่ประสบผลสำเร็จจะไม่ถูกพิจารณาให้เข้ารับการปลูกถ่าย โดยอาจเนื่องมาจากเหตุผลต่อไปนี้:

คุณไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำก่อนหน้า: ยกตัวอย่างเช่น หากคุณไม่ยอมเลิกบุหรี่ มีประวัติการใช้ยาที่ไม่ดีมาก่อน หรือขาดการเข้าพบแพทย์ตามนัด อวัยวะอื่นของคุณ อย่างเช่นตับ หัวใจ หรือไต ทำงานไม่ดีพอซึ่งมีความเสี่ยงที่อวัยวะเหล่านี้จะล้มเหลวหลังการปลูกถ่ายได้ โรคของปอดของคุณลุกลามมากเกินไปจนทำให้ร่างกายของคุณอ่อนแอเกินกว่าจะรับมือกับการผ่าตัด คุณมีประวัติเป็นมะเร็ง: เนื่องจากมีโอกาสที่มะเร็งจะลุกลามไปยังปอดที่ปลูกถ่ายเข้าไป อาจมีการยกเว้นมะเร็งบางประเภทอย่างมะเร็งผิวหนังที่มีโอกาสลุกลามต่ำมาก คุณมีการติดเชื้อที่อาจทำให้การปลูกถ่ายเป็นอันตราย คุณมีปัญหาทางจิตหรือปัญหาทางสังคมอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการรักษาหลังการปลูกถ่าย อย่างเช่นติดยาเสพติด หรือมีปัญหาสุขภาพจิตร้ายแรง เป็นต้น

ค่าน้ำหนักมวลกาย (BMI) ของคุณต่ำกว่ามาตรฐานอย่างมากหรือน้อยกว่า 16 หรือมีน้ำหนักมากเกินหรือมีค่า BMI มากกว่า 30

อายุเองก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน เพราะว่าอายุที่มากขึ้นจะแปรผกผันกับอัตราการรอดชีวิต แม้ว่าจะมีกฎเกณฑ์ระบุไว้ชัดเจนแต่ก็อาจมีข้อยกเว้นบ้าง:

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีอาจไม่เหมาะสมกับการปลูกถ่ายปอดและหัวใจ
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีอาจไม่เหมาะสมกับการปลูกถ่ายปอดแบบคู่หรือแบบเดี่ยว (แต่มักอนุญาตให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีที่สุขภาพดีเข้ารับการปลุกถ่ายปอดแบบเดี่ยวได้)

การสำรองชื่อ

เมื่อคุณถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสำรองชื่อ ศูนย์ปลูกถ่ายสามารถติดต่อให้คุณเข้ารับการปลูกถ่ายเมื่อไรก็ได้อย่างกะทันหัน

ระยะเวลาการรอจะขึ้นอยู่กับกรุ๊ปเลือด ผู้บริจาคที่มี และจำนวนผู้ที่อยู่ในรายชื่อสำรอง (และความฉุกเฉินของพวกเขา)

ขณะที่คุณกำลังรอคอย คุณจะถูกดูแลโดยแพทย์ผู้ส่งตัวคุณไปยังศูนย์ปลูกถ่าย โดยพวกเขาจะคอยส่งข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพของคุณให้แก่ศูนย์ตลอด และอาจมีการประเมินดูความเหมาะสมของคุณอีกครั้งก็ได้

ทีมปลูกถ่ายมักจะแจ้งกลับมายังคุณเมื่อมีอวัยวะปลูกถ่ายเข้ามาอย่างกะทันหัน คุณต้องเดินทางไปยังศูนย์ให้เร็วที่สุด เมื่อมีอวัยวะที่สามารถใช้ได้ คุณจะต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อมรับการปลูกถ่ายภายใน 6 ถึง 8 ชั่วโมง หากคุณอาศัยอยู่ห่างจากศูนย์ปลูกถ่าย คุณจะถูกส่งตัวขึ้นรถพยาบาลหรือบินมายังศูนย์แทน

