ประโยชน์ของใบย่านาง

ใบย่านางมีประโยชน์อย่างไร สรรพคุณเพื่อสุขภาพและข้อควรระวังมีอะไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 31 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 24 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ประโยชน์ของใบย่านาง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ใบย่านาง สมุนไพรของภาคอีสานที่นิยมนำมารับประทาน มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย เช่น ปรับสมดุลภายในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ลดความอ่อนเพลีย ป้องกันมะเร็ง หรือบำรุงอวัยวะภายใน
  • สามารถนำใบย่านางมากรองเอากาก นำมาหมักผม ช่วยลดอาการผมร่วง หรือคั้นน้ำใบย่านางสดผสมกับดินสอพอง ทาบริเวณหัวสิว จะช่วยให้สิวหายเร็วขึ้น หรือพอกบริเวณฝีหนอง ก็ช่วยให้หายได้เช่นกัน
  • แนะนำเมนูเครื่องดื่มใบย่านาง ช่วยลดอาการช้ำใน โดยนำใบย่านางผสมกับใบเตยตำให้ละเอียด นำมาต้ม กรองเอาแต่น้ำ ดื่มเป็นประจำทุกวัน
  • ผู้ป่วยเป็นโรคไต ไม่ควรรับประทานใบย่านางบ่อยนัก เพราะในใบย่านางมีสาร หรือวิตามินที่เมื่อได้รับมากเกินไป ไตจะต้องขับออก แต่หากไตไม่สามารถขับออกได้ จะเกิดการสะสมจนอาจทำให้เกิดอันตรายได้
  • นอกจากใบย่านางแล้ว ควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย ออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

ใบย่านางเป็นสมุนไพรของภาคอีสานซึ่งมีการกล่าวถึงสรรพคุณทางยาหลายอย่าง เช่น ช่วยรักษาและฟื้นฟูร่างกาย ทำให้อาการเจ็บป่วยดีขึ้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับใบย่านางเพิ่มเติมกันว่า ใบย่านางมีคุณประโยชน์ที่ดีต่อร่างกายในด้านใดบ้าง

ทำความรู้จักใบย่านาง

ใบย่านาง เป็นพืชในตระกูลไม้เลื้อย มีกิ่งอ่อนๆ มีขนอ่อนปกคลุม และออกใบเดี่ยว โดยออกติดกับลำต้นแบบสลับกัน ลักษณะใบจะคล้ายรูปไข่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม เมื่อต้นแก่แล้วผิวจะมีลักษณะเรียบ รากของต้นจะมีขนาดใหญ่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ใบย่านางเป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็นซึ่งสามารถช่วยดับพิษต่างๆ ในร่างกายได้ 

นอกจากนี้ ยังนิยมนำมาใช้รักษาโรคตั้งแต่สมัยโบราณ โดยใช้เป็นยาได้ทุกส่วน ไม่เฉพาะแต่ส่วนของใบเท่านั้น

คุณค่าทางโภชนาการ

ใบย่านาง 100 กรัม ประกอบไปด้วย

ประโยชน์ของใบย่านาง

ใบย่านางเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้เป็นยาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะมีคุณสมบัติช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกาย เนื่องจากเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ 

สำหรับประโยชน์และสรรพคุณของใบย่านางที่เราจะมาแนะนำเพิ่มเติมนั้น มีดังนี้

1. เพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ใบย่านางมีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลภายในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น และทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นมากกว่าเดิม

2. ลดความอ่อนเพลีย

สำหรับผู้ที่มักจะมีปัญหาอ่อนล้า อ่อนเพลียเป็นประจำ การรับประทานใบย่านางจะทำให้อาการดีขึ้น หรือสำหรับผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ ให้รับประทานใบย่านางเป็นประจำ จะทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากจนเกินไปเนื่องจากใบย่านางมีฤทธิ์เย็นอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดได้

3. บำรุงผิวพรรณ

ใบย่านางสามารถช่วยลดริ้วรอยบนใบหน้าได้ เนื่องจากในใบย่านางมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ทำให้ริ้วรอยลดลงอย่างเห็นได้ชัด

4. ป้องกันมะเร็ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ใบย่านางมีสรรพคุณในการฟื้นฟูเซลล์ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ดีเพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง การดื่มน้ำคั้นจากใบย่านางบ่อยๆ จะทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงได้

5. บำรุงอวัยวะภายใน

ใบย่านางมีสรรพคุณในการบำรุงตับและไต ช่วยลดระดับความดันโลหิต ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และยังสามารถใช้รักษาอาการอัมพฤกษ์ให้ดีขึ้นได้

6. เป็นยาอายุวัฒนะ

ส่วนใบของต้นย่านางเป็นส่วนที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด เพราะเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระสูง เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น และยังมีสรรพคุณในการป้องกันโรคร้าย เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาอาการภูมิแพ้ ลดระดับความดันโลหิต แก้อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เป็นต้น

