เส้นเลือดขอด คือปัญหาที่เกิดขึ้นจากเส้นเลือดดำที่อยู่บริเวณเท้า ซึ่งจะประกอบด้วยกันสองเส้นอยู่ที่ผิว เรียกในทางการแพทย์ว่า "superficial vein" มีหน้าที่นำเอาเลือดจากผิวหนังส่งไปยังเส้นเลือดดำที่ลึกลงไปอีก (deep vein) เพื่อนำเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ
ในระหว่างการส่งเลือดขึ้นสู่หัวใจนี้ จะต้องมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อเพื่อให้เลือดจากต้นขาไหลเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่ที่อยู่บริเวณท้อง จุดนี้จะมีลิ้นกลั้นไม่ให้เลือดสามารถไหลย้อนกลับได้ ลิ้นส่วนนี้จึงเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะ เส้นเลือดขอด กรณีที่ลิ้นมีปัญหา ไม่สามารถกักเก็บเลือดส่งขึ้นไปได้หมด แต่มีการย้อนกลับลงมา ทำให้เลือดตกค้างในหลอดเลือดดำที่ขา กลายเป็นอาการโป่งพองที่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โรคเส้นเลือดขอด คืออะไร ?
โรคเส้นเลือดขอด (Varicose Veins) คือภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดดำ หากเรากล่าวถึงโรคนี้ ก็จะนึกถึงอาการที่เกิดขึ้นที่หลอดเลือดดำบริเวณขา ซึ่งจะเป็นส่วนของลิ้นเปิดปิดที่ส่งเลือดจากขาขึ้นไปยังหลอดเลือดดำใหญ่ที่ท้อ ความผิดปกติชนิดนี้เป็นตัวการที่ทำให้เลือดไม่สามารถลำเลียงเข้าสู่หัวใจได้ทั้งหมด เกิดการย้อนกลับมาของเลือดดำคั่งค้างอยู่ในหลอดเลือดที่มีความตื้น จากนั้นก็จะโป่งขยายตัวออก จนกลายเป็นภาวะหลอดหลอดขอด
อาการของ เส้นเลือดขอด และอันตราย
ลักษณะอาการของ เส้นเลือดขอด ที่พบได้ทั่วไป ได้แก่
- ส่วนมากจะไม่แสดงอาการให้เห็น ผู้ป่วยจะเข้ามาพบแพทย์ต่อเมื่อมองเห็นความผิดปกติจากภายนอก โดยเฉพาะในกลุ่มของคนที่รักสวยรักงาม เพราะเรียวขาจะดูไม่สวย มองเห็นเป็นเส้นเลือดสีดำปูดโปนในผิวหนังชัดเจน ซึ่งก็คือหลอดเลือดดำส่วนตื้น
- อาการเริ่มต้นมักจะปรากฏที่น่อง โดยไม่มีอาการใดๆ เลย แต่บางรายอาจรู้สึกเมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ รู้สึกเมื่อยเมื่อยืนเป็นเวลานาน และอาการจะเป็นมากขึ้นในช่วงสายๆ อาการจะดีขึ้นต่อเมื่อได้นอนราบหรือยกขาให้สูงกว่าศีรษะ
- มองเห็นเส้นเลือดบริเวณขา ซึ่งเป็นหลอดเลือดขนาดเล็กประมาณ 0-5 มิลลิเมตร โยงตัวกันเหมือนใยแมงมุม เป็นสีม่วงหรือแดง ซึ่งจะสังเกตเห็นตำแหน่งของเส้นเลือดขอดที่มีขนาดใหญ่มากกว่า 1 มิลลิเมตร และเป็นสีเขียวจัด เห็นชัดเจนใต้ผิว ถือว่าเป็นระยะเริ่มต้น
- ผู้ป่วยที่มีอาการเส้นเลือดขอดมานานแล้ว จะพบอันตรายที่เรียกว่าเป็นภาวะแทรกซ้อน คือการอักเสบของหลอดเลือดที่ขอด หรือการอุดตันจนเลือดไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ หรือหากเกิดอุบัติเหตุเส้นเลือดบริเวณดังกล่าวฉีกขาด ก็จะทำให้เสียเลือดมาก เพราะอยู่ในตำแหน่งของผิวหนังที่ค่อนข้างบาง
เส้นเลือดขอดที่ถูกปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่ทำการรักษา แม้จะพบภาวะแทรกซ้อนได้น้อย แต่สามารถทำให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะการแตกตัวของเส้นเลือด การตกเลือดที่อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาช้าเกินไป ซึ่งภาวะดังกล่าวมักจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับเส้นเลือดขอดที่ส่วนอื่นของร่างกาย แต่หากเป็นที่ขา อาการจะไม่น่าวิตกกังวลมากนัก นอกจากอาการอักเสบ เจ็บปวดจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เกิดแผลแตกเรื้อรังและเป็นแผลเป็นเพราะความดันผิวหนังที่เพิ่มสูงมากขึ้น
สาเหตุที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด
- อายุเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเสี่ยงได้สูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และพบได้มากในผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป
- ประวัติครอบครัวที่เคยป่วยเป็นโรคเส้นเลือดขอด จะทำให้ลูกหลานมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงถึง 2 เท่า
- คนที่ต้องทำงานด้วยการยืนหรือนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ย่อมเสี่ยงที่จะทำให้เป็นเส้นเลือดขอดได้
- อาหารบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดดำ และกลายเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคเส้นเลือดขอดได้เช่นกัน
- ผู้ที่อยู่ในกลุ่มคนที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดขอดที่ขา
- ความผิดปกติของลิ้นที่ทำหน้าที่เป็นวาล์วเปิดปิดหลอดเลือดดำเสื่อมสภาพหรือทำงานไม่ได้ เป็นตัวการทำให้เลือดดำไหลย้อนกลับมาคั่งค้าง สะสมจนโป่งพอง
- การอุดตันของเส้นเลือดที่เกิดจากโรคมะเร็ง
- อุบัติเหตุที่ขาจนเกิดผลแทรกซ้อนต่อการทำงานของเส้นเลือดดำ
วิธีรักษา และการป้องกันอย่างถูกต