ความหมายของโรคอุจจาระร่วง
โรคอุจจาระร่วง (diarrhea) หมายถึง โรคที่เกิดการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติไปจากเดิม โดยมักมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น หรือเนื้ออุจจาระลดลง หรือเป็นอาการถ่ายอุจจาระประมาณ 3 ครั้งขึ้นไปต่อวัน
โรคอุจจาระร่วงยังรวมไปถึงอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำจำนวนเกิน 1 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง หรืออุจจาระเหลวมีน้ำมากกว่าปกติ 3 ครั้งในจำนวน 12 ครั้ง หรือถ่ายเหลวมีมูกเลือดปนเพียงครั้งเดียว สำหรับทารกที่กินนมแม่อาจถ่ายอุจจาระเหลวบ่อยครั้งได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โรคอุจจาระร่วงสามารถส่งผลรุนแรงได้ถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต โดยเกิดการร่างกายขับเอาสารน้ำออกไปพร้อมอุจจาระมากเกินไป จนเกิดภาวะขาดน้ำ และเกลือแร่ในร่างกายจนเสียชีวิต โรคนี้มักเกิดในเด็กทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุเป็นส่วนมาก
สาเหตุของโรคอุจจาระร่วง
เราสามารถแบ่งสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงออกได้ตามชนิดของโรค ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. โรคอุจจาระร่วงชนิดเฉียบพลัน
หากเป็นโรคอุจจาระร่วงชนิดเฉียบพลัน หรือมีอาการอุจจาระร่วงน้อยกว่า 14 วัน มักมีสาเหตุดังต่อไปนี้
- การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสโรคบิด โรคไทฟอยด์ โรคอหิวาตกโรค โรคมาลาเรีย
- พยาธิบางชนิด
- การได้รับสารพิษจากเชื้อโรค สารพิษในอาหาร หรือจากสารเคมีประเภทตะกั่ว สารหนู ไนเตรท ยาฆ่าแมลง รวมถึงเห็ดพิษ
- ยาบางชนิด เช่น ยาถ่าย ยาลดกรด ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรค เกาต์ (Colchicine)
2. โรคอุจจาระร่วงชนิดเรื้อรัง
หากเป็นโรคอุจจาระร่วงชนิดเรื่อรัง หรือมีอาการอุจจาระร่วงนานกว่า 4 สัปดาห์หรือ 30 วัน รวมถึงมีอาการเป็นๆ หายๆ ส่วนมากสาเหตุมักมาจากปัจจัยต่อไปนี้
- มักเกิดจากกลุ่มอาการลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า (Irritable bowel syndrome)
- เกิดจากการติดเชื้อบิดอะมีบา
- เกิดจากการติดเชื้อวัณโรค และเชื้ออื่นๆ เช่น เชื้อแบคทีเรียวิบริโอ คอเลอเร (Vibrio cholerae) เชื้ออีโคไล (Escherichia coli: E. coli) คลอสตอเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) แอร์โรโมแนส ไฮโดรฟิลา (Aeromonas hydrophila)
- พยาธิแส้ม้า
- โรคเอดส์
- โรคเบาหวาน
- คอพอกเป็นพิษ
- ภาวะพร่องเอนไซม์แลคเตส
- ความผิดปกติในการดูดซึมของลำไส้
- โรคมะเร็งของลำไส้ หรือโรคมะเร็งตับอ่อน
- การรับประทานยาถ่าย หรือยาลดกรดเป็นประจำ
- ภายหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร การฝังแร่รักษามะเร็งปากมดลูก มักถ่ายเป็นมูกเลือดเรื้อรัง
พยาธิสรีรภาพ
กลไกการทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง คือ เยื่อบุลำไส้สร้างสารน้ำมากเกินความสามารถในการดูดซึมกลับ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีการอักเสบของลำไส้ จึงทำให้ทางเดินอาหารมีการเคลื่อนไหวมากผิดปกติ ทำให้อาหาร และน้ำผ่านลำไส้เร็วเกินไป และถูกดูดซึมกลับไม่ทัน
นอกจากนี้ ลำไส้จะยังมีการบีบเกร็ง ผู้ป่วยมีอาการปวด คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย จนทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ และเกลือแร่ ซึ่งหากมีอาการรุนแรงมากจะทำให้ความดันเลือดต่ำ ไตทำงานล้มเหลว ร่างกายเสียสมดุลน้ำ และอิเล็กโทรไลต์ รวมถึงเสียสมดุลกรด-ด่าง
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการของโรคอุจจาระร่วง
ผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงจะมีอาการต่อไปนี้
- มีไข้
- ปวดท้อง
- อุจจาระร่วงคลื่นไส้
- อาเจียน
- อุจจาระอาจพบเยื่อมูก และมีเลือดปน
- หนาวสั่น
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักตัวลด
- โลหิตจาง
- ตับ และม้ามโต
- ในผู้ป่วยเด็กอาจมีอาการชัก และซึมด้วย
การวินิจฉัยโรคอุจจาระร่วง
ก่อนอื่น แพทย์จะซักประวัติสุขภาพ ตรวจวัดสัญญาณชีพ จากนั้นจะตรวจว่า ผู้ป่วยมีไข้ซึ่งมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหาร การเดินทาง อาการแพ้ยา อาการเจ็บป่วย
จากนั้นแพทย์จะตรวจดูความตึงตัวของผิวหนัง ความดันเลือด การประเมินภาวะขาดน้ำ และเกลือแร่ รวมถึงสอบถาม และตรวจดูอาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนที่เเกิดขึ้น
นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจตรวจดูลักษณะอุจจาระ ปริมาณ สี และจำนวนครั้งที่ผู้ป่วยอุจจาระ แล้วแพทย์อาจตรวจอุจจาระผ่านการเพาะเชื้อโดยการทำ Rectal swab culture หรือด้วยกล้อง Microscope เพื่อวิเคราะห์หาน้ำหนักไขมันออสโมลาริตี้ (Osmolarity) ค่าแสดงกรด - เบส (pH) และค่าอิเล็กโทรไลต์
นอกจากการตรวจอุจจาระ แพทย์อาจสั่งตรวจเลือดเพื่อหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count: CBC) ร่วมด้วย และตรวจปัสสาวะเพื่อหาค่าบียูเอ็น (Blood Urea Nitrogen: BUN)
การรักษา
ผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงไม่ต้องงดอาหาร หรือนม แต่ให้รับประทานอาหารตามปกติ แต่ให้งดอาหารแข็ง อาหารรสจัด อาหารที่มีกากพวกผักผลไม้ และให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำข้าว หรือน้ำหวานแทนหลังให้เกลือแร่ (Oral rehydration solution: ORS) ไปแล้ว 4 ชั่วโมง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ส่วนทารกที่ป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วง ให้รับประทานนมแม่ตามปกติ หากรับประทานนมผสมต้องชงให้เจือจางลงเท่าตัวใน 2-4 ชั่วโมงแรก หรือผสมนมตามปกติ แต่ให้ดื่มครึ่งเดียวก่อนแล้วสลับกับดื่มน้ำเกลือแร่
หากผู้ป่วยมีอาการอาเจียน แพทย์อาจพิจารณาให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำด้วย ส่วนตัวยาที่รับประทาน แพทย์มักจะจ่ายให้ไปตามอาการ แต่ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษานอกจากจะมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น
- หากมีไข้สูง ปวดท้องมาก ควรให้ยาปฏิชีวนะ เช่น Norfloxacin 400 มิลลิกรัม เช้า-เย็น นาน 2-7 วัน
- หากโรคเกิดจากเชื้ออะมีบา (Amebiasis) ควรให้ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 5 วัน
- หากโรคจากเชื้ออหิวาตกโรค ควรให้ยาเตตราไซคลีน (Tetracycline) 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง นาน 3 วัน หรือให้ยาฆ่าเชื้อเฉพาะ เช่น เชื้อวีบรีโอ (Vibrio spp) เชื้อบิดชิเจลลา (Shigella)
การพยาบาล
ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคอุจจาระเรื้อรัง จะต้องประเมินร่างกายเพื่อดูปัญหาภาวะขาดน้ำ และอิเล็กโทรไลต์ เช่น ความตึงตัวของผิว ชั่งน้ำหนัก วัดสัญญาณชีพ และจะต้องบันทึกปริมาณน้ำที่เข้าออกจากร่างกาย บันทึกปัสสาวะทุกชั่วโมง
นอกจากนี้ ผู้ดูแลต้องคอยให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำอย่างเพียงพอ และให้ยาปฏิชีวนะ ยาบรรเทาอาการตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เช่น ยาลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ยาระงับการอาเจียน ให้อาหารอ่อนย่อยง่ายทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง และรักษาสุขอนามัยร่างกายผู้ป่วยให้สะอาด
โรคอุจจาระร่วงมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น โรคภัย การผ่าตัดต่างๆ แต่อีกปัจจัยทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงซึ่งคุณสามารถควบคุมได้ ก็คือ การรักษาความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เชื้อโรคสกปรกเข้ามาทำอันตรายจนทำให้เกิดการติดเชื้อได้
ให้คุณหมั่นล้างมือ และทำความสะอาดร่างกายอยู่เป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงที่เชื้อแบคเทีย เชื้อไวรัสต่างๆ จะเล็ดลอดเข้าร่างกายได้ และไม่ทำให้คุณต้องทนทรมานกับการขับถ่าย แถมต้องเสียเวลาเข้าห้องน้ำบ่อยๆ จนอ่อนเพลียอีก
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคมะเร็ง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
ทอลซิลโตจะมีวิธีการรักษาอย่างไรครับ