ประโยชน์ของกระดังงา ไอเดียการกินและการใช้เพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง

กระดังงา ดอกไม้ให้กลิ่นหอม เป็นต้นไม้ที่นิยมปลูกมาช้านาน มีประโยชน์มากมาย ซึ่งจะมีะไรบ้างนั้น บทความนี้มีคำตอบ
เผยแพร่ครั้งแรก 11 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ประโยชน์ของกระดังงา ไอเดียการกินและการใช้เพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง

กระดังงา พืชสมุนไพรที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีต โดยคนโบราณมักจะนำมาใช้ดูแลสุขภาพร่างกายด้วยวิธีการต่างๆ แล้วสมุนไพรชนิดนี้มีประโยชน์และสรรพคุณอย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลย

รู้จักกระดังงา

กระดังงา หรือ การเวก (Ylang-Ylang) เป็นไม้เลื้อยที่นิยมปลูกกันมากในบ้านที่มีบริเวณพอสมควร โดยเฉพาะในเมืองหลวงของบ้านเรา เพราะเป็นไม้ที่แตกกิ่งมาก ให้ใบดกเขียวทั้งปี และมีอายุยืนนาน รวมถึงทนต่อสภาพอากาศร้อนและทนต่อภาวะมลพิษทางอากาศได้สูง จึงทำให้หลายบ้านนิยมปลูกกระดังงาเพื่อเป็นร่มเงา และยังเพิ่มความสวยงามได้ด้วยดอกกระดังงา อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กระดังงา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียตอนใต้และศรีลังกา สันนิษฐานว่าถูกนำเข้ามาเผยแพร่และนำเมล็ดเข้ามาปลูกผ่านทางพ่อค้าชาวอินเดียตั้งแต่ในช่วงสมัยอยุธยา โดยมาในรูปแบบสินค้าน้ำหอมหรือพืชที่ให้ความหอมต่างๆ

ต้นกระดังงาเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงประมาณ 15 เมตร ลักษณะของต้นเป็นพุ่ม ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเป็นรูปรี เปลือกต้นเกลี้ยงมีสีเทา ดอกมีลักษณะเป็นช่อออกตามซอกใบมีสีเหลือง มีกลิ่นหอม และสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ผลจะออกเป็นกลุ่ม  สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด และสามารถตอนกิ่งได้แบบไม้ยืนต้นทั่วไป

คุณค่าทางโภชนาการของกระดังงา

กระดังงาเต็มไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้  

Artabotrys-A และ B, Taxifolin, Succinic acid, Fumaric acid, Isoamericanin-A, Isoamericanol-A,  Americanin-B, Artabotrycinol, Palmitic acid, Beta-sitosterol, Daucosterol นอกจากนี้ยังมีสารระเหยต่างๆ เช่น ester ของกรด formic, acetic, valeric, benzoic และ salicylic acid, pinene, linalool, benzyl alcohol, geraniol, safrol, cadinene, methyl isoeugenol, caryophyllene oxide, bergamotene, anethole และ spathulenol

สรรพคุณทางยาของกระดังงา

กระดังงา ถือเป็นพืชสมุนไพรที่น่าสนใจ เนื่องจากเต็มไปด้วยประโยชน์ที่ดีต่อร่างกาย โดยมีประโยชน์ ดังนี้

  1. ใช้ลดไข้
    จากการวิจัยหลายสถาบันทางการแพทย์ พบว่า กระดังงาสามารถช่วยลดอาการไข้ ตัวร้อน รักษาโรคมาลาเรีย และโรคไทฟอยด์ได้เป็นอย่างดี เพราะน้ำมันหอมระเหยมีส่วนประกอบของ Antiseptic เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการทำให้ไข้ลดลงได้
  2. บำบัดอารมณ์ได้
    กระดังงาเป็นพืชขึ้นชื่อในเรื่องของกลิ่นหอม ซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยบำบัดอารมณ์และร่างกาย ทำให้เกิดความผ่อนคลาย ช่วยลดอาการความเครียด และช่วยให้นอนหลับได้สนิทขึ้น มีงานวิจัยศึกษาพบว่า การดมกลิ่นน้ำมันหอมะเหยจากกระดังงานั้นสามารถช่วยเพิ่มคลื่นสมองอัลฟ่าของแต่ละบุคคลหรือลดระดับความเครียดลงได้
  3. บรรเทาอาการระเคืองของผิวหนัง
    รวมไปถึงแผลพุพองและลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อต่างๆ
  4. ช่วยแก้ปัญหาผิวมันและปรับผิวให้กระจ่างใสไร้สิว
    เนื่องจากกระดังงามีสรรพคุณในการปรับสมดุลของน้ำมันบนผิวหนัง และยังช่วยกำจัดแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้เป็นอย่างดี
  5. ช่วยบำรุงหนังศีรษะ
    โดยช่วยลดอาการเส้นผมขาดหลุดร่วง ทำให้เส้นผมมีน้ำหนัก และช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่เส้นผมได้มากยิ่งขึ้น
  6. แก้อาการวิงเวียนศีรษะ
    สำหรับใครที่รู้สึกปวดหัว มึนหัว หรือมีอาการอ่อนเพลียไม่สบายหัว รวมไปถึงผู้ที่มีอาการใจสั่นหรืออาการหน้ามืดจะเป็นลม สามารถใช้กระดังงาเพื่อช่วยแก้อาการดังกล่าวได้
  7. บำรุงเลือด ปรับความดันโลหิตให้เป็นปกติ และกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้สามารถไหลเวียนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดี
  8. ดีต่อระบบการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรงและทำงานได้อย่างเป็นปกติมากยิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจต่างๆ ได้
  9. ช่วยในการขับลม
    นอกจากนั้น ยังช่วยขับปัสสาวะ บรรเทาอาการท้องเสีย ปวดท้อง ปวดมวนท้อง และท้องเดินจากอาหารเป็นพิษ
  10. แก้อาการจุกแน่นหน้าอก
    แก้จุกเสียด แก้สะอึก และแก้ลมจุกคอ
  11. มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ
    มีงานวิจัยพบว่าน้ำหอมระเหยในดอกกระดังงานมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ จึงคาดว่าสามารถป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดจากอนุมูลอิสระได้ 

ไอเดียการกินเพื่อสุขภาพของกระดังงา

สำหรับไอเดียการกินเพื่อสุขภาพของกระดังงา พืชชนิดนี้สามารถนำมาประยุกต์ทำกินได้หลายอย่าง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  1. ทำน้ำเชื่อมกินกับขนมหวาน
    กระดังงา สามารถนำมาทำน้ำเชื่อมเพื่อกินกับขนมหวานได้ โดยจะให้กลิ่นหอมที่แตกต่างจากน้ำเชื่อมทั่วไป และช่วยให้ขนมหวานมีรสชาติที่อร่อย น่ากินมากขึ้น แถมยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย
  2. ทำน้ำกระสายยา
    เพราะกระดังงา มีสรรพคุณในการรักษาโรคและบรรเทาอาการป่วยได้หลากหลายชนิด จึงนิยมนำมาทำเป็นน้ำกระสายยาเพื่อรักษาอาการป่วย และบำรุงสุขภาพ โดยน้ำกระสายยาก็สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าต้องการนำมาใช้รักษาโรคอะไรนั่นเอง

ไอเดียการใช้เพื่อสุขภาพของกระดังงา

สำหรับไอเดียในการนำกระดังงามาใช้เพื่อสุขภาพ ก็มีวิธีการนำมาใช้ได้อย่างหลากหลายดังต่อไปนี้

  1. ทำเป็นน้ำมันใส่ผม
    กระดังงา เมื่อนำมาทอดกับน้ำมันมะพร้าว จะสามารถทำเป็นน้ำมันใส่ผมได้ ซึ่งก็จะช่วยบำรุงเส้นผมให้เงางามอย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น และแก้ปัญหาผมแห้งเสีย เส้นผมแตกปลายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เพราะฉะนั้นใครอยากมีผมสวย ก็มาลองบำรุงเส้นผมของคุณด้วยวิธีนี้กันดู
  2. ใช้แต่งกลิ่นอาหาร
    กระดังงา มีกลิ่นหอมที่สามารถใช้ในการแต่งกลิ่นอาหารให้หอมน่ากินยิ่งขึ้นได้ ซึ่งทำได้โดยนำดอกแก่จัดสด มารมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียน เพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตกออกและส่งกลิ่นหอมออกมา
    จากนั้นนำไปเสียบไม้ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกกระดังงาทิ้งในตอนเช้า ก็จะได้น้ำที่มีกลิ่นหอมของกระดังงา พร้อมสำหรับนำไปใช้ทำขนมหรือใช้คั้นกะทิได้เลย
  3. นำมาทำบุหงา
    บุหงา เป็นเครื่องหอมไทย ที่จะให้กลิ่นหอม สดชื่น และสร้างความผ่อนคลายเมื่อสูดดมได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะทำจากดอกไม้หลายชนิดรวมกัน รวมถึงกระดังงาด้วย
    โดยวิธีการทำ คือ ให้นำดอกไม้ทั้งหมดมาใส่ในถ้วยแก้ว ใช้พายคลุกดอกไม้ทั้งหมด แล้วใส่พิมเสนบดละเอียดลงไป ตามด้วยน้ำอบ แล้วใช้พายคลุกดอกไม้เบาๆ อีกครั้ง โดยพยายามอย่าให้ดอกไม้ช้ำ จากนั้นทำแบบเดิมอีกประมาณ 3 ครั้ง เพื่อให้ได้กลิ่นหอมที่คงทนมากขึ้น นำใส่ในผ้าโปร่ง จะใช้ห้อยตามหน้าต่าง หรือวางไว้ตามมุมต่างๆ ในบ้านก็ได้เหมือนกัน
  4. นำเปลือกต้นมาทำเป็นเชือกมัดของต่างๆ
    เปลือกต้นของกระดังงา มีความเหนียว ทนทานเป็นอย่างมาก จึงสามารถนำมาใช้เป็นเชือกเพื่อมัดของต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็นำมาใช้ประโยชน์ได้ดีทีเดียว

กระดังงาถือว่าเป็นพืชสมุนที่ประโยชน์ครอบจักรวาลและยังสามารถใช้ได้จากทุกส่วนของพืชอีกด้วย ทำให้ได้รับความนิยมในการใช้เพื่อรักษาโรคต่างๆ บำรุงร่างกาย และสร้างความผ่อนคลายจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

สำหรับใครที่อยากจะลองหากระดังงามาใช้สามารถเลือกใช้ได้ทั้งแบบสดและแบบแห้งสำเร็จรูป รับรองว่าคุณจะเห็นผลลัพธ์ของสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

ข้อควรระวังในการใช้กระดังงา

ยังไม่มีรายงานชัดเจนที่พบว่า ปริมาณการบริโภคกระดังงาที่เป็นส่วนผสมอาหารนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตามหากคุณนำมากินหรือนำมาใช้ในด้านอื่นๆ แล้วพบว่ามีอาการแพ้ ควรไปปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Burdock GA1, Carabin IG. (2007). Safety assessment of Ylang-Ylang (Cananga spp.) as a food ingredient. Food Chem Toxicol. 2008 Feb;46(2):433-45. Epub 2007 Sep 29.( https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed)
Wang C. N. (2512). Effect of Melaleuca leucadendron, Cananga odorata and Pogostemon cablin oil odors on human physiological responses. Wood Research. 2012;3(2):p. 100. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov)
Maniyar YA, Devi CHJ. (2015). Evaluation of anti-inflammatory activity of ethanolic extract of Cananga odorata Lam in experimental animals. International Journal of Basic & Clinical Pharmacology. 2015;4(2):354–357. doi: 10.5455/2319-2003.ijbcp20150439.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อโรมาเธอราปี (Aromatherapy) บำบัดเครียดด้วยกลิ่นหอมรอบบ้านคุณ
อโรมาเธอราปี (Aromatherapy) บำบัดเครียดด้วยกลิ่นหอมรอบบ้านคุณ

รู้จัก 8 กลิ่นบำบัด จากพันธุ์ไม้ไทย โดย นพ. วีระสิงห์ เมืองมั่น หัวหน้าคลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

อ่านเพิ่ม