กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยาลดไขมัน 3

เผยแพร่ครั้งแรก 1 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ยาลดไขมัน 3

Dextrothyroxine

ชื่อสามัญ    Dextrothyroxine
ชื่อการค้า        Choloxin, D-thyroxine
ประเภท           ยาลดไขมันในเลือด
ข้อบ่งใช้          ลดไขมันในเลือด เพิ่มการเต้นของหัวใจและเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย สามารถลดไขมันชนิด LDL ได้ ร้อยละ 20 การออกฤทธิ์ เพิ่มการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลที่ตับ แต่เพิ่มการขจัดคอเลสเตอรอลออกทางอุจจาระและเร่งการเปลี่ยนคอเลสเตอรอลให้เป็น Bile acids เพิ่มการขจัด LDL ออกจากกระแสเลือด
ผลข้างเคียง      ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจลําบาก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
การพยาบาล

  • ให้ยาตามแผนการรักษา
  • สังเกตอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เช่น เจ็บหน้าอก หายใจลําบาก ใจสั่น เป็นต้นโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจําตัวอยู่แล้ว

Fenofibrate

ชื่อสามัญ    Fenofibrate
ชื่อการค้า        Adfen-160, Colestrim, Febrate, Fenofibrate GPO, Fenohexal, Fenomed-200, Fenosup Lidose, Fenox, Fibril, Fibrolan, Lexemin, Lipanthy/ Lipanthyl 200 M, Lipothin 200, Stanlip, Supralip 160, Supralip NT145
ประเภท             ยาลดไขมันในเลือด
ข้อบ่งใช้             ลดไขมันในเลือดร่วมกับการควบคุมอาหาร
การออกฤทธิ์       กระตุ้นตับให้เพิ่มการสลาย VLDL ยับยั้งการรวมตัวเป็นคอเลสเตอรอล ทําให้ระดับไขมันในซีรั่มลดลง และมีผลต้านเกล็ดเลือด
ผลข้างเคียง        พบน้อย อาจมีอาการปวดกระเพาะอาหารหรือปวดท้อง ท้องเสียหรือท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง
การพยาบาล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • แนะนําให้ผู้ป่วยพบแพทย์และตรวจเลือดตามนัดทุกครั้งเพื่อประเมินผลการรักษา
  • แนะนําให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ ควบคุมอาหาร ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากมีความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน ต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อติดมัน ตับ ไข่แดง นม เนย น้ำมันสัตว์ ช็อกโกแลต อาหารทะเล เช่น หอย กุ้งปลาหมึก เป็นต้น
  • ระวังในผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร เป็นโรคเบาหวาน หรือนิ่วในถุงน้ําดีโรคไตหรือโรคตับ
  • แนะนําผู้ป่วย หากลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ หากใกล้กับเวลารับประทานครั้งต่อไป ให้รับประทานยาครั้งต่อไปตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มเป็น 2 เท่า

Fluvastatin

ชื่อสามัญ            Fluvastatin
ชื่อการค้า            Lescol/ Lescol XL
ประเภท             ยาลดไขมันในเลือด (Antihyperlipidemic), HMG-C0A reductase inhibitor
ข้อบ่งใช้             ยานี้ใช้ลดไขมันในเลือด โดยใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร ในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง ซึ่ง เป็นสาเหตุของหลอดเลือดแดงแข็ง ทําให้ปริมาณเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจ สมอง และร่างกายลดลง เป็นผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
การออกฤทธิ์       ยับยั้ง HMG-C0A reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่กระตุ้นการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ในขั้นแรกๆ ผลการรักษา จะช่วยลด LDL cholesterol, VLDL และ Plasma triglycerides เพิ่ม HDL Cholesterol เล็กน้อย
ผลข้างเคียง        ปวดศีรษะ อาหารไม่ย่อย ปวดหลัง ปวดข้อ ท้องเสีย เป็นตะคริวที่หน้าท้อง เยื่อบุโพรง จมูกอักเสบ อาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ ท้องผูก ท้องอืด มีผื่น เมื่อยล้า ไอ เวียนศีรษะ หากมีอาการปวดเจ็บกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ตาเหลือง ตัวเหลือง ปวดขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย หรือกลั้นไม่ได้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
การพยาบาล       

  • ประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และหน้าที่ของตับ
  • แนะนําให้เลิกสูบบุหรี่ ควบคุมอาหาร ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ได้แก่ เนื้อติดมัน ตับ ไข่แดง นม เนย น้ำมันสัตว์ ช็อกโกแลต และอาหารทะเล
  • บอกผู้ป่วยให้รับประทานยา Fluvastatin อย่างสม่ำเสมอ หากมีความดันโลหิตสูงหรือเป็นโรคเบาหวาน
  • หากลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ หากใกล้กับเวลารับประทานครั้งต่อไป ให้รับประทานยาครั้งต่อไปตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มเป็น 2 เท่า
  • ควรบอกแพทย์ หากตั้งครรภ์หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร หรือต้องผ่าตัด เป็นโรคติดเชื้อCholestyramine เป็นต้น

Gemfibrozil

ชื่อสามัญ            Gemfibrozil
ชื่อการค้า           Bisit/Bisil 600, Chlorestrol, Deopid, Dropid, Gemfibril, G.FB-600, Gemfibrozil Teva, Gemox, Gozid, Hidil, Ipolipid, Lespid, Lipicap, Lipidys, Lipison, Lipolo, Lipozil, Locholes, Lodil, Lopid/Lopid OD, Lowdown, Manobrozil, Mariston, Milipid 600/ Milipid 900, Norpid, Pharzil, Poli-Fibrozil, Polyxit, Ronox, Tiba ประเภท ยาลดไขมันในเลือด (Antihyperlipidemia)
ข้อบ่งใช้             ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในผู้ป่วยที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากกว่า 750 มิลลิกรัม (เดซิลิตร ร่วมกับการควบคุมอาหารและงดดื่มสุรา อาจใช้ในกรณีคอเลสเตอรอลในเลือด สูง เมื่อควบคุมอาหารและใช้ยาอื่นไม่ได้ผลแล้ว และผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงของ Pancreatitis และปวดท้อง ลดปัจจัยเสี่ยงของหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งควบคุมอาหารและใช้ยาอื่นไม่ได้ผลแล้ว
การออกฤทธิ์       กลไกที่ชัดเจนยังไม่แน่นอน ยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายตัวของไขมันพวกไตรกลีเซอไรด์ที่ถูกเก็บไว้ในเนื้อเยื่อไขมัน และไปยับยั้งการสะสมไขมันที่ตับ ซึ่งจะมีผลให้ LDL ลดน้อย ลง การสังเคราะห์และการสร้างไตรกลีเซอไรด์ลดลง พร้อมทั้งช่วยให้ HDL สงเพิ่มขึ้น จะทําให้ระดับ LDL คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ลดลง เพิ่มการขับคอเลสเตอรอล เข้าไปในน้ำดีเพิ่มขึ้น ทําให้เกิดนิ่วได้ง่าย
ผลข้างเคียง        พบน้อย เช่น ตื่นตามผิวหนัง ปวดเมื่อยแขนและขา เป็นตะคริว ตามัว เม็ดเลือดขาวลดลง เป็นต้น ปวดท้อง ตับผิดปกติ มีภาวะตับอ่อนอักเสบ
การพยาบาล       

  • ตรวจระดับ LDL Tiglycerides, Total cholesterol, CBC, Blood glucose และLFT แนะนําให้ผู้ป่วยสังเกตอาการผิดปกติ เมื่อพบต้องรีบบอกให้พยาบาลหรือแพทย์ทราบ เพื่อให้การช่วยเหลือ
  • ให้รับประทานอาหารที่ไม่มีไขมัน โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ควรงดเด็ดขาด
  • รับประทานยา ชั่วโมงก่อนอาหารเช้า-เย็น
  • หากลืมรับประทานยา ควรรับประทานทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าใกล้เวลารับประทานยาครั้งต่อไปแล้ว ไม่ต้องเพิ่มขนาดยาในครั้งนั้น ให้รับประทานขนาดเท่าเดิมไปตามปกติ
  • ไม่ใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ ไต ถุงน้ำดี ในหญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตรและเด็ก

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The new, potent cholesterol-lowering drugs: An update. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/heart-health/the-new-potent-cholesterol-lowering-drugs-an-update)
Your Options for Lipid-Lowering Drugs. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/how-cholesterol-lowering-drugs-work-698230)
Lipid-lowering drugs. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1986656/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)