กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

คันธบำบัด น้ำมันหอมระเหย และทิงเจอร์

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
คันธบำบัด น้ำมันหอมระเหย และทิงเจอร์

คันธบำบัด (Aromatherapy) เป็นการใช้น้ำมันหอมระเหย (เอสเซนเชียลออยล์) จากพืชและสารสกัดจากสารบางชนิด เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายใจให้สมบูรณ์ เป็นการดูแลแบบองค์รวมทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย ความพึงใจและการบำบัดเข้าด้วยกัน มีการปฏิบัติกันมานับเป็นศตวรรษทั่วโลก เพื่อใช้ในการรักษาภาวะต่างๆ ตั้งแต่การบาดเจ็บเล็กน้อยไปจนถึงโรคเจ็บปวดหลายแรง

ถึงแม้นักคันธบำบัด (Aromatherapist) จะใช้น้ำมันจากพืชหลายส่วนด้วยกัน (ใบ กลีบ ดอก เปลือก และราก) แต่ส่วนที่มีความเข้มข้นสูงสุดที่ได้จากพืชแต่ละส่วนเท่านั้นที่จะนำมาใช้ในการรักษา น้ำมันนี้มีวิตามินและเอนไซม์สำคัญและเนื่องจากมันมีความเข้มข้นสูงจึงใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยและให้ผลดีที่สุดเมื่อนำมาเจือจาง อาจนำมาเจือจางกับเครื่องกรองอากาศ หรือในการอาบน้ำ ใช้สูดดมจากขวด หรือผสมกับน้ำมันอื่นแล้วทาบนผิวโดยตรง

ประโยชน์ที่อาจมีต่อสุขภาพ

  • ช่วยรักษาสิว
  • ชะลอความชรา
  • เพิ่มสมาธิ
  • บรรเทาความกังวล
  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
  • ไล่แมลง
  • เพิ่มความแข็งแรงทนทาน
  • กระตุ้นการถ่ายเทน้ำเหลือง เพื่อช่วยลดเซลลูไลต์
  • บรรเทาอาการปวดคอ
  • ลดการปวดศีรษะไมเกรน
  • ดึงของเสียออกจากผิว
  • บรรเทาอาการบวมน้ำ
  • ช่วยลดอาการวัยทอง
  • ช่วยรักษาการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
  • บำรุงสุขภาพผมผิวและเล็บ

 น้ำมันหอมระเหยที่นิยมกัน

  • โหระพา     ช่วยให้ตื่นตัว
  • คาโมมายล์ ผ่อนคลายใครความเครียด
  • อบเชย มีพลัง      กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ
  • เจอราเนียม         สมดุลฮอร์โมนในผู้หญิง
  • จูนิเปอร์             ขับปัสสาวะ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
  • ลาเวนเดอร์         ปัญหาผิวหนัง ปวดกล้ามเนื้อ คลายเครียด
  • ดอกส้ม              สงบ คลายกังวล บำรุงผิว
  • พิมเสนต้น         ลดอาการอักเสบที่ผิวหนัง 
  • โรสวู้ด               ลดการซึมเศร้า 
  • ไม้จันทน์           กระตุ้นภูมิคุ้มกัน กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ
  • ทีทรี                  ต่อต้านเชื้อรา เชื้อไวรัส และแก้สิว
  • กระดังงา            ผ่อนคลาย ลดความดันโลหิต ลดอารมณ์แปรปรวน

ข้อควรระวัง: ไม่ควรนำน้ำมันหอมระเหยมารับประทาน น้ำมันหอมระเหยบางชนิดควรเรียกเลี่ยงขณะตั้งครรภ์รวมทั้งผู้ที่เป็นหอบหืด ลมชัก หรือโรคประจำตัวอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์แพทย์องค์รวมที่เชื่อถือได้หรือแพทย์ธรรมชาติบำบัดที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของสารประกอบแต่ละตัว ก่อนเริ่มใช้น้ำมันเหล่านี้ เก็บให้พ้นมือเด็ก น้ำมันหลายชนิดอาจเป็นพิษได้ แม้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย

ปรากฎว่า ไม่ควรนำน้ำมันหอมระเหยมาทาบนผิวโดยไม่ทำให้เจือจางก่อน

ทิงเจอร์ (Tincture)

ทิงเจอร์หรือยาดองเป็นวิธีที่ช่วยให้รับประทานสมุนไพรได้สะดวก บรรจุในขวดขนาด 1 ออนซ์พร้อมหลอดหยด ทำให้ง่ายต่อการพกพา คุณจึงสามารถรับประทานสมุนไพรได้ทุกเวลาที่ต้องการ สมุนไพรในรูปแคปซูลก็สะดวกในการใช้เช่นกัน แต่สาระสำคัญในสมุนไพรมักแตกตัวหรือถูกดูดซึมได้ยาก ทิงเจอร์จะถูกดูดซึมทันทีที่เข้าสู่ปากแต่แคปซูลจะต้องผ่านการย่อยในกระเพาะก่อน

ในการรับประทานทิงเจอร์ควรลองเริ่มรับประทานจากไม่กี่หยดก่อนเพื่อให้มั่นใจว่าคุณไม่แพ้หลังจากนั้นคุณจึงค่อยๆ เพิ่มขนาดยาตามที่ต้องการ บ่อยครั้งที่คุณอาจต้องใช้ปริมาณถึงสามถึงสี่หลอดหยดเต็มๆ เพื่อให้ได้ผลที่ต้องการ

ควรทราบให้แน่ชัดว่าสมุนไพรนั้นมีฤทธิ์อย่างไรก่อนที่จะรับประทาน โดยทั่วไปแล้วหากคุณรับประทานฮอร์โมน ยารักษาไทรอยด์ ยาในกลุ่มแอนติโคลเนอร์จิก และยาปฏิชีวนะควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะรับประทานสมุนไพรร่วม

แพทย์ธรรมชาติบำบัดและผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรส่วนใหญ่เชื่อว่าสมุนไพรจะทำงานได้ดีที่สุดหากรับประทานในปริมาณต่ำ แต่สม่ำเสมอเป็นระยะเวลานาน ขนาดที่เด็กรับประทานจะเป็นหนึ่งในสามถึงครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่แต่แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนที่จะให้เด็กรับประทานสมุนไพรใดๆ

เก็บทิงเจอร์ในที่เย็นและไม่โดนแสง แอลกอฮอล์ในทิงเจอร์จะทำหน้าที่เป็นสารกันเสียหากเก็บให้ผลจากความร้อนแสงแดดและอากาศทิ้งเจอจะคงความสดใหม่ได้ เป็นปี

ทิงเจอร์ที่พบได้บ่อยและส่วนประกอบสมุนไพร

  • ทิงเจอร์สำหรับกระตุ้นสมอง: ใบแปะก๊วย ใบบัวบก เบลส์ทิสเซิล โสมไซบีเรีย
  • ทิงเจอร์ที่จะช่วยให้สงบ: แคทนิป คาโมมายล์ คัมฟรีย์ เอลเดอร์เบอร์รี่ อีฟนิ่งพริมโรส ฮิซซอป ดอกมะลิ จูนิเปอร์เบอร์รี่ เลม่อนบาล์ม ดอกเสาวรส ดอกกุหลาบ สลิปเปอร์รี่เอล์ม เวอร์เวน ไวโอเลต
  • ทิงเจอร์สำหรับชะล้าง: รากหญ้าเจ้าชู้ รากบัคธอร์น ใบชาพาร์ราล รากแดนดิไลออน เน็ตเทิล มิลค์ทิสเซิล รากขิง
  • ทิงเจอร์บำรุงทั่วไป: ใบแบล็กเบอร์รี่ คัมฟรีย์ แดนดิไลออน โสม ดอกมะลิ เน็ตเทิล พิมเสนต้น ใบราสเบอร์รี่
  • ทิงเจอร์กระตุ้นให้กระชุ่มกระชวย: โหระพา เบย์ ดอกดาวเรือง ตะไคร้หอม เฟนเนล ดอกลาเวนเดอร์ เลมอนเวอร์บีนา มินต์ โรสแมรี่ เสจ ซาโวรี่ ไธม์
  • ทิงเจอร์สำหรับกล้ามเนื้อและข้อ: เบย์ จูนิเปอร์เบอร์รี่ มักเวิร์ท ออริกาโน เสจ

 หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Wormwood Uses, Benefits & Dosage. Drugs.com. (https://www.drugs.com/npp/wormwood.html)
14 Benefits and Uses of Rosemary Essential Oil. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/rosemary-oil-benefits)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
7 ประโยชน์ด้านความงามของคาโมมายล์ที่บอกเลยว่าไม่ธรรมดา
7 ประโยชน์ด้านความงามของคาโมมายล์ที่บอกเลยว่าไม่ธรรมดา

ชาคาโมมายล์นอกจากใช้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแล้ว ยังสามารถนำมาใช้บำรุงผิวและเส้นผมได้อีกด้วย

อ่านเพิ่ม
6 วิธีช่วยบรรเทาอาการแพ้ที่เกิดจากความร้อน
6 วิธีช่วยบรรเทาอาการแพ้ที่เกิดจากความร้อน

แก้ลมพิษง่ายๆ ด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ ปลอดภัย ไม่ต้องใช้ยา

อ่านเพิ่ม
ชวนทำ 5 ชาช่วยดีท็อกซ์ลำไส้ใหญ่
ชวนทำ 5 ชาช่วยดีท็อกซ์ลำไส้ใหญ่

แนะนำ 5 ชาที่มีสรรพคุณในการดีท็อกซ์ สามาถดื่มได้ทุกวัน

อ่านเพิ่ม