พื้นฐานโฮมีโอพาธี

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
พื้นฐานโฮมีโอพาธี

กุญแจของโฮมีโอพาธีคือ “กฎแห่งความเหมือน” หรือหลักที่ว่าสิ่งที่เหมือนกันย่อมรักษากันได้ ซึ่งเป็นหลักที่ทางการแพทย์แผนปัจจุบันมักใช้ในการรักษาโรคกลุ่มภูมิแพ้ อาการของโรคที่แสดงออกเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายกำลังฟื้นคืนสมดุลธรรมชาติอยู่ การรักษาแบบโฮมีโอพาธีใช้สารจากธรรมชาติที่ทำให้เกิดอาการของโรคในคนปกติทางได้รับสารนั้นเป็นปริมาณมาก มาให้แก่คนที่ป่วยเพื่อกระตุ้นให้อาการดีขึ้น โดยใช้สารในปริมาณที่น้อยมากๆ ตัวอย่างเช่น ในขณะที่คุณปอกหัวหอมตาของคุณจะคันและมีน้ำตาไหล คุณยังอาจมีน้ำมูกไหลคล้ายตอนเป็นหวัดได้ด้วย ดังนั้นเมื่อคุณเป็นหวัดมากขึ้นมาจริงๆการรักษาเเบบโฮมีโอพาธีจะใช้หัวหอม (Allium cepa) ปริมาณเล็กน้อยที่เจือจางแล้วมากระตุ้นให้ร่างกายเยียวยาตัวเอง

ยาทางโฮมีโอพาธีมาจากพืชในธรรมชาติ แร่ธาตุและสารจากสัตว์ สารที่ออกฤทธิ์คล้ายยาในสารเหล่านี้จะถูกเจือจางจนเหลือปริมาณที่น้อยมากๆ จนกระทั่งไม่มีอันตรายหรือผลข้างเคียงแต่อย่างใด ปลอดภัยทางสำหรับผู้ใหญ่และเด็กหากรับประทานตามที่แนะนำในโลกที่ไม่รุนแรงและหายเองได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ฟกช้ำเล็กน้อย ภูมิแพ้ อาการก่อนมีรอบเดือน อาการวัยทองอาการเมารถเมาเรือ

การผลิตยาทางโฮมีโอพาธีในสหรัฐอเมริกาได้รับการควบคุมโดยองค์การอาหารและยาซึ่งกำหนดแนวทางการทำฉลากและการจำหน่ายไว้ให้ ยามีทั้งในรูปยาเม็ด ยาน้ำ ยาเหน็บและขี้ผึ้ง แต่แบบที่นิยมที่สุดคือแบบเม็ดกลมเล็กๆคล้ายยาลูกกลอน ยาส่วนใหญ่จะนำมาใช้อมใต้ลิ้นเพราะเส้นเลือดฝอยที่มีมากมายในเยื่อบุปากจะช่วยให้ยาเข้าสู่กระแสเลือดได้รวดเร็ว

 วิธีการรับประทานและใช้ยาโฮมีโอพาธีอย่างถูกต้อง

  • เก็บยาในภาชนะที่ปิดฝามิดชิดแห้งและห่างไกลจากแสง
  • อย่าให้สัมผัสกับสารที่มีกลิ่นหอมเช่น น้ำหอม การบูร หรือเมนทอล ซึ่งจะลดทอนประสิทธิภาพของยาได้
  • ก่อนรับประทานยาควรแน่ใจว่าในปากของคุณปราศจากรสอาหารอื่นๆโดยเฉพาะกาแฟหรือมินต์ซึ่งจะมีผลกับการออกฤทธิ์ของยาโฮมีโอพาธีย์ได้ (หากหลีกเลี่ยงยาสีฟันรสมินต์ได้เลยจะดีที่สุด)
  • อย่าจับเม็ดยา เทลงบนฝากระปุกแล้วจึงเทลงบนลิ้นและปล่อยให้มันละลาย
  • อย่าแปรงฟันดื่มหรือรับประทานอะไรอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงหลังรับประทานยา เพื่อยาได้มีเวลาทำงาน

อาการที่พบบ่อยเเละรักษาเเบบโฮมีโอพาธี

อาการ

ไข้ (ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่)

ไข้หวัดใหญ่ (ปวดเนื้อตัว)

คลื่นไส้

คัดจมูก

ไซนัสอักเสบ

ท้องผูก

ท้องร่วง(มีอาการปวดร่วม)

นอนไม่หลับ(จากความเครียด)

ปวดข้อ

ปวดท้องประจำเดือน

ปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ(ปวดแสบหรือคัน)

ผื่นผิวหนัง (ที่มีอาการคัน)

ผื่นแพ้พอยชั่นไอวี่

แผลในปาก

แผลไหม้

ฟกช้ำ

เมาค้าง

เมารถเมาเรือ

แมลงต่อย

เยื่อบุตาอักเสบ

ร้อนวูบวาบ

ริดสีดวงทวาร

วิตกกังวล

เส้นเลือดขอด

หวัด (ที่มีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหล)

หูด

อาการก่อนมีประจำเดือน (พีเอ็มเอส)

ไอ (หลอดลมอักเสบ)

ไอ (ไอแห้งๆ)

การรักษา

Belladonna (มะแว้ง)

Eupatorium perfoliatum (โบนเซต)

Ipecacuanah (อิพิแค็ก)

Pulsatilla (วินด์ฟลาวเวอร์)

Kali bichromicum (โพแทสเซียมไบโครเมต)

Graphited (ตะกั่วดำ)

Veratrum album (เฮลเลบอร์ขาว)

Coffea cruda (กาแฟสดที่ยังไม่คั่ว)

Calcarea fluorica (แคลเซียมฟลูออไรด์)

Caulophyllum  thalictroides (บลูโคฮอช)

Cantheris (แมลงวันสเปน)

Sulfer (กำมะถัน)

Rhus toxicodendron (พอยชั่นไอวี่)

Borax (โซเดียมโบเรต หรือบอแรกซ์)

Calcarea sulphurica (แคลเซียมซัลเฟต)

Arnica Montana (ดอกเดซี่ภูเขา)

Nux vomica (ตูมกาแดง)

Cocculus Indicus (อินเดียนคอกเคิล)

Ledum palustre (โรสแมรี่ป่า)

Euphrasia officinalis (อายไบรท์)

Lachesis mutus (บุชมาสเตอร์สเนค)

Hamamelis virginiana (วินช์เฮเซล)

Argentum nitricum (ซิลเวอร์ไนเทรต)

Calcarea fluorica (แคลเซียมฟลูออไรด์)

Allium cepa (หัวหอมแดง)

Thuja occidentalis (ไม้จำพวกหางสิงห์)

Sepia (หมึกปลาหมึก)

Antimonium tartaricum (หินน้ำลาย)

Phosphorus (ฟอสฟอรัส)

 หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Homeopathy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/homeopathy/)
[Homeopathy. Basic aspects and principles of use in dermatology]. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1506212)
Homeopathy: What You Need to Know. WebMD. (https://www.webmd.com/balance/what-is-homeopathy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำความเข้าใจกับน้ำตาลและการเติมน้ำตาล
ทำความเข้าใจกับน้ำตาลและการเติมน้ำตาล

ข้อมูลพื้นฐานสำหรับโภชนาการของเด็ก

อ่านเพิ่ม