ผลการวิจัยพบว่า คนกรุงเทพเป็นโรคอาหารไม่ย่อย และกรดไหลย้อนเพิ่มมากขึ้น

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

จุบัน พบว่าผู้ป่วยระบบทางเดินอาหารที่มีอาการอาหารไม่ย่อยและกรดไหลย้อน มีจำนวนสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนเมือง จากการศึกษาวิจัยพบว่า 20% ของผู้ป่วยจะมีอาการ 2 อย่างพร้อมกัน โดยผู้ป่วยมักแยกความแตกต่างอาการของโรคไม่ออก

ในปัจจุบันเริ่มมี จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น แต่ก็มีผู้ป่วยที่ให้ความสำคัญกับตัวเอง และเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์มากขึ้น เพื่อรับการรักษาเบื้องต้น บรรเทาอาการในระยะแรก ทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือนเดิม

‘แพทย์หญิงวิภากร เพิ่มพูล’ อายุร แพทย์ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ว่า โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับ คนทุกเพศ ทุกวัย เพราะการใช้ชีวิตของคนที่เปลี่ยนไป เร่งรีบ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์และไม่ตรงเวลา การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้น แม้จะพบผู้ป่วยที่เป็นโรคในระดับที่รุนแรงในจำนวนไม่สูงนัก แต่กลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการพัฒนาของโรคเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ และอาจลุกลามไปเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ การรักษาเบื้องต้นจึงมีความสำคัญมากที่จะบรรเทาอาการในระยะแรก โดยผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นที่ต่างกันได้

สำหรับอาการอาหาร ไม่ย่อยนั้นเกิดจากการมีกรดเกินในกระเพาะอาหาร จึงทำให้มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียด อิ่มเร็ว เรอมาก เป็นอาการเด่น ส่วนกรดไหลย้อน ผู้ป่วยจะมีอาการจุกแน่นอยู่ที่หน้าอกคล้ายอาหารไม่ย่อย แต่จะมีอาการแสบร้อนกลางอก เรอบ่อย จุกคอ ไอมาก เจ็บคอเรื้อรัง เพราะเกิดจากหูรูดที่กั้นระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเสื่อมหรือปิดไม่ สนิท ทำให้กรดที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจรวมไปถึงเอนไซม์เปบซินและน้ำดีมีการไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ก่อให้เกิดการระคายเคืองหลอดอาหาร และทำให้เกิดการเจ็บปวดแบบแสบร้อนในอก

สาเหตุ ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกรด ไหลย้อน คือปัจจัยเรื่องโรคอ้วน การตั้งครรภ์ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่นิยมอาหาร รสจัด อาหารขยะหรือมันเกินไป การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ นอนทันทีหลังมื้ออาหาร รวมถึงความเครียดที่เป็นตัวกระตุ้นให้อาการของโรคทวีความรุนแรงมาก

ดัง นั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น ก็ควรป้องกันตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เช่นปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารไขมันเยอะ เพราะทำให้การย่อยช้าลง เลี่ยงอาหารรสจัด งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เพราะอาหารเหล่านี้จะสร้างลมในทางเดินอาหาร ซึ่งจะดันกรดและอาหารที่ยังย่อยไม่หมดขึ้นไปสู่กระเพาะและหลอดอาหารได้

แบ่ง ย่อยอาหารมื้อหลัก จากวันละ 3 มื้อ เป็น 5-6 มื้อต่อวัน และเข้านอนหลังจากมื้ออาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมง การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที จะช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ส่วนในกรณีของผู้ที่มีอาการบ่อย ควรยกหัวเตียงนอนให้สูงขึ้น จะสามารถช่วยลดอาการได้ ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วย ก็ขอให้คำนึงถึงการใช้ยาที่ถูกกับโรคและอาการ รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องตามที่แนะนำข้างต้นจะสามารถช่วยบรรเทาอาการ ได้”

อาการอาหารไม่ย่อยและกรดไหลย้อน แม้จะไม่ใช่โรคที่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็ควรให้ความสำคัญในการรักษาและดูแลตัวเอง ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น เพราะโรคดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และสามารถนำไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นที่รุนแรงขึ้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Indigestion. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/indigestion/)
Indigestion and Heartburn Differences. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/indigestion-vs-heartburn-1742319)
7 Indigestion Symptoms: Dyspepsia Signs, Causes & Remedies. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/dyspepsia/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป