นมแพะ (Goat Milk)

เผยแพร่ครั้งแรก 15 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 19 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
นมแพะ (Goat Milk)

นมแพะ เป็นนมที่ดื่มกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ในประเทศไทยอาจจะไม่ค่อยนิยม เนื่องจากมีราคาแพงกว่านมวัว และคนไม่ค่อยคุ้นเคย แต่ในระยะหลังเมื่อมีคนแพ้นมวัวมากขึ้น จึงทำให้มีการดื่มนมจากสัตว์ชนิดนี้แทน นมแพะสามารถนำมาใช้เพื่อสุขภาพและนำมารับประทาน ดังนี้

ทำความรู้จักนมแพะ

นมแพะ (Goat Milk) นมแพะเป็นนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงไม่ต่างจากนมวัว และยังมีโปรตีนที่ย่อยง่ายกว่า รวมถึงมีแลกโตสน้อยกว่า ปัจจุบันนมแพะสามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้น เพราะมีการพาสเจอร์ไรซ์บรรจุกล่องวางจำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณค่าทางโภชนาการ

ในนมแพะ 100 กรัม ให้พลังงาน 69 แคลอรี่ มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

ประโยชน์ของนมแพะ

นมแพะอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย ดังนี้

  1. ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แพทย์บางคนได้แนะนำให้ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน และโรคกระเพาะอาหารดื่มนมแพะแทนนมวัว เนื่องจากนมชนิดนี้มีโปรตีน และไขมันที่ย่อยง่ายกว่า จึงช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ที่เกิดจากการย่อยโปรตีนได้
  2. ลดระดับคอเลสเตอรอล ในนมแพะมีไขมันชื่อ คาพริก ที่ช่วยสลายคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดโดยตรง และยังช่วยลดความเสี่ยงอาการหลอดเลือดอุดตันจากไขมันได้อีกด้วย
  3. บำรุงกระดูกและฟัน นมแพะเป็นนมที่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง รวมถึงเพิ่มมวลกระดูกใหม่ ๆ จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคไขข้ออักเสบ และไขข้อต่างๆ เสื่อม
  4. บำรุงผิว นมแพะมีกรดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ที่เป็นมอยส์เจอไรเซอร์ธรรมชาติบำรุงผิวให้ดูนุ่มนวล และยังมีกรดแลกติกที่ช่วยกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วออกไป จึงทำให้ทำให้ผิวมีความกระจ่างใสมากยิ่งขึ้น
  5. เหมาะกับผู้ที่แพ้น้ำเหลืองนมวัว จะสามารถให้นมแพะแทนนมวัวได้ในรายที่มีสาเหตุการแพ้น้ำเหลืองวัว (bovine serum) ในนมวัวเท่านั้น ซึ่งพบเป็นส่วนน้อย
    ผู้ที่แพ้น้ำเหลืองวัวจะมีอาการแพ้ต่อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวทุกชนิด ไม่ใช่เฉพาะกับนมวัวเท่านั้น กรณีนี้สามารถใช้นมแพะแทนได้ แต่จะใช้แทนไม่ได้หากแพ้ส่วนประกอบของโปรตีนในนมวัว เนื่องจากในนมแพะมีส่วนประกอบของโปรตีนใกล้เคียงกับนมวัว จึงมีโอกาสแพ้นมแพะด้วยเช่นกัน

เมนูสุขภาพจากนมแพะ

นมแพะสามารถนำมาประกอบอาหารทั้งคาวหวานได้ ดังนี้

  1. ไข่ตุ๋นนมแพะ นำแครอทกับข้าวโพดมาผสมกับไข่ และนมแพะ คนให้เข้ากัน นำไปนึ่งประมาณ 5 นาที ยกขึ้นเสิร์ฟ
  2. วุ้นนมแพะ นำนมแพะมาต้มจนเดือด ใส่ผงวุ้นลงไปแล้วรอจนละลาย เทนมแพะที่ผสมวุ้นลงไปในพิมพ์ แต่งหน้าด้วยผลไม้ที่ชอบ นำไปแช่เย็นทิ้งไว้ จนวุ้นเริ่มเซตตัว แกะออกจากพิมพ์ ตักใส่จาน
  3. บิงซูนมแพะ ชงนมแพะใส่ในถุงหรือภาชนะ แล้วนำไปแช่ในช่องแช่แข็ง รอจนนมแพะกลายเป็นน้ำแข็ง นำออกมาจากตู้เย็นใช้ช้อนบด จนน้ำแข็งกลายเป็นเกล็ดเล็ก ๆ นำผลไม้มาตกแต่ง ตักใส่ชาม
  4. แพนเค้กนมแพะ นำแป้งแพนเค้กสำเร็จรูปมาผสมกับไข่ นมแพะ คนให้เข้ากัน นำกระทะขึ้นตั้งไฟ ใส่เนยลงไป นำแป้งแพนเค้กนมแพะลงไปทอดในกระทะ เมื่อเริ่มสุกแล้ว ตักใส่จาน ยกขึ้นเสิร์ฟคู่กับกล้วยหอม ราดน้ำผึ้ง

ข้อควรระวัง

  • การเลือกซื้อนมแพะควรเลือกจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ หรือเลือกซื้อแบบพาสเจอร์ไรซ์แล้วเท่านั้น เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของแบคทีเรียต่างๆ
  • สตรีมีครรภ์ที่ให้ลูกดื่มนมแพะ ควรเลือกแบบเสริมโฟลิคและวิตามิน B12 และต้องต้มนมแพะเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนทุกครั้ง เนื่องจากในนมแพะมีแบคทีเรียที่ชื่อบรูเซลโลซิส ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเด็ก

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืดและวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย (http://allergy.or.th/2016/reso...)
ผศ.ดร.อุไรพร จิตต์แจ้ง, นมแพะควรดื่มหรือไม่ (https://www.doctor.or.th/article/detail/1470), 1 มิถุนายน 2549
United States Department of Agriculture, Basic Report: 01106, Milk, goat, fluid, with added vitamin D (https://ndb.nal.usda.gov/ndb/foods/show/01106)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป