กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การเดินและสมดุลผิดปกติ (Gait abnormality)

เผยแพร่ครั้งแรก 15 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

การเดิน คือกระบวนการเกี่ยวกับความสมดุลที่มีความสลับซับซ้อน เนื่องจากเป็นการเคลื่อนไหวที่อยู่บนฐานของการทำงานอย่างถูกต้องของส่วนต่างๆ ในร่างกาย รวมไปถึงหู ดวงตา สมอง กล้ามเนื้อ และประสาทรับรู้ หากเกิดปัญหาขึ้นกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งข้างต้น ก็อาจส่งผลต่อการเดินที่ผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เสียการทรงตัว และหกล้มได้

อาการของปัญหาการเดินและสมดุลผิดปกติ

อาการที่บ่งชี้ถึงปัญหาการเดินและสมดุลผิดปกติ ได้แก่ เดินลำบาก ทรงตัวลำบาก และอยู่ไม่นิ่ง และผู้ป่วยมักจะมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมอยู่ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของการเกิดปัญหาการเดินและสมดุลผิดปกติ

สาเหตุที่อาจทำให้เกิดปัญหาการเดินและสมดุลผิดปกติ ได้แก่ การบาดเจ็บ การกระทบกระแทกการอักเสบ และการได้รับความเจ็บปวด หากมีปัญหาในด้านนี้ระยะยาว อาจเกิดจากปัญหาด้านระบบประสาทและกล้ามเนื้อต่างๆ ดังนี้

การวินิจฉัยปัญหาการเดินและสมดุลผิดปกติ

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและระบบประสาท เพื่อวินิจฉัยปัญหาการเดินและสมดุลร่างกาย โดยอาจทดสอบการได้ยิน ทดสอบหูชั้นใน และทดสอบสายตา เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมในบางกรณี

หากแพทย์สงสัยว่าปัญหาการเดินและสมดุลผิดปกติ เกิดจากปัญหาของระบบประสาท ก็อาจมีการสแกนคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging (MRI)) หรือสแกนคอมพิวเตอร์ (Computed Tomography (CT)) เพื่อตรวจสอบสมองและไขสันหลัง นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจการชักนำประสาท (Nerve Conduction Study) และวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyogram) เพื่อประเมินปัญหากล้ามเนื้อกับปัญหาระบบประสาทส่วนปลาย

การรักษาปัญหาการเดินและสมดุลผิดปกติ

วิธีรักษาปัญหาการเดินและสมดุลผิดปกติจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ ซึ่งก็มีทั้งการรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด บางกรณีผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการบริหารฟื้นฟูการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเพิ่มเติม เพื่อชดเชยกับช่วงเวลาที่การทรงตัวไม่ดี และเรียนรู้วิธีป้องกันการล้ม

สำหรับปัญหาการทรงตัวที่เกิดจากอาการบ้านหมุน ผู้ป่วยอาจต้องเรียนรู้วิธีการจัดวางตำแหน่งของศีรษะเพื่อฟื้นคืนสมดุลร่างกายของตนเอง


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medlineplus, Walking Problems (https://medlineplus.gov/walkingproblems.html)
kidshealth.org, Abnormality of Gait (Gait Abnormality) (https://kidshealth.org/Inova/en/parents/az-abnormality-gait.html)
Walter Pirker, MDcorresponding author1,2 and Regina Katzenschlager, MD3, Gait disorders in adults and the elderly (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5318488/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดกลังปวดเอว.เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรังไม่หายสักที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การปวดหลังเป็นประจำทุกวันเกิดจากอะไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีลูกเป็นเด็ก CP ค่ะ ตอนนี้ทานอาหารทางสายยาง...ไม่ทราบว่าน้องมีโอกาสต้องเจาะใส่สายทางหน้าท้องหรือป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการปวดเมื้อยบริเวณเหนือสะโพก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษายังไงคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)