โรคกรดไหลย้อน (Gastro-oesophageal reflux disease - GORD) เป็นภาวะที่พบเห็นได้ทั่วไปที่ซึ่งกรดจากกระเพาะอาหารรั่วไหลขึ้นไปยังหลอดอาหาร (gullet) โดยมากมักจะเกิดมาจากการที่กล้ามเนื้อรูปวงแหวนที่อยู่ส่วนปลายของหลอดอาหารเกิดอ่อนแรง
GORD ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก และรู้สึกถึงรสเปรี้ยวแปลก ๆ ที่หลังคอ ภาวะนี้อาจเป็นเพียงภาวะที่สร้างความไม่สบายตัวแก่คนไข้บางราย แต่สำหรับรายที่มีอาการรุนแรง ปัญหานี้อาจจะส่งผลไปตลอดชีวิตได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
GORD มักควบคุมได้ด้วยการดูแลตนเองและการใช้ยา ในบางกรณีก็อาจต้องมีการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาตามความจำเป็น
เนื้อหาจากเอกสารชุดนี้จะเน้นไปยัง GORD ในผู้ใหญ่
อาการของโรคกรดไหลย้อน
อาการของโรคกรดไหลย้อน (GORD) มีดังนี้: แสบร้อนกลางอก (รู้สึกแสบร้อนภายในอกที่มักเกิดขึ้นหลังการรับประทานอาหาร) (Heartburn) กรดไหลย้อน (กรดในกระเพาะกลับขึ้นไปทางปาก ทำให้เกิดความไม่สบายตัว และได้รสเปรี้ยวของกรด) หลอดอาหารอักเสบ (oesophagitis) มีกลิ่นปาก ท้องอืด และเรอ รู้สึกคลื่นไส้ เจ็บปวดขณะกลืน และ/หรืออาการกลืนอาหารลำบาก (difficulty swallowing)
อาการแสบร้อนกลางอก
อาการแสบร้อนกลางอก (Heartburn) เป็นอาการแสบที่เกิดขึ้นภายในอกที่สร้างความไม่สบายตัวอย่างมาก โดยมากมักจะเกิดขึ้นใต้กระดูกหน้าอก แต่ก็สามารถกระจายออกไปจนถึงคอได้ในบางกรณี
ความไม่สบายตัวนี้จะทรุดลงขณะรับประทานอาหาร หรือเมื่องอตัวหรือนอนลง
อาการกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน (Acid reflux) เป็นอาการที่กรดและของในกระเพาะถูกดันกลับเข้าไปในคอและช่องปาก อาการนี้สร้างความไม่สบายตัว และทำให้ได้รสเปรี้ยวที่หลังคอ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการอื่น ๆ
หากคุณเป็น GORD คุณอาจจะประสบกับอาการดังต่อไปนี้เพิ่มเติมจากข้างต้นได้อีก: อาการปวดและอักเสบของหลอดอาหาร ลมหายใจเหม็น รู้สึกคลื่นไส้ กลืนอาหารลำบาก ความเจ็บปวดขณะกลืน เจ็บคอ และเสียงแหบ อาการไอเรื้อรัง หรือเสียงวี้ดสูงที่มักจะแย่ในช่วงกลางคืน ฟันผุ และโรคเหงือก
หากคุณเป็นโรคหอบหืด (asthma) อาการมักจะรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากกรดไปทำให้ทางเดินอากาศระคายเคืองด้วย
จะทำอย่างไรหากคุณเป็นโรคกรดไหลย้อน?
คุณสามารถควบคุมอาการของ GORD ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตและทานยาที่หาได้จากร้านขายยา
คุณไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์หากว่าคุณประสบกับอาการเป็นครั้งคราว คุณสามารถสอบถามเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำแทนได้
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
ควรไปพบแพทย์เมื่อคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการของตนเอง หรือหากว่า: คุณมีอาการหลายครั้งต่อหนึ่งสัปดาห์ ใช้ยาจากร้านขายยาแล้วไม่ได้ผล คุณมีอาการกลืนลำบาก อาการของคุณรุนแรงมาก คุณมีสัญญาณของปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ เช่นอาเจียนเรื้อรัง อาเจียนปนเลือด หรือมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างอธิบายไม่ได้
แพทย์มักจะสามารถวินิจฉัย GORD ได้จากอาการของคุณ และอาจต้องจัดการทดสอบบางอย่างขึ้นตามความจำเป็น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อน (Gastro-oesophageal reflux disease - GORD) เป็นภาวะที่พบเห็นได้ทั่วไป ที่ซึ่งกรดจากกระเพาะอาหารรั่วไหลขึ้นไปยังหลอดอาหาร (gullet) โดยมากมักจะเกิดมาจากการที่กล้ามเนื้อรูปวงแหวนที่อยู่ส่วนปลายของหลอดอาหารเกิดอ่อนแรง
โดยปรกติแล้ว กล้ามเนื้อรูปแหวนนี้จะทำหน้าที่เปิดให้อาหารเข้าไปในกระเพาะ และปิดเพื่อหยุดการรั่วไหลของกรดไปสู่หลอดอาหาร
สำหรับผู้ป่วย GORD จะมีกรดรั่วไหลกลับออกไปที่หลอดอาหารจนทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกขึ้นมา
ยังไม่มีรายงานสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อรูปแหวนอ่อนแอลง แต่ก็มีบางสิ่งที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้
ใครมีความเสี่ยงต่อโรคกรดไหลย้อนมากที่สุด?
ปัจจัยดังต่อไปนี้จะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคกรดไหลย้อนมากขึ้น:
- การที่มีน้ำหนักร่างกายมากเกินหรือภาวะอ้วน (obese): ปัจจัยนี้จะเพิ่มแรงกดบนกระเพาะและทำให้กล้ามเนื้อใต้หลอดอาหารอ่อนแอลง
- การทานอาหารไขมันสูงปริมาณมาก ๆ : กระเพาะจะใช้เวลากำจัดน้ำย่อยที่ใช้ย่อยอาหารไขมันสูงนาน และอาจทำให้เกิดกรดเกินที่สามารถรั่วไหลเข้าไปในหลอดอาหารได้
- การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ หรือช็อคโกแลต: อาหารหรือสารพิษจากบุหรี่จะไปทำให้กล้ามเนื้อปลายหลอดอาหารคลายตัวลง
- การตั้งครรภ์: ความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนและแรงกดที่หน้าท้องระหว่างตั้งครรภ์สามารถทำให้เกิด GORD ได้
- ภาวะไส้เลื่อนกระบังลม (hiatus hernia): ภาวะที่ส่วนของกระเพาะดันขึ้นไปที่กระบังลม (เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อบาง ๆ ระหว่างหน้าอกกับท้อง)
- โรคกระเพาะอาหารบีบตัวช้า (gastroparesis): ภาวะที่กระเพาะใช้เวลากำจัดน้ำย่อยนาน ซึ่งทำให้เกิดกรดเกินที่อาจรั่วไหลไปสู่หลอดอาหารได้
- ยาบางประเภท: ยาบางชนิดสามารถทำให้เกิด GORD ขึ้น หรือทำให้อาการแย่ลงได้ เช่น calcium-channel blockers (ที่ใช้รักษาภาวะความดันโลหิตสูง) nitrates (ที่ใช้รักษาอาการเจ็บเค้นหน้าอก) และยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs - NSAID)
- ความเครียด
GORD ยังส่งผลไปยังญาติใกล้เคียงของคุณได้เช่นกัน ทำให้เชื่อกันว่าโรคนี้สามารถส่งต่อผ่านพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูก ยกตัวอย่างเช่น หากพ่อหรือ/และแม่ของคุณเป็น GORD จะทำให้คุณมีโอกาสเป็นโรค GORD มากขึ้น
การวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน
แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนได้จากการสังเกตอาการของคุณ โดยพวกเขาอาจจัดจ่ายยาที่ใช้รักษาโรคโดยที่คุณอาจไม่จำเป็นต้องรับการทดสอบเพิ่มเติมใด ๆ
การทดสอบโรคกรดไหลย้อนจะเกิดขึ้นเมื่อใด?
คุณมักจะถูกส่งไปรับการทดสอบตามโรงพยาบาลหากว่า: แพทย์ผู้ดูแลไม่มั่นใจว่าคุณเป็น GORD จริงหรือไม่ อาการของคุณเรื้อรัง รุนแรง หรือผิดปรกติ ยาที่จ่ายให้ไม่สามารถควบคุมอาการของคุณได้ แพทย์คาดว่าคุณอาจจะได้รับผลดีจากการผ่าตัดมากกว่า คุณมีสัญญาณของภาวะร้ายแรงหรือที่เป็นอันตรายมากกว่า เช่นอาการกลืนลำบาก หรือมีน้ำหนักลดอย่างหาสาเหตุไม่ได้ เป็นต้น
การทดสอบจะสามารถช่วยยืนยันการวินิจฉัย GORD ตรวจหาสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ของอาการ และช่วยชี้ถึงกระบวนการผ่าตัดที่เหมาะสมกับคุณได้
การทดสอบโรคกรดไหลย้อน
การทดสอบอาจมีดังต่อไปนี้: การสอดกล้อง (endoscopy) การทดสอบด้วยสารแบเรียม การตรวจการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร (manometry) การสอดส่องค่า pH ตลอด 24 ชั่วโมง การตรวจเลือด
การทดสอบส่องกล้อง
การทดสอบส่องกล้อง (endoscopy) คือกระบวนการที่ตรวจสอบภายในร่างกายด้วยการใช้ endoscope ซึ่งเป็นท่อเรียวยาวที่มีไฟฉายและกล้องติดอยู่ที่ปลาย
กล้อง endoscope จะถูกค่อย ๆ สอดผ่านลำคอลงไปทางปาก กระบวนการนี้จะใช้ยาระงับประสาทกับคุณ ทำให้คุณรู้สึกตัวตลอดกระบวนการแต่จะไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ
กล้องจะแสดงภาพพื้นผิวหลอดอาหารของคุณว่าได้รับความเสียหายจากกรดเช่นไร กระนั้นผู้ป่วย GORD บางรายอาจจะไม่ประสบกับภาวะเสียหายชัดเจนก็ได้
การทดสอบทานหรือกลืนสารแบเรียม
การกลืนสารแบเรียมคือการทดสอบเพื่อประเมินความสามารถในการกลืนและมองหาการอุดตันหรือความผิดปรกติภายในหลอดอาหาร
คุณจะได้รับสารละลายแบเรียมเข้าร่างกายก่อนทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ โดยแบเรียมเป็นสารที่ไม่อันตรายที่จะทำให้ภาพระบบทางเดินอาหารปรากฏบนฟิล์มเอกซเรย์อย่างชัดเจน
ก่อนเข้ารับการทดสอบนี้คุณจะถูกห้ามไม่ให้รับประทานอะไรก่อนไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งหลังจากกระบวนการคุณก็สามารถทานหรือดื่มได้ตามปรกติ กระนั้นคุณอาจจะต้องทำการดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อชะล้างแบเรียมตกค้างออกจากร่างกายให้หมด
การทดสอบการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร
การตรวจการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร (manometry) ถูกใช้เพื่อประเมินว่ากล้ามเนื้อวงแหวนที่ปลายหลอดอาหารทำงานได้ดีเช่นไรด้วยการวัดแรงกดภายในหลอดอาหาร
กระบวนการนี้จะชี้ชัดถึงสาเหตุของอาการคุณ และเป็นข้อมูลที่ช่วยกำหนดหัตถกรรมที่เหมาะสมกับคุณ
ระหว่างกระบวนการทดสอบนี้ จะมีการสอดท่อขนาดเล็กผ่านจมูกของคุณลงไปตามหลอดอาหาร ท่อดังกล่าวจะมีตัวเซนเซอร์วัดแรงกดที่จะตรวจจับแรงกดภายในหลอดอาหาร
การสอดส่องค่า pH ตลอด 24 ชั่วโมง
การสอดส่องค่า pH ตลอด 24 ชั่วโมง (24-hour pH monitoring) เป็นการวัดระดับความเป็นกรดด่าง (pH) ภายในหลอดอาหารเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค GORD ที่ไม่สามารถตรวจพบได้ระหว่างการสอดกล้อง
ระดับความเป็นกรดจะถูกวัดค่าต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงโดยใช้ท่อเรียวที่มีเซนเซอร์ที่จะสอดผ่านจมูกลงไปยังหลอดอาหาร ท่อดังกล่าวจะเชื่อมกับอุปกรณ์บันทึกค่าที่ติดอยู่ที่เอวของคุณตลอดเวลา
คุณจะต้องทำการกดปุ่มบันทึกด้วยตนเองทุกครั้งที่คุณเริ่มมีอาการ โดยระหว่างการสอดท่อนั้นคุณสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ซึ่งควรจะทานอาหารตามปรกติเพื่อให้ได้ซึ่งผลการวัดที่แม่นยำที่สุด
การตรวจเลือด
บางครั้งอาจมีการตรวจเลือดเพื่อตรวจหาภาวะโลหิตจาง (anaemia) เพื่อตรวจหาสัญญาณของภาวะเลือดออกภายใน
การรักษาโรคกรดไหลย้อน
อาการแสบร้อนกลางอกและ GORD สามารถรักษาได้ด้วยหลักการดูแลตนเองง่าย ๆ และยาที่หาซื้อจากร้านขายยา
แต่หากยาที่คุณซื้อเองไม่ได้ผล แพทย์จะสามารถจัดจ่ายยาที่แรงขึ้นหรือส่งคุณไปพบผู้เชี่ยวชาญแทน
โดยข้อมูลคร่าว ๆ ของการรักษา GORD ทั่วไปมีดังนี้:
หลักการดูแลตนเอง: รวมไปถึงการทานอาหารมื้อเล็กแต่บ่อยครั้ง เลี่ยงการทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ยกศีรษะขณะนอนหลับ และควบคุมน้ำหนักร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
ทานยาจากร้านขายยา: รวมไปถึง proton-pump inhibitors (PPIs) และ H2-receptor antagonists (H2RAs)
คุณอาจต้องใช้ยาเพื่อจัดการกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น กระนั้นหากเกิดปัญหาขึ้นเรื่อย ๆ คุณควรต้องเข้ารับการรักษาระยะยาวแทน
การผ่าตัดเพื่อหยุดการรั่วไหลของกรดในกระเพาะอาหารจะนำมาพิจารณาหากว่าคุณไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือคุณไม่ต้องการใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะยาว
การดูแลตนเอง
คุณสามารถปฏิบัติตามหลักการต่อไปนี้เพื่อลดอาการแสบร้อนกลางอกและอาการอื่น ๆ ของ GORD ได้:
ทานอาหารมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อยครั้งแทนการทาน 3 มื้อใหญ่ต่อวัน: ไม่รับประทานหรือดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน 3 หรือ 4 ชั่วโมง และเลี่ยงทานอาหารมื้อใหญ่เป็นมื้อเย็น
เลี่ยงการทานอาหารที่ทำให้เกิดอาการ: โดยประเภทอาหารที่มักทำให้เกิดอาการคือกาแฟ ช็อคโกแลต มะเขือเทศ แอลกอฮอล์ อาหารไขมันสูง และอาหารรสเผ็ด
ไม่สวมเสื้อผ้าแน่นเกินไป: เนื่องจากอาจไปรัดบริเวณหน้าท้องและทำให้อาการแย่ลงได้
ยกปลายเตียงส่วนหัวให้สูงขึ้นประมาณ 20cm: คุณอาจใช้วิธีวางแผ่นไม้หรืออิฐใต้ที่นอนของคุณเพื่อช่วยลดอาการที่อาจเกิดตอนกลางคืน อย่าพยายามใช้หมอนหนุนเพราะความสูงขนาดนั้นอาจยิ่งสร้างภาระแก่ท้องของคุณมากขึ้น
พยายามผ่อนคลาย: ความเครียดจะทำให้อาการแสบร้อนและภาวะ GORD ทรุดลง
ดูแลน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี: หากคุณมีน้ำหนักร่างกายมากเกิน การลดน้ำหนักจะช่วยลดอาการของคุณได้
เลิกสูบบุหรี่: บุหรี่จะไปสร้างความระคายเคืองแก่ระบบย่อยอาหารและทำให้อาการแย่ลง
หากคุณกำลังใช้ยารักษาภาวะสุขภาพอื่นอยู่ ควรตรวจสอบยาที่ใช้กับแพทย์เพื่อหาว่ายานั้นส่งผลต่ออาการของคุณอย่างไร
ยาที่คุณใช้อยู่อาจจะสามารถใช้ยาตัวอื่นทดแทนได้ กระนั้นคุณห้ามหยุดยาที่แพทย์จ่ายให้เองโดยพลการนอกจากจะทำการปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลแล้ว
การใช้ยา
มียามากมายที่สามารถรักษาอาการจาก GORD ได้
ยาจากร้านขายยา
ยาที่ใช้รักษาอาการแสบร้อนกลางอกและ GORD มีวางจำหน่ายตามร้านขายยาโดยที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งจากแพทย์ โดยมีประเภทดังนี้: antacids: ยาลดผลจากกรดในกระเพาะอาหาร alginates: ยาเคลือบกระเพาะและหลอดอาหารจากกรด proton-pump inhibitors และ H2-receptor antagonists ขนาดต่ำ
ยาดังกล่าวอาจจะไม่เหมาะกับทุกคน ดังนั้นคุณควรอ่านคำแนะนำจากฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรก่อนเพื่อความมั่นใจ
Proton-pump inhibitors (PPI)
หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นแม้จะลองปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นกับทานยาไปแล้ว แพทย์อาจทำการจ่าย PPI ที่ช่วยลดปริมาณกรดที่กระเพาะอาหารผลิตออกมาแก่คุณ
แพทย์มักจะให้ยามาสำหรับหนึ่งเดือน คุณควรกลับไปพบแพทย์หากว่ายาไม่ได้ผลหรือคุณมีอาการต่าง ๆ กลับมาหลังใช้ยาครบแล้ว เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยา PPI เป็นระยะเวลานานกว่านั้น
ผลข้างเคียงจาก PPI มักจะไม่รุนแรง โดยอาจทำให้มีอาการปวดศีรษะ ท้องร่วงหรือท้องผูก คลื่นไส้ ปวดท้อง วิงเวียน และผื่นขึ้นเท่านั้น
แพทย์จะจ่ายยาในขนาดที่ต่ำที่สุดที่สามารถควบคุมอาการของคุณได้อยู่เพื่อลดความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากยาข้างต้น
H2-receptor antagonists (H2RA)
หาก PPI ไม่สามารถควบคุมอาการของคุณได้ แพทย์จะแนะนำยา H2RA ให้คุณใช้ร่วมกับ PPI ในระยะเวลาสั้น ๆ หรือไม่ก็เปลี่ยนมาใช้ยากลุ่มนี้เดี่ยว ๆ ไปเลยตามกรณี
เช่นเดียวกับ PPI H2RA สามารถลดกรดที่ผลิตโดยกระเพาะอาหารได้
ส่วนผลข้างเคียงจาก H2RA นั้นพบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งอาจมีอาการท้องร่วง ปวดศีรษะ วิงเวียน ผื่นขึ้น และเหน็ดเหนื่อยอ่อนแรง
การผ่าตัด
การผ่าตัดจะนำมาพิจารณาเป็นทางเลือกการรักษาก็ต่อเมื่อ: การรักษาข้างต้นไม่ได้ผล ไม่เหมาะสม หรือทำให้คุณประสบกับผลข้างเคียงจากยารุนแรง คุณไม่ต้องการใช้ยาระยะยาว
หัตถการที่มักดำเนินการกันมากที่สุดเรียกว่า laparoscopic Nissen fundoplication (LNF) แต่ก็มีเทคนิคผ่าตัดแบบใหม่ที่เพียงถูกคิดค้นขึ้นมาซึ่งยังคงไม่เป็นที่นิยมกันนัก
Laparoscopic Nissen fundoplication (LNF)
LNF เป็นหัตถกรรมรูกุญแจ (laparoscopic หรือ "keyhole" surgery) ที่เป็นการใช้เครื่องมือผ่าตัดชนิดพิเศษสอดผ่านรอยกรีดขนาดเล็กเข้าไปในผิวหนัง
กระบวนการนี้จะดำเนินการเพื่อดึงให้กล้ามเนื้อวงแหวนที่ส่วนปลายหลอดอาหารแน่นขึ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการรั่วไหลของน้ำย่อยได้ และต้องดำเนินการตามโรงพยาบาลโดยใช้ยาสลบกับคนไข้
ผู้ป่วยส่วนมากจะต้องพักฟื้นต่อที่โรงพยาบาล 2 หรือ 3 วัน คุณอาจสามารถกลับไปทำงานได้อีกครั้ง 3 ถึง 6 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับว่าคุณทำอาชีพอะไร
หลังจากผ่าตัด 6 สัปดาห์แรก คุณควรทานเฉพาะอาหารอ่อน เช่นซุปหรือมันฝรั่งบด เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจยังคงมีปัญหาด้านการกลืน การเรอ และท้องอืดหลัง LNF บ้าง ซึ่งอาการเหล่านี้ควรจะดีขึ้นเองตามระยะเวลาฟื้นตัว
หัตถกรรมและกระบวนการแบบใหม่
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีเทคนิครักษา GORD แบบใหม่เกิดขึ้นมากมาย โดยทางสถาบันเพื่อความเป็นเลิศทางสุขภาพและการดูแล (NICE) ได้กล่าวว่ากระบวนการเหล่านั้นล้วนปลอดภัย แต่ยังคงขาดแคลนข้อมูลเรื่องผลกระทบระยะยาวอยู่
โดยเทคนิคที่จะกล่าวถึงมีดังต่อไปนี้:
- Endoscopic injection of bulking agents: เป็นการฉีดฟิลเลอร์ชนิดพิเศษเข้าไปในพื้นที่ระหว่างกระเพาะอาหารกับหลอดอาหารเพื่อทำให้เกิดความตีบแคบมากขึ้น
- Endoluminal gastroplication: เป็นการเย็บรอยพับเข้าไปในวงแหวนกล้ามเนื้อที่ปลายหลอดอาหารเพื่อจำกัดการเปิดออกของกล้ามเนื้อ
- Endoscopic augmentation with hydrogel implants: เป็นการปลูกถ่ายเจลประเภทพิเศษให้อยู่บนพื้นที่ระหว่างกระเพาะอาหารกับหลอดอาหารเพื่อทำให้ตีบแคบขึ้น
- Endoscopic radiofrequency ablation: เป็นการสอดบอลลูนขนาดเล็กเข้าไปที่ส่วนปลายของหลอดอาหาร และเชื่อมด้วยอีเล็กโตรดเพื่อให้ความร้อนและทำให้ตีบขึ้น
- Laparoscopic insertion of a magnetic bead band (LINX): เป็นการร้อยกำไลแม่เหล็กรอบส่วนล่างสุดของหลอดอาหารเพื่อเสริมความแข็งแรงและช่วยให้กล้ามเนื้อปิดตัวขณะไม่ได้ใช้งาน (ขณะที่ไม่ได้กลืนอาหาร)
คุณควรปรึกษากับศัลยแพทย์เกี่ยวกับเทคนิคข้างต้นเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจ
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคกรดไหลย้อน
หากคุณเป็น GORD มานาน กรดในกระเพาะอาหารจะไปสร้างความเสียหายแก่หลอดอาหาร และทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ดังนี้:
แผลบนหลอดอาหาร: อาจมีเลือดออกและทำให้เกิดการอาการเจ็บปวดขณะกลืนอาหาร
หลอดอาหารเสียหายและตีบแคบ: ทำให้กลืนอาหารลำบากและจำต้องเข้ารับการผ่าตัดแก้ไข
การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุของหลอดอาหาร (Barrett's oesophagus): ในบางกรณี เซลล์เหล่านี้ก็อาจจะเปลี่ยนไปเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ ดังนั้นจึงเป็นภาวะที่แพทย์ต้องทำการสอดส่องอย่างใกล้ชิด
แผลที่หลอดอาหาร
กรดในกระเพาะอาหารที่รั่วไปยังหลอดอาหารจะไปทำลายเยื่อบุของหลอดอาหารจนทำให้เกิดแผลขึ้น
แผลเหล่านั้นสามารถมีเลือดออกได้ ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดและทำให้กลืนอาหารลำบากขึ้น
การใช้ยารักษา GORD อย่าง proton pump inhibitors (PPI) จะสามารถรักษาแผลได้ด้วยการลดปริมาณกรดที่รั่วเข้าไปในหลอดอาหาร
หลอดอาหารเป็นแผลและตีบแคบ
ความเสียหายซ้ำซากที่หลอดอาหารจากกรดทำให้หลอดอาหารเกิดความเสียหายและตีบแคบลง
ภาวะนี้เรียกว่าหลอดอาหารตีบ (oesophageal stricture) และจะทำให้การกลืนทำได้ลำบากขึ้นเนื่องจากความเจ็บปวด
หากเกิดเช่นนี้ขึ้น จะมีกระบวนการขยายหลอดอาหารด้วยบอลลูนขนาดเล็กหรืออุปกรณ์ขยายอื่น ๆ ตามคำแนะนำของแพทย์
Barrett's oesophagus
การเกิดอาการของ GORD ซ้ำซากจะไปสร้างความเปลี่ยนแปลงกับเซลล์เยื่อบุหลอดอาหารชั้นล่าง ภาวะเช่นนี้เรียกว่า Barrett's oesophagus
คาดกันว่ามีผู้ป่วย GORD 1 คนจากทุก ๆ 10 คนที่เกิดภาวะ Barrett's oesophagus ขึ้น และมักจะเป็นเช่นนี้หลังจากป่วยมานานแรมปี
Barrett's oesophagus จะไม่ก่อให้เกิดอาการที่ชัดเจนเหมือนที่เกิดจาก GORD อย่างไรก็ตามความเปลี่ยนแปลงของผนังเซลล์ก็อาจเปลี่ยนไปเป็นเซลล์เนื้อร้ายได้ในอนาคต โดยแพทย์แนะนำให้คุณเข้ารับการตรวจส่องกล้องทุก ๆ สองถึงสามปีเพื่อตรวจหาภาวะอันตรายนี้
มะเร็งหลอดอาหาร
คาดกันว่ามีผู้ป่วยภาวะ Barrett's oesophagus 1 คนจากทุก ๆ 10-20 คนกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารภายใน 10-20 ปี
อาการของมะเร็งหลอดอาหารมีดังนี้: กลืนลำบาก น้ำหนักลดโดยหาสาเหตุไม่ได้ อาหารไม่ย่อยเรื้อรัง เสียงแหบห้าว ไอเรื้อรัง และอาจจะไอปนเลือดได้ อาเจียน
ควรปรึกษาแพทย์เมื่อคุณประสบกับอาการกลืนลำบาก หรือมีอาการเรื้อรังผิดปรกติต่าง ๆ
โดยมากมักจะแนะนำให้คุณเข้ารับการผ่าตัดกำจัดมะเร็งที่ยังอยู่ในระยะต้นอยู่