การติดต่อกลับ

เมื่อมีปอดที่สามารถใช้ได้เข้ามา ทางศูนย์ปลูกถ่ายจะติดต่อให้คุณมายังศูนย์ทันที

เมื่อคุณได้รับการติดต่อจากศูนย์ ให้:

  • งดการดื่มหรือรับประทานอาหารทุกประเภท
  • นำยาที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบันไปกับคุณ
  • ฉวยกระเป๋าเสื้อผ้าและของใช้จำเป็นที่เตรียมไว้ล่วงหน้าไปยังโรงพยาบาลด้วย

เมื่อมาถึงศูนย์ปลูกถ่าย คุณจะถูกประเมินร่างกายก่อนเพื่อให้แพทย์มั่นใจว่าคุณไม่มีภาวะใด ๆ ใหม่เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน ทีมแพทย์ที่สองจะคอยตรวจสอบปอดของผู้ให้บริจาคไปด้วย

การปลูกถ่ายจะดำเนินขึ้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้การปลูกถ่ายมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากที่สุด

การผ่าตัด

การปลูกถ่ายปอดมักดำเนินการโดยใช้เวลาประมาณ 4 และ 12 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของการผ่าตัด หลังจากที่คุณได้รับยาสลบแล้ว ท่อหายใจจะถูกสอดลงคอของคุณเพื่อให้ปอดของคุณทำงานไปเรื่อย ๆ ศัลยแพทย์จะกรีดเปิดหน้าอกของคุณและเตรียมการนำปอดที่ไม่ดีออกมา หากจำต้องมีการช่วยเหลือในการไหลเวียนเลือด แพทย์จะใช้เครื่องบายพาสหัวใจและปอดกับคุณ ปอดเก่าจะถูกนำออกก่อนที่แพทย์จะเย็บปอดใหม่เข้าแทนที่ เมื่อทีมปลูกถ่ายมั่นใจว่าปอดใหม่จะสามารถทำงานได้อย่างดี หน้าอกของคุณจะถูกเย็บปิดก่อนปิดเครื่องบายพาสหัวใจลง หน้าอกของคุณจะยังคงมีท่อต่าง ๆ ติดคาอยู่หลายวันเพื่อทำการดูดของเหลวและเลือดที่คั่งอยู่ภายในออก คุณจะถูกส่งตัวไปห้อง ICU เพื่อติดท่อต่าง ๆ ที่จำเป็นเข้าตัวคุณ ตั้งแต่ท่อใส่ยาและของเหลวเข้าร่างกาย ไปจนถึงท่อดูดปัสสาวะออก

เทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่

มีการผ่าตัดแบบใหม่ที่ถูกคิดค้นมาเพื่อเพิ่มจำนวนของผู้บริจาคปอดให้มากขึ้น ดังนี้:

การปลูกถ่ายด้วยบริจาคอวัยวะหลังหัวใจหยุดเต้น

การบริจาคส่วนมากมักมาจากผู้ที่เพิ่งเสียชีวิตแต่ยังคงมีการใช้เครื่องยื้อชีวิตให้หัวใจเต้นอยู่ ซึ่งมักเป็นผู้ที่เสียชีวิตจากอาการป่วยที่เป็นมานาน

วิทยาการแพทย์ ณ ตอนนี้สามารถดำเนินการบริจาคปอดจากผู้ที่หัวใจหยุดเต้นไปแล้ว โดยที่แพทย์จะคงสภาพปอดให้ “มีชีวิต” อยู่ด้วยการป้อนออกซิเจนให้ไหลเวียนเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง ออกซิเจนจะทำให้กระบวนการทางชีวภาพของปอดดำเนินต่อไป ทำให้ปอดยังคงมีสภาพดีอยู่แม้จะออกจากร่างกายแล้ว

การกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในปอดนอกร่างกาย

ปอดมักจะเสียหายทันทีที่สมองตายก่อนที่จะถูกนำออกมาจากร่างกายไปใช้ในการบริจาคอวัยวะ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีปอดเหลือเพียงหนึ่งในห้าที่สามารถใช้ปลูกถ่ายได้

การทำการไหลเวียนเลือดในปอดนอกร่างกายคือเทคนิคที่ช่วยก้าวข้ามปัญหานี้ โดยเป็นการนำปอดทั้งสองข้างออกจากร่างและติดอุปกรณ์สายกำซาบเข้ากับปอดนั้น เลือด โปรตีน และสารอาหารจะถูกสูบฉีดเข้าปอด ซึ่งไปช่วยซ่อมแซมความเสียหายต่าง ๆ เทคนิคนี้ยังคงใหม่อยู่มาก แต่ก็คาดหวังกันว่ามันจะช่วยเพิ่มจำนวนปอดที่สามารถใช้ในการบริจาคได้

ความเสี่ยง

การปลูกถ่ายปอดเป็นหัตถกรรมที่ซับซ้อนและมีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง ภาวะบางอย่างเกี่ยวข้องกับกระบวนการเอง ส่วนที่เหลือก็อาจเป็นผลมาจากการใช้ยากดภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันปฏิกิริยาปฏิเสธอวัยวะใหม่ของร่างกาย

โดยมีตัวอย่างภาวะแทรกซ้อนดังนี้:

การตอบสนองต่อการปลูกถ่าย

การตอบสนองหลังการปลูกถ่ายเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยจะเกิดกับผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายปอด แทบทุกคน เกิดมาจากผลของการผ่าตัดและการติดขัดของเลือดที่ไหลไปเลี้ยงปอดใหม่จนทำให้ในปอดเต็มไปด้วยของเหลว

อาการของภาวะนี้มีดังนี้:

อาการต่าง ๆ มักจะเลวร้ายมากในช่วง 5 วันหลังการผ่าตัด โดยจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง และผู้คนส่วนมากจะหายจากอาการเหล่านี้โดยสนิทเมื่อวันที่ 10 หลังการปลูกถ่าย

การปฏิเสธ

การปฏิเสธอวัยวะเป็นปฏิกิริยาปกติของร่างกาย ที่ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันมองอวัยวะปลูกถ่ายว่าเป็นภัยและเริ่มสร้างแอนติบอดีเข้าโจมตี ซึ่งอาจส่งผลให้อวัยวะใหม่หยุดทำงานได้ ผู้คนส่วนมากจะประสบกับภาวะร่างกายปฏิเสธนี้ระหว่างช่วง 3 เดือนแรกหลังการปลูกถ่าย

อาการหายใจลำบาก เหนื่อยล้า และไอแห้งเป็นอาการของภาวะปฏิเสธ แต่หากมีอาการเหล่านี้แบบไม่รุนแรงก็อาจไม่ได้เป็นผลมาจากภาวะแทรกซ้อนนี้ก็ได้

การปฏิเสธอวัยวะอย่างเฉียบพลันมักรักษาได้ด้วยการใช้ยาสเตียรอยด์

Bronchiolitis obliterans syndrome

Bronchiolitis obliterans syndrome (BOS) เป็นปฏิกิริยาปฏิเสธอวัยวะใหม่อีกประเภทที่มักเกิดในช่วงหนึ่งปีแรกหลังการปลูกถ่ายปอด แต่ก็มีโอกาสจะเป็นหลังจากนั้นอีก 10 ปีได้ด้วย

สาเหตุคือระบบภูมิต้านทานของร่างกายไปทำให้หลอดลมในปอดเกิดการอักเสบจนไปขวางกั้นการไหลเวียนออกซิเจน

อาการมีดังนี้:

  • หายใจลำบาก
  • ไอแห้ง
  • มีเสียงวี้ดแหลมสูงขณะหายใจ

ภาวะ BOS สามารถรักษาได้ด้วยการเพิ่มโดสยากดภูมิคุ้มกัน

ความผิดปรกติของปริมาณเม็ดเลือดขาวหลังการปลูกถ่ายอวัยวะ

หลังการปลูกถ่ายปอด คุณอาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (มักไม่ใช่ชนิดฮอกกิน) เพิ่มขึ้น ซึ่งเรียกกันว่าเป็นความผิดปรกติของปริมาณเม็ดเลือดขาวหลังการปลูกถ่ายอวัยวะ (PTLD)

PTLD เกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อไวรัส (มักเป็นไวรัส Epstein-Barr) ที่มาจากการใช้ยากดภูมิคุ้มกันเอง

PTLD จะปรากฏกับผู้ป่วยที่ผ่านการปลูกถ่ายอวัยวะ 1 จาก 20 คน ส่วนมากเกิดขึ้นในช่วงหนึ่งปีแรกหลังการปลูกถ่าย โดยสามารถรักษาได้ด้วยการลดหรืองดการบำบัดกดภูมิคุ้มกัน

การติดเชื้อ

ผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายปอดมาจะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเพิ่มขึ้นกว่าปกติ เนื่องมาจากหลายสาเหตุอย่างเช่น:

  • การใช้ยากดภูมิคุ้มกันที่ไปทำให้ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอลง ทำให้อาจมีการติดเชื้อจากกระบวนการผ่าตัดง่ายขึ้น
  • ผู้ที่มีอาการไอหลังการผ่าตัดบางอย่างที่ไม่อาจขจัดมูกใสออกจากปอดได้ จึงกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อภายในไปเอง
  • การผ่าตัดสามารถส่งผลต่อระบบน้ำเหลืองได้ ทำให้ลดการป้องกันการติดเชื้อลง
  • ผู้ที่ดื้อยาปฏิชีวนะมากกว่าหนึ่งตัว โดยมักเกิดกับผู้ที่เป็นโรคซิสติกไฟโบรซิส

การติดเชื้อที่พบเห็นได้บ่อยหลังการปลูกถ่ายมีดังนี้:

  • ปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส
  • การติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (CMV)
  • แอสเปอร์จิลลัส ซึ่งเป็นการติดเชื้อจากสปอร์

การใช้ยากดภูมิต้านทานระยะยาว

หลังการปลูกถ่ายปอด คุณต้องรับประทานยากดภูมิต้านทานอย่างสม่ำเสมอแม้ว่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะนำมาซึ่งภาวะสุขภาพอื่น ๆ ก็ตาม

โดยอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นภาวะเหล่านี้:

โรคไต

โรคไตเป็นภาวะแทรกซ้อนระยะยาวหลังการปลูกถ่าย โดยคาดการณ์ว่ามีผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายปอด 1 ใน 4 คนที่เป็นโรคไตภายในหนึ่งปี

และเกือบ 1 ใน 14 คนจะประสบกับภาวะไตล้มเหลวภายในหนึ่งปีหลังการปลูกถ่าย ซึ่งเพิ่มเป็น 1 ใน 10 คนเมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี

เบาหวาน

มักจะเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 โดยเกิดขึ้นราว ๆ 1 ใน 4 คนภายในเวลาหนึ่งปีหลังการปลูกถ่ายปอด

เบาหวานสามารถรักษาได้ด้วย:

การเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิต อย่างการออกกำลังกายเป็นประจำ

การใช้ยา อย่างการฉีดอินซูลินหรือเมทฟอร์มิน

ความดันโลหิตสูง

ผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายปอดเกือบครั้งของจำนวนผู้ป่วยต่อปีจะประสบกับภาวะความดันโลหิตสูง และจะเกิดกับผู้ป่วย 8 ใน 10 คนหลังจากนั้น 5 ปี

ความดันเลือดสูงนี้เกิดจากผลข้างเคียงของยากดภูมิต้านทานหรือเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคไต

เช่นเดียวกับเบาหวาน ความดันเลือดสูงสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนมักเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยากดภูมิต้านทาน

ทางเลือกรักษากระดูกพรุนคือการรับประทานอาหารเสริมวิตามิน D (ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงแก่กระดูก) และยาบางประเภทอย่างยาบิสฟอสโฟเนตที่ช่วยคงสภาพความหนาแน่นของกระดูกไว้

มะเร็ง

ผู้ที่ผ่านการปลูกถ่ายปอดมาจากมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งบางประเภทในอนาคตเพิ่มขึ้น โดยอาจมีดังต่อไปนี้:

  • มะเร็งผิวหนัง
  • มะเร็งปอด
  • มะเร็งตับ
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอกด์กิน

ด้วยเหตุผลเช่นนี้ ทำให้ผู้ที่ผ่านการปลูกถ่ายต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งทุกครั้งตามคำแนะนำของแพทย์

การพักฟื้น

หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายปอด คุณจะยังคงต้องพักฟื้นในห้องผู้ป่วยฉุกเฉินไปประมาณ 1 ถึง 7 วัน คุณอาจจะได้รับยาชาเข้าบรรเทาอาการปวดและต้องสวมใส่หน้ากากออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจในระหว่างนี้

แพทย์จะคอยตรวจตราสอดส่องอาการของคุณอย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่าร่างกายของคุณตอบสนองอย่างไรกับอวัยวะใหม่ โดยจะมีการตรวจปอดด้วยเทคนิคเอกซเรย์ และการผ่าตัดชิ้นเนื้อปอดเพื่อดูอย่างใกล้ชิด

ทีมปลูกถ่ายจะสามารถบอกได้เมื่อคุณแสดงอาการของการปฏิเสธอวัยวะจากการตัดชิ้นเนื้อปอดไปตรวจ และหากพบภาวะดังกล่าว คุณจะถูกพาตัวไปรับการรักษาเพื่อแก้ไขภาวนะนี้ทันที เมื่อสภาพร่างกายของคุณคงที่แล้ว คุณจะถูกส่งไปห้องพัก HDU เพื่อพักรักษาตัวต่ออีก 1 หรือ 2 อาทิตย์

การนัดหมายติดตามผล

หลังจากผ่านไป 2-3 สัปดาห์ คุณอาจถูกปล่อยตัวออกจากโรงพยาบาลและต้องทำการพักอาศัยใกล้ศูนย์ปลูกถ่ายไว้เป็นเวลา 1 เดือนเพื่อเข้ารับการตรวจร่างกายเป็นระยะ

ในช่วงเดือนที่สอง คุณจะต้องเข้าตามนัดเป็นประจำทุกสัปดาห์ติดต่อไป 4 สัปดาห์ หลังจากนั้น คุณต้องคอยทำการตรวจเลือดทุก ๆ 6 อาทิตย์ และต้องไปยังศูนย์ปลูกถ่ายทุก ๆ 3 เดือนไปตลอดชีวิต

การกลับสู่สภาวะปกติ

การจะฟื้นร่างกายจากการปลูกถ่ายปอดอย่างสมบูรณ์ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ถึง 6 เดือน ในช่วง 6 อาทิตย์แรกหลังการผ่าตัด พยายามเลี่ยงการดัน ดึง หรือยกของหนักใด ๆ คุณอาจต้องเข้าโปรแกรมเวชกรรมฟื้นฟูเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อในช่วงนี้อีกด้วย

คุณจะสามารถกลับไปขับรถอีกครั้งภายหลังการปลูกถ่าย 4 ถึง 6 เดือน หรือเมื่อบาดแผลที่หน้าอกของคุณหายดีแล้ว

คุณสามารถกลับไปทำงานได้หลังจากการผ่าตัด 3 เดือน ขึ้นอยู่กับประเภทของงานที่คุณทำ

การบำบัดกดภูมิคุ้มกัน

คุณต้องได้รับยากดภูมิต้านทานที่ช่วยลดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลงเพื่อป้องกันการปฏิเสธอวัยวะ

โดยการบำบัดกดภูมิคุ้มกันมีอยู่ 2 ระยะ:

  • การบำบัดด้วยการฉีด: ที่ซึ่งคุณจะได้รับยากดภูมิคุ้มกันขนาดสูง ๆ หลังการผ่าตัดทันที เพื่อกดระบบภูมิคุ้มกันของคุณลง คุณจะได้รับยาปฏิชีวนะและยาป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ร่วมด้วย
  • การบำบัดคงสภาพ: ที่ซึ่งคุณจะได้รับยากดภูมิคุ้มกันขนาดน้อยลงเพื่อคงระดับภูมิต้านทานให้อ่อนอยู่เช่นนั้น

คุณต้องทำการบำบัดคงสภาพเช่นนี้ไปตลอดชีวิต

ศูนย์ปลูกถ่ายส่วนมากจะใช้ยากดภูมิคุ้มกันหลายตัวพร้อมกัน ดังนี้:

  • ทาโครลิมัส
  • ไมโคฟิโนเลต โมฟีทิล
  • คอร์ทิโคสเตียรอยด์

ข้อเสียของยากดภูมิคุ้มกันคือการก่อให้เกิดภาวะข้างเคียงหลายประการ อย่างเช่น:

โดยทางแพทย์จะพยายามหาโดสของยากดภูมิคุ้มกันที่เหมาะสมพอจะกดระบบภูมิคุ้มกันไว้ โดยจะมีโดสต่ำจนสร้างผลข้างเคียงน้อยที่สุดแก่คุณ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะสำเร็จ

แม้ว่าภาวะข้างเคียงข้างต้นจะน่ารำคาญ แต่คุณห้ามหยุดการทานยากดภูมิคุ้มกันเป็นอันขาดเนื่องจากจะทำให้ร่างกายปฏิเสธปอดใหม่ได้

การใช้ยากดภูมิคุ้มกันระยะยาวจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้คุณเกิดโรคไตได้อีกด้วย

การป้องกันการติดเชื้อ

หลังจากที่คุณมีภูมิคุ้มกันต่ำแล้ว คุณต้องคอยระมัดระวังการใช้ชีวิตของคุณจากการติดเชื้อมากกว่าปกติ โดยควรปฏิบัติตนดังนี้:

  • ฝึกรักษาความสะอาดส่วนบุคคลให้ดีอยู่เสมอ: อาบน้ำทุกวันและสวมเสื้อผ้าสะอาด ใช้ผ้าขนหนูและผ้าปูเตียงสะอาดที่ผ่านการซักเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ: อย่างเช่นอีสุกอีใส หรือไข้หวัด
  • ล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่และน้ำร้อน: โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการทำธุระ และก่อนรับประทานอาหาร
  • ไปตามนัดหมายการก่อภูมิคุ้มกัน: โดยทางศูนย์ปลูกถ่ายจะเป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดข้อนี้แก่คุณเอง
  • คุณยังต้องสังเกตหาสัญญาณบอกเหตุของการติดเชื้อต่าง ๆ ของร่างกายไว้ตลอดเวลา เนื่องจากการติดเชื้อเพียงเล็กน้อยก็อาจลุกลามกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้

ให้ติดต่อทีมแพทย์หรือศูนย์ปลูกถ่ายของคุณทันทีที่คุณประสบกับอาการต่อไปนี้:

มีไข้สูง (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส)

ปวดศีรษะ

ปวดกล้ามเนื้อ


30 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lung transplant. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/lung-transplant/)
Lung transplantation: indications and contraindications. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6105990/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)