เคล็ดลับการใช้ใบย่านางเพื่อสุขภาพ

ใบย่านางไม่ได้มีประโยชน์เพียงในการนำมารับประทานเพื่อบำรุงสุขภาพร่างกายเท่านั้น ยังสามารถนำบางส่วนของต้นย่านางมาแก้ไขปัญหาร่างกาย และรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้อีก ดังนี้

1. รักษาสิว

ใบย่านางสามารถนำมาใช้รักษาสิวได้ โดยการคั้นน้ำใบย่านางสดผสมกับดินสอพอง แล้วนำมาทาบริเวณหัวสิว จะทำให้สิวหายเร็วขึ้น หรือจะนำมามาส์กหน้าก็จะช่วยให้ผิวหน้าเปล่งปลั่งกระจ่างใส และช่วยล้างสารพิษบริเวณผิวหน้าไปในตัวได้ด้วย 

นอกจากนี้ ใบย่านางยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงช่วยให้ผิวหน้าห่างไกลจากริ้วรอย และแลดูอ่อนเยาว์มากขึ้นด้วย

2. ถอนพิษไข้

รากของต้นย่านางสามารถนำมาถอนพิษไข้ได้หลายชนิด เช่น ไข้หัด ไข้พิษ ไข้เหนือ ไข้กาฬ ไข้ฝีดาษ และไข้ทับระดู เป็นต้น 

รากของต้นย่านางถูกใช้เป็นส่วนประกอบของตำรับยาเบญจโลกวิเชียร หรือยาห้าราก ซึ่งหมายถึง ตำรับยาแผนไทยโบราณจากสมุนไพรไทย 5 ชนิดได้แก่ รากย่านาง รากชิงชี่ รากท้าวยายหม่อม รากคนทา และรากมะเดื่อชุมพร 

ตำรับยาเบญจโลกวิเชียร เป็นตำรับยาแก้ไข้ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาจากสมุนไพร

นอกจากนี้ รากของต้นย่านางยังถูกใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 ด้วย โดยนำรากแห้งไปสกัดต้มกับน้ำดื่มก่อนรับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ จนกว่าอาการจะดีขึ้น

3. บำรุงเส้นผมให้ดกดำเงางาม

ใบย่านางมีสรรพคุณบำรุงเส้นผมให้ดกดำเงางาม และช่วยแก้ปัญหาผมหงอกได้ 

ผู้ที่มีปัญหาผมร่วงสามารถนำใบย่านางมากรองเอากาก หรือขยี้ให้ได้คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) สีเขียวให้มากที่สุด จากนั้นให้หมักผมไว้หลังจากสระแล้วทิ้งไว้ทั้งคืน เมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้าค่อยล้างออก โดยสูตรการหมักผมนี้อาจช่วยให้อาการผมร่วง หรือศีรษะล้านดีขึ้นได้ 

หรือจะเป็นการนำใบหญ้านางไปปั่นแล้วต้มกับน้ำซาวข้าว จากนั้นนำผ้ามากรองให้เหลือแต่น้ำ แล้วนำไปสระผมสลับกับสระด้วยแชมพูทั่วไป สัปดาห์ละ 1 ครั้ง วิธีนี้อาจช่วยให้ผมของคุณกลับมาดกดำได้อีกครั้ง 

4. รักษาฝีหนอง

ฝีหนองสามารถรักษาได้ด้วยใบย่านางเช่นกัน โดยให้นำน้ำใบย่านางมาผสมกับดินสอพอง คนให้เข้ากันจนได้เป็นเนื้อครีมเหลวๆ จากนั้นนำมาพอกบริเวณที่เป็นฝีหนอง เมื่อทำเป็นประจำจะทำให้ฝีหนองค่อยๆ ยุบลงและหายเป็นปกติในที่สุด

5. แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย

ใบย่านางสามารถนำมาใช้เพื่อแก้พิษเมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อยได้เหมือนกัน โดยให้นำใบย่านางมาโขลกไม่ต้องละเอียดมาก แต่ให้พอมีน้ำออกมา จากนั้นให้ทาไว้บริเวณแผลที่โดนกัดต่อย จะช่วยแก้พิษและลดอาการปวดได้ดีมาก

เมนูการรับประทานใบย่านางเพื่อสุขภาพ

ใบย่านางเป็นพืชที่มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายให้แข็งแรง จึงนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารด้วย วันนี้เราจึงมีตัวอย่างเมนูอาหารที่มีส่วนประกอบของใบย่านางมาฝากกัน พร้อมวิธีการปรุงรส

1. ข้าวผัดใบย่านาง

  1. ให้นำใบย่านางไปตำกับน้ำ แล้วนำมากรองให้เหลือแต่น้ำเท่านั้น 
  2. ตั้งกระทะ แล้วนำกระเทียมลงไปผัด 
  3. ใส่น้ำมันหอย ใส่หมูสับลงไปผัดจนสุกหอม 
  4. ใส่ข้าวสวย ตามด้วยน้ำใบย่านางที่เตรียมเอาไว้ 
  5. ผัดจนส่วนผสมเข้ากัน แล้วปรุงรสตามด้วยซอสพริก และน้ำปลา 
  6. ปิดเตาแล้วผัดคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง จากนั้นตักใส่จาน แต่งหน้าข้าวผัดด้วยไข่เค็ม

2. น้ำใบย่านางใส่ใบบัวบก

  1. ต้มน้ำและใบเตยลงไปจนเดือด แล้วพักทิ้งไว้ 
  2. หั่นใบย่านางกับใบบัวบกลงไปในเครื่องปั่น 
  3. ใส่น้ำใบเตยที่ต้มไว้ตามลงไป จากนั้นปั่นจนละเอียด
  4. กรองเอาแต่น้ำตักใส่แก้ว จากนั้นใส่น้ำเชื่อม ปรุงรสหวานได้ตามใจชอบ นอกจากนี้ คุณยังสามารถเทน้ำใส่ขวดแก้วนำไปแช่ในตู้เย็นเก็บไว้ดื่มทีหลังได้

3. แกงเห็ดใส่ใบย่านาง

  1. ตำใบย่านางจนละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาเท่านั้น 
  2. นำน้ำใบย่านางใส่หม้อแล้วตั้งไฟให้เดือด 
  3. ใส่ข่า ขิง ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกสดลงไป ตามด้วยเห็ด บวบ และใบแมงลัก 
  4. คนให้ส่วนผสมทุกอย่างเข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า และเกลือตามใจชอบ จากนั้นตักขึ้นเสิร์ฟได้เลย

4. น้ำใบย่านางใส่ใบเตย

เป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก โดยจะช่วยลดอาการช้ำใน บรรเทาอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และบำรุงสุขภาพได้เป็นอย่างดี วิธีการทำเมนูนี้คือ

  1. ให้นำใบย่านางประมาณ 30-50 ใบ มาฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ รวมกับใบเตย แล้วตำให้ละเอียด 
  2. ผสมส่วนผสม 2 อย่างนี้กับน้ำประมาณ 4.5 ลิตรแล้วคนให้เข้ากัน จากนั้นกรองเอาเฉพาะน้ำเท่านั้น แล้วนำไปแช่ตู้เย็นไว้ ให้ดื่มเป็นประจำทุกวันจะดีต่อสุขภาพที่สุด

5. แกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง

แกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง เป็นเมนูรสเผ็ดต้นตำรับจากภาคอีสานที่ดีต่อสุขภาพ วิธีการทำเมนูนี้คือ 

  1. ให้นำพริก หอมแดง และเกลือสมุทรมาตำรวมกันเพื่อทำเป็นพริกแกงก่อน 
  2. ตั้งน้ำบนเตาและใส่พริกแกงที่ตำเสร็จแล้วลงไป จากนั้นรอจนน้ำเดือด
  3. เมื่อน้ำเดือดแล้วให้ใส่ตะไคร้กับหน่อไม้ และเคี่ยวให้หน่อไม้เปื่อย 
  4. ใส่ข้าวเบือ เห็ด ใบแมงลัก และน้ำใบย่านางตามลงไป จากนั้นคนให้ส่วนผสมเข้ากันอีกครั้ง 
  5. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า และเกลือ เพียงเท่านี้แกงเผ็ดเพื่อสุขภาพก็พร้อมเสิร์ฟแล้ว

การศึกษาพิษวิทยา

สารสกัดใบย่านางด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 50 ฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังของหนู ปริมาณ 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัวของหนู 1 กิโลกรัม (คิดเป็นปริมาณ 6,250 เท่าของปริมาณที่คนได้รับ) ไม่แสดงความเป็นพิษ

ข้อควรระวัง   

ถึงแม้ว่าใบย่านางจะอุดมไปด้วยประโยชน์ และคุณค่าทางสารอาหารมากมาย แต่ก็ถือเป็นอาหารต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยโรคไต เพราะในใบย่านางมีฟอสฟอรัส วิตามินเอ และโพแทสเซียมสูง ซึ่งปกติไตจะต้องขับสารเหล่านี้ที่เกินจากความต้องการของร่างกายออกไป 

เมื่อผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถขับสารเหล่านี้ทิ้งตามปกติได้ ก็ทำให้เกิดการสะสมจนเป็นอันตรายต่อร่างกายได้นั่นเอง 

นอกจากนี้ ใบย่านางยังมีฤทธิ์เย็น จึงไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดได้

ใบย่านางเป็นสมุนไพรที่ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยชะลอความชรา และสามารถป้องกันโรคร้ายได้หลายอย่าง 

การรับประทานใบย่านางในปริมาณที่เหมาะสม จึงส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมได้ แต่ควรใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อให้การรักษาโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อรัญญา ศรีบุศราคัม, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ย่านางผักพืชบ้านสารพัดประโยชน์ (http://medherbguru.gpo.or.th/articles/D15_Colebr.pdf), 19 พฤศจิกายน 2560
นิตยา บุญทิม, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ย่านางสุดยอดอาหารและยา (https://stri.cmu.ac.th/article_detail.php?id=34)
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ย่านางอาหารที่เป็นยา (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0034.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)