กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อหิวาตกโรคคืออะไร

การติดเชื้ออหิวาตกโรคส่วนใหญ่มักไม่มีอากรแสดง แต่ในกรณีการติดเชื้อที่รุนแรง อาการท้องเสียสามารถทำให้สูญเสียของเหลวในร่างกายซึ่งอาจถึงตายได้
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อหิวาตกโรคคืออะไร

>การติดเชื้ออหิวาตกโรคส่วนใหญ่มักไม่มีอากรแสดง แต่ในกรณีการติดเชื้อที่รุนแรง อาการท้องเสียสามารถทำให้สูญเสียของเหลวในร่างกายซึ่งอาจถึงตายได้

อหิวาตกโรคเป็นการติดเชื้อในลำไส้เฉียบพลัน (กะทันหัน ในระยะสั้น) และมีอาการท้องเสียซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae แม้ว่ารายงานการติดเชื้ออหิวาตกโรคจะมีจำนวนน้อยเป็นแสนต่อปี พื้นที่ประเมินของความชุกของโรคจากทั่วโลกโดยส่วนใหญ่นั่นสูงกว่ามากจากรายงานในปี 2012 ที่มีชื่อว่า Bulletin of the World Health Organization
ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่าการติดเชื้ออหิวาตกโรค 2.8 ล้านราย (พร้อมกับกรณีการติดเชื้อที่ช่วงแห่งความเป็นไปได้อีก 1.2 - 4.3 ล้านราย) เกิดขึ้นทุกปีในเฉพาะบางประเทศหรือในประเทศที่มีการระบาดของอหิวาตกโรคอยู่เป็นประจำ โรคนี้ได้คร่าชีวิตผู้คนประมาณ 91,000 (ช่วงแห่งความเป็นไปได้ระหว่าง 28,000 ถึง 142,000 ราย) รายต่อปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แบคทีเรียของอหิวาตกโรค

Vibrio cholerae เป็นชนิดของแบคทีเรียซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำกร่อยและในปากแม่น้ำ (รอยต่อน้ำจืดกับน้ำเค็ม) ของพื้นที่ซึ่งน้ำมีรสเค็มตามธรรมชาติ เชื้อแบคทีเรีย V. cholerae สองสายพันธุ์นั้นทำให้เกิดการระบาดของอหิวาตกโรค: O1 และ O139 ขณะที่เชื้อแบคที่เรียสองสายพันธุ์ในอยู่ในร่างกายมนุษย์ มันจะปล่อยพิษของอหิวาตกโรค ซึ่งทำให้เซลล์ที่อยู่รอบลำไส้ปล่อยน้ำออกมาในจำนวนมาก สายพันธุ์ของแบคทีเรียอื่นๆที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มมีชื่อเรียกว่า non-O1 และ non-O139 V. cholerae สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงเท่าเชื้ออหิวาตกโรค และไม่ส่งผลให้เป็นโรคระบาด

คุณติดเชื้ออหิวาตกโรคได้อย่างไร?

คุณสามารถรับเชื้อแบคทีเรีย O1 หรือ O139 ในร่างกายของคุณผ่านการรับประทานอาหารหรือดื่มของเหลวที่ติดเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ แบคทีเรียจะทำให้ลำไส้ติดเชื้อและจะแพร่พันธุ์ในร่างกาย ผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียสามารถเพิ่มจำนวนการติดเชื้อ V. cholerae ในสภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งล้านเท่าในการท้องเสียเพียงครั้งเดียว จากรายงานของสถาบันแห่งชาติของภูมิแพ้และโรคติดเชื้อ

เพราะจากวิธีการแพร่เชื้อชนิดนี้ อหิวาตกโรคมักจะพบในพื้นที่ซึ่งมีการจัดการน้ำที่ไม่ดี ไม่ถูกสุขอนามัย และไม่ถูกสุขลักษณะ และจากรายของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) แม้ว่าจะไม่มีสัตว์ชนิดอื่นนอกจากมนุษย์ที่สามารถแพร่เชื้อและขยายพันธุ์แบคทีเรีย V. cholerae นั้นมักจะติดกับเปลือกของปู กุ้ง และสัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือกอื่นๆ สัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือกที่สด และยังไม่สุกเป็นแหล่งเพาะเชื้ออหิวาตกโรคในสหรัฐอเมริกา

อาการแสดงและภาวะแทรกซ้อนของอหิวตกโรค

เชื้อแบคทีเรีย V. cholerae ฟักตัวระหว่าง 2 ชั่วโมงและ 5 วันก่อนมีอาการแสดง จากรายงานขององค์การอนามัยโลก โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการแสดงจะเกิดขึ้นภายใน 2-3 วันหลังจากสัมผัสกับแบคทีเรีย จากรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ประมาณ 80% ของผู้ที่เป็นอหิวาตกโรคไม่ทุกข์ทรมานจากอาการแสดงใดๆ เพราะโรคนี้สามารถหายได้เอง แต่โรคนี้สามารถแพร่เชื้อแบคทีเรียในสภาพแวดล้อม จากรายงานขององค์การอนามัยโลก ประมาณ 80% จากผู้ที่มีอาการแสดงของโรคที่ไม่รุนแรง อีก 20% ของผู้ที่มีอาการแสดงของอหิวาตกโรค ประสบกับอาการท้องเสียอย่างรุนแรง อาเจียน และตะคริวที่ขา

อาการแสดงอื่นๆของอหิวาตกโรคมีดังนี้

  • ตะคริวของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
  • ชีพจรเต้นเร็ว
  • อาการง่วงนอนอย่างผิดปกติ
  • ง่วงซึมหรือหลับใน
  • กระหายน้ำมาก ไม่มีน้ำตา และปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
  • ผิวแห้ง เยื่อเมือกแห้ง (เช่นภายในจมูกหรือเปลือกตา) และปากจะแห้ง
  • คลื่นไส้

ในผู้ที่เป็นอหิวาตกโรคชนิดรุนแรง การสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วสามารถทำให้เกิดภาวะขาด septic shock (ภาวะช็อคเนื่องจากการติดเชื้อ) และแม้กระทั่งการเสียชีวิต และในบางครั้งภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆอาจมีน้ำตาลในเลือดน้ำ ระดับโปแตสเซียมต่ำ และไตวาย

การรักษาอหิวาตกโรค

อหิวาตกโรคได้รับการวินิจฉัยด้วยการตรวจตัวอย่างของอุจจาระในห้องทดลอง การรักษาสำหรับการติดเชื้อจะเน้นในเรื่องการให้สารน้ำทดแทน และเกลือที่ขาดหายไปในระหว่างการท้องเสีย (หรืออาเจียน) การได้รับน้ำเกลือมักทำโดยการใช้ผงเกลือแร่ที่พัฒนาโดยองค์การอนามัยโลกซึ่งมีส่วนผสมของเกลือ และน้ำตาลที่ได้รับการบรรจุเรียบร้อยพร้อมใช้ คุณผสมมันกับน้ำสะอาด และดื่มในปริมาณที่มาก ในกรณีติดเชื้อที่รุนแรงของอหิวาตกโรคโดยส่วนมาก การรักษาอาจต้องให้สารน้ำทดแทนผ่านทางเส้นเลือดดำ ยาปฏิชีวนะ อาจช่วยลดความรุนแรงของอาการแสดงและเร่งระยะเวลาการพักฟื้นด้วยเช่นกัน

วิธีป้องกันอหิวาตกโรค

อหิวาตกโรคไม่ใช่โรคระบาด และเกือบทั้งหมดของกรณีการติดเชื้ออหิวาตกโรคเกิดขึ้นเมื่อผู้คนเดินทางไปต่างประเทศ คุณสามารถหลีกเลี่ยงการติดโรคนี้เมื่อเดินทางไปต่างประเทศได้โดย

  • ดื่มเฉพาะเครื่องดื่มที่บรรจุในขวด กระป๋อง หรือผ่านกระบวนการทางเคมี หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก๊อก ก๊อกน้ำพุ และน้ำแข็งก้อน
  • ล้างมือของคุณกับสบู่ และน้ำสะอาดโดยใช้น้ำยาล้างมือที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60% โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารหรือปรุงอาหารและหลังการใช้ห้องน้ำ
  • รับประทานอาหารที่ถูกเตรียมพร้อมรับประทานล่วงหน้าหรืออาหารที่ถูกปรุงใหม่ๆและอุ่นร้อนพร้อมเสิร์ฟ
  • ไม่รับประทานอาหารดิบ หรือสัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือกที่ยังไม่ได้ปรุงสุก รวมถึงซูชิ
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์นม
  • ใช้น้ำที่มีฝาปิด น้ำต้มสุก หรือน้ำที่ผ่านกระบวนการทางเคมีในการแปรงฟัน ปรุงอาหาร ล้างจาน และทำน้ำแข็ง

11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cholera History, Causes, Spread, Treatment & Symptoms. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/cholera/article.htm)
Cholera: Causes, symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/189269)
Cholera: Causes, Symptoms, Treatment, and Prevention. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/cholera-faq)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)