12 โรคที่ผ่าตัดวันเดียวแล้วกลับบ้านได้

ไม่ใช่ทุกการผ่าตัดที่ทำเสร็จแล้วต้องนอนพักในโรงพยาบาล มีอะไรบ้างมาดูกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 15 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 21 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
12 โรคที่ผ่าตัดวันเดียวแล้วกลับบ้านได้

ใครที่เคยเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลหรือพาญาติพี่น้องไปหาหมอที่โรงพยาบาลรัฐ คงจะทราบดีว่าโรงพยาบาลเป็นสถานที่ที่มีคนมาใช้บริการจำนวนมาก เฉพาะแผนกผู้ป่วยนอกก็อาจต้องรอคิวรักษากันเป็นวันๆ ส่วนแผนกผู้ป่วยในก็มีผู้ป่วยเต็มทุกเตียงจนแออัด บุคลากรทางการแพทย์ก็ต้องทำงานหนักจนไม่ได้พักผ่อน จนบางครั้งถึงขั้นต้องกลายเป็นคนป่วยซะเอง สภาพแวดล้อมแบบนี้ล้วนบั่นทอนสุขภาพกายและสุขภาพจิตของทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการอย่างยิ่ง

เพื่อลดปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขจึงได้วางยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับยุค Thailand 4.0 โดยเน้นการใช้นวัตกรรมมาปรับปรุงพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและย่นระยะเวลาให้รวดเร็วมากขึ้น จึงเป็นที่มาของนโยบาย การผ่าตัดวันเดียวกลับบ้าน หรือ One Day Surgery (ODS) ซึ่งเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2561 เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีและความพึงพอใจของทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การผ่าตัดวันเดียวกลับบ้าน หรือ ODS เป็นการผ่าตัดที่ใช้เวลาไม่นาน เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้วสามารถกลับไปดูแลพักฟื้นที่บ้านได้ทันที ไม่ต้องรับเป็นผู้ป่วยใน และไม่ต้องนอนค้างคืนที่โรงพยาบาล ในการเข้ารับการผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องเตรียมตัวจากบ้าน และมาโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดเท่านั้น วิธีนี้จะช่วยลดระยะเวลาที่ต้องอยู่โรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและของรัฐ ลดความแออัดของสถานที่ และลดปริมาณงานของเจ้าหน้าที่ลงได้

12 โรคที่ผ่าตัดและกลับบ้านได้ภายในวันเดียว

  1. โรคไส้เลื่อนที่ขาหนีบ ภาวะที่เนื้อเยื่อไขมันหรือส่วนของลำไส้ใหญ่ดันตัวออกไปยังขาหนีบหรือส่วนช่องท้องเหนือต้นขา
  2. ถุงน้ำที่อัณฑะ ภาวะที่มีของเหลวขังอยู่บริเวณโพรงระหว่างเยื่อหุ้มอัณฑะจำนวนมากจนกลายเป็นถุงน้ำ หากมีขนาดใหญ่มากอาจทำให้เดินหรือปัสสาวะไม่สะดวก
  3. โรคริดสีดวงทวาร ภาวะที่หลอดเลือดดำลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มีอาการบวม โป่งพอง รวมถึงมีหลอดเลือดบางส่วนยื่นออกมาจากทวารหนัก
  4. ภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด โดยที่ไม่ใช่ประจำเดือน บางครั้งอาจพบก้อนเลือดขนาดใหญ่หลุดออกมาด้วย
  5. เส้นเลือดดำโป่งพองในหลอดอาหาร และโรคกระเพาะอาหาร
  6. ภาวะหลอดอาหารตีบ ภาวะที่ส่วนล่างของหลอดอาหารบีบตัวแล้วไม่ยอมคลายตัว ทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หรือขย้อนอาหารออกมา
  7. ภาวะอุดตันของหลอดอาหารจากมะเร็งหลอดอาหาร
  8. ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ หากติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่มากอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องร่วง และมีเลือดออกปนอุจจาระ
  9. โรคนิ่วในท่อน้ำดี ภาวะที่บิลิรูบินและคอเลสเตอรอลตกตะกอนกลายเป็นก้อนในถุงน้ำดี หากไปติดค้างบริเวณปากท่อ อาจทำให้เกิดอาการปวดเสียดท้อง
  10. โรคนิ่วในท่อของตับอ่อน
  11. ภาวะท่อน้ำดีตีบ
  12. ภาวะตับอ่อนตีบ

ข้อดีของการผ่าตัดวันเดียวกลับบ้าน

  • ลดความแออัดของโรงพยาบาล ทำให้มีจำนวนเตียงเหลือมากขึ้น และรับรักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น
  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวผู้ป่วย รวมถึงลดค่าใช้จ่ายของรัฐได้
  • ลดระยะเวลาที่ต้องรอการผ่าตัดและระยะเวลาที่ต้องนอนโรงพยาบาล อีกทั้งลดความยุ่งยากของผู้ป่วยและญาติในการดูแลด้วย
  • ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลหลังการผ่าตัด
  • ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการที่มีมาตรฐานและปลอดภัยได้มากขึ้น
  • ช่วยลดปริมาณงานของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ทำให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตของบุคลากรดีขึ้น

ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้เข้ารับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับบ้าน

  • ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้องมีการประเมินเบื้องต้นว่าไม่มีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงว่าจะมีโรคแทรกซ้อนในขณะและหลังผ่าตัด หรือหากมีก็ต้องได้รับการประเมินว่าโรคดังกล่าวสามารถควบคุมได้ตามเกณฑ์
  • ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้องเตรียมตัวมาจากบ้านตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น การงดน้ำงดอาหาร งดการทานยาบางชนิด
  • หลังผ่าตัดเสร็จสิ้นและกลับไปพักที่บ้าน ผู้รับการผ่าตัดต้องดูแลแผลผ่าตัดให้ดีตามที่แพทย์แนะนำ และมาล้างแผลที่สถานพยาบาลตามระยะเวลาที่กำหนด และเมื่อถึงเวลาตัดไหม ต้องให้แพทย์หรือพยาบาลเป็นผู้ดำเนินการให้

1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Recommendation for the service system ODS (One Day surgery), โดย กรมการแพทย์ et al., พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2560

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป