แปะก๊วย นับว่าเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่คุ้นหูกันเป็นอย่างดีเพราะมีสรรพคุณในการบำรุงสมอง ดีต่อสุขภาพ และยังสามารถนำมารับประทาน นำมาใช้เพื่อสุขภาพได้หลากหลายวิธีอีกด้วย
วันนี้เราก็ได้รวบรวมข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับแปะก๊วยมาให้ได้ทำความเข้าใจกัน โดยเฉพาะประโยชน์ที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง ไปทำความรู้จักกับแปะก๊วยกันเลยดีกว่า
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
รู้จักแปะก๊วย
แปะก๊วย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ginkgo biloba L. ชื่ออังกฤษคือ Maidenhair tree สมุนไพรชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศจีนได้มีการนำมาใช้เป็นยารักษาโรคยาวนานกว่า 4,000 ปี ตามตำราแพทย์จีนมีการใช้ยาชงจากใบแปะก๊วยมาสูดดมรักษาอาการหืด โรคปอด โรคหัวใจ หรือใช้เมล็ดแปะก๊วยมารับประทานเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร ซึ่งจะเห็นได้ว่า อาหารจีนมักนิยมนำเมล็ดแปะก๊วยมาทำอาหารทั้งคาวและหวาน
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคในปัจจุบันคือ ส่วนใบ โดยการสกัดเอาสารสำคัญออกมาใช้หรือใช้ใบต้มดื่มเป็นยาชง
คุณค่าทางโภชนาการ
เมล็ดแปะก๊วย 100 กรัม มีพลังงาน 182 กิโลแคลอรี่ ประกอบไปด้วยวิตามินหลายชนิดได้แก่ วิตามินเอ 558 ยูนิต วิตามินซี 15 มิลลิกรัม และมีแร่ธาตุสำคัญๆหลายชนิดได้แก่ โฟเลต 54 ไมโครกรัม ไนอะซิน (วิตามินบี 3) 6 มิลลิกรัม ไพริดอกซิน (วิตามินบี 6) 0.328 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 510 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 124 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 27 มิลลิกรัม เป็นตน
สารสำคัญในใบแปะก๊วย
ใบแปะก๊วยมีสารประกอบเคมีมากมาย แต่มีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญอยู่ 2 กลุ่มด้วยกัน คือ
- สารกลุ่มเทอร์พีนอยด์ (Terpinoidal Compound) ประกอบด้วยสารเซสควิเทอร์พีน ได้แก่ ไบโลบาไลด์ และไดเทอร์พีนแลคโตน 5 ชนิด ซึ่งรวมเรียกว่า กิงโกไลด์ (Ginkgolides)
- สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ในใบแปะก๊วยมี Flavonol glycoside ประมาณ 20 ชนิด และมีสารจำพวก bioflavonoids อีกหลายชนิด
ประโยชน์ของแปะก๊วย
1.ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ในแปะก๊วยมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันเซลล์ในร่างกายจากการถูกทำลายทำให้เซลล์มีความแข็งแรง และช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็งได้ การมีสารต้านอนุมูลอิสระนี้จะช่วยลดไขมัน LDL และช่วยป้องกันจอตา (retina) ได้อีกด้วย
2.ฤทธิ์เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้
พบว่า ผู้ที่รับประทานสารสกัดใบแปะก๊วย จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
3.ฤทธิ์กระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิต
ใบแปะก๊วยมีคุณสมบัติกระตุ้นการไหลเวียนเลือดจึงทำให้มีเลือดไหลไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกายได้มากขึ้น ในผู้ป่วยที่มีอาการหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เมื่อรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วย ปริมาณ 40 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 24 สัปดาห์ จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเดินได้ไกลขึ้น
4.ช่วยให้ความทรงจำดีขึ้น
ใบแปะก๊วย อุดมไปด้วยสารสำคัญที่จำเป็นต่อการบำรุงสมองและระบบประสาท มีงานวิจัยในผู้วยโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) พบว่า แปะก๊วยมีผลต่อ cognitive function ของผู้ป่วยทำให้การรับรู้และความทรงจำของผู้ป่วยดีขึ้น
5.เพิ่มการมองเห็น
พบว่าเมื่อใช้แปะก๊วยในผู้สูงอายุที่จอประสาทตาเสื่อม ทำให้การมองเห็นระยะยาวและลานสายตาของผู้ป่วยดีขึ้น นอกจากนี้เมื่อให้สารสกัดแปะก๊วยแก่ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเสื่อมของจอตาระยะเริ่มแรกเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ดีขึ้น
6.ฤทธิ์ยับยั้งการเสื่อมของสมอง
จากการศึกษาสารสกัดแปะก๊วยเมื่อให้ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่าอาการทางสมองของผู้ป่วยดีขึ้นและอาการโดยรวมดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังจากให้ยาติดต่อกัน 6 สัปดาห์ นอกจากนี้สารสำคัญของใบแปะก๊วยยังช่วยเพิ่มความต้านทานการขาดออกซิเจนโดยเฉพาะเนื้อเยื่อในสมอง ยับยั้งการบาดเจ็บที่ทำให้สมองบวม และปกป้องเส้นประสาท
7.บรรเทาอาการของโรคพาร์กินสัน
อาการสั่นและการสูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อที่เกิดจากโรคพาร์กินสันนั้นเกิดจากการขาดฮอร์โมนโดปามิน การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยจะช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง ส่งผลทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนโดปามินได้มากขึ้นจึงส่งไปเลี้ยงร่างกายในส่วนต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ และช่วยบรรเทาอาการของโรคพาร์กินสันได้
8.บรรเทาอาการภาวะหลอดเลือดส่วนปลายหดตัว หรือตีบ
เมื่อเกิดภาวะดังกล่าวจะส่งผลให้ปลายมือปลายเท้าเย็น บางรายมีอาการปวดล้าและชาร่วมด้วย เมื่อรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย อาการจะดีขึ้นเพราะแปะก๊วยมีสรรพคุณกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทำให้เลือดไหลไปยังปลายมือปลายเท้าได้ดีมากขึ้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
9.ช่วยชะลอวัย
แปะก๊วยช่วยชะลอวัยเพราะแปะก๊วยมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงจึงช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากอนุมูลอิสระพร้อมชะลอความเสื่อมของเซลล์จึงไม่ทำให้แก่เร็ว แถมยังช่วยต่อต้านการเกิดริ้วรอยได้ดีอีกด้วย
10.ป้องกันตะคริว
การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย ช่วยป้องกันตะคริวจากการที่เลือดไหลเวียนไม่ดีได้เพราะแปะก๊วยมีคุณสมบัติกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้มีเลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้อย่างเพียงพอจึงไม่ทำให้เกิดอาการตะคริวนั่นเอง
11.เมล็ดช่วยบำรุงร่างกาย
เมล็ดของแปะก๊วยประกอบด้วย วิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย เมื่อรับประทานแล้วจึงช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงขึ้นได้
ไอเดียการรับประทานเพื่อสุขภาพ
แปะก๊วยสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิดทั้งของคาวและของหวาน ซึ่งให้ประโยชน์ต่อร่างกายได้เช่นกัน โดยมีไอเดียใช้เมล็ดแปะก๊วยมาแนะนำดังนี้
1.แปะก๊วยนมสด
เมนูของหวานสุดอร่อย ชื่นใจ วิธีทำคือ ต้มเมล็ดแปะก๊วยให้สุกเตรียมไว้ แล้วหั่นเป็นสี่เหลี่ยม หลังจากนั้นต้มน้ำเชื่อมแล้วใส่แปะก๊วยลงไป ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง จะทำให้แปะก๊วยไม่ขม จากนั้นตักแปะก๊วย มันและน้ำเชื่อมใส่ลงไปในถ้วย ใส่นมสดตามลงไป เพียงแค่นี้ก็ได้ของหวานแสนอร่อยที่เต็มไปด้วยประโยชน์แล้ว
2.บะจ่าง
- นำเห็ดหอมไปแช่น้ำเตรียมไว้ ต้มถั่วลิสง แปะก๊วย และเกาลัดให้สุก นำข้าวเหนียวไปแช่น้ำ ฝานกุนเชียงเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปทอดเตรียมไว้
- ผ่าไข่เค็ม นำกุ้งแห้งไปล้างน้ำ สับกระเทียม และหัวไชโป๊ นำหมูไปหมักกับกระเทียมพริกป่น ซีอิ๊วขาว ใส่กระเทียมเจียว คลุกเคล้าให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 30 นาที
- เมื่อเตรียมเครื่องปรุงต่างๆ เสร็จแล้ว ให้นำใบไผ่ไปต้มจนนุ่ม นำเห็ดหอมมาหั่นครึ่ง นึ่งข้าวเหนียวเตรียมไว้ นำกระทะขึ้นตั้งไฟใส่น้ำมันลงไปเล็กน้อย เมื่อเริ่มร้อนนำเห็ดหอมลงไปผัด ใส่ซีอิ๊วขาวและซอสลงไป ใส่พริกไทยป่น กระเทียมเจียว ผัดให้ทุกอย่างเข้ากัน ปิดไฟแล้วตักใส่ถ้วยไว้
- นำน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟปานกลาง ใส่กระเทียมลงไปผัดจนเหลือง ใส่หัวไซโป๊ลงไปผัด ใส่พริกไทย น้ำตาล ถั่วลิสงต้มลงไป จากนั้นนำข้าวเหนียวเทลงไปบนถาด ใช้ไม้พายคนไม่ให้ข้าวเหนียวติดกัน ใส่ถั่วลิสงผัด กุ้งแห้ง ซอสปรุงรส ซีอิ๊วดำหวาน ซีอิ๊วขาวลงไป แล้วคนให้ทั่ว
- นำใบไผ่มาวางซ้อนกัน ใส่ข้าวเหนียวลงไป ห่อเป็นทรง 3 เหลี่ยม นำไปนึ่ง 45 นาที เมื่อสุกแล้ว แกะห่อใส่จาน นำมารับประทานได้ทันที
3.แปะก๊วยผัดเม็ดมะม่วง
เมนูเพื่อสุขภาพที่ทำง่ายมากแถมอร่อย วิธีทำคือ ต้มแปะก๊วยให้สุก หั่นสับปะรด พริกหวาน และหัวหอมเตรียมไว้ นำกุ้งไปทอดให้สุก ตักขึ้นมาพักไว้ จากนั้นตั้งกระทะใส่น้ำมันลงไป นำหัวหอมและพริกหวานลงไปผัดจนหัวหอมเริ่มสุก ใส่สับปะรด ตามด้วยกุ้งทอด ปรุงรสให้อร่อยด้วยน้ำตาลทราย ซีอิ๊วขาว น้ำมันหอย พริกไทย ผัดจนทุกอย่างเข้ากันดี แล้วใส่เหล้าจีนลงไป ปิดไฟแล้วผัดต่ออีกสักครู่ ตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
4.ข้าวผัดแปะก๊วย
เมนูที่แนะนำให้ลอง วิธีทำคือ นำเห็ดหอมไปแช่น้ำแล้วนำมาซอยเตรียมไว้ ซอยกระเทียม ต้มเมล็ดแปะก๊วยให้สุก หั่นเนื้อไก่ และกุนเชียงเป็นชิ้นบางๆ ตั้งกระทะใส่น้ำมันลงไปเล็กน้อย นำกระเทียม กุนเชียงลงไปผัดจนเริ่มสุก ใส่เห็ดหอมลงไป ใส่เนื้อไก่ เมล็ดแปะก๊วย กุ้งลงไปผัด ใส่ซอสปรุงรส พริกไทย ผัดให้เข้ากัน ปิดไฟ ตักขึ้นเสิร์ฟได้เลย
5.แปะก๊วยตุ๋นเห็ดหูหนู
เมนูนี้ทำง่ายมาก และยังอุดมไปด้วยประโยชน์แบบจัดเต็ม วิธีทำคือ ให้เตรียมเมล็ดแปะก๊วยต้มสุก นำเห็ดหูหนูไปแช่น้ำจนนิ่ม แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่น้ำเปล่าลงไปในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟ ใส่เมล็ดแปะก๊วยและเห็ดหูหนูลงไปต้มให้เดือด ใส่น้ำตาลทรายกรวดลงไปตามความชอบ ปรับไฟให้อ่อนลง ตุ๋นไปประมาณ 30 นาที ตักใส่ถ้วยรับประทานได้เลย
ข้อควรระวัง
แปะก๊วยนั้นมีสรรพคุณที่ดีในหลายด้าน ใช้บำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง แต่สารสกัดใบแปะก๊วยก็มีอันตรายแฝงอยู่ ในบางประเทศจะต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ก่อนจึงจะซื้อมารับประทานได้
- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากสารสกัดใบแปะก๊วยมีฤทธิ์ต้านการเกาะกันของเกล็ดเลือด (platelet aggregation
inhibition) การใช้ร่วมกันอาจมีซึ่งจะผลเสริมฤทธิ์ของยากลุ่มดังกล่าว ทำให้การแข็งตัวของเลือดลดลง เลือดออกได้ง่ายขึ้นจนเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ - ใบแปะก๊วยมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตาบอลิซึมของยาหลายชนิด ได้แก่ CYP1A2 CYP2C9 CYP2E1 CYP2C19 และ CYP3A4 ดังนั้นผู้ที่มีโรคประจําตัวและรับประทานยาแผนปัจจุบันเป็นประจํา หากต้องการรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วยควรศึกษาข้อมูลและปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจรับประทาน
- ยังพบรายงานผลข้างเคียง จากการรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วยในผู้ป่วยบางราย เช่น อาการปวดศีรษะ ระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร และความดันโลหิตสูงขึ้น
- ปัจจุบันยังไม่มีการรับรองความปลอดภัยสําหรับการใช้ในเด็กและสตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วย
ใบและเมล็ดของแปะก๊วยมีประโยชน์ต่อร่างกาย เต็มไปด้วยสารอาหารที่ดี สามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิด แต่ทั้งนี้ต้องรับประทานอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ และควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย หมั่นออกกำลังกายควบคู่กันไป เพียงเท่านี้ร่างกายของเราก็มีสุขภาพที่ดีได้แล้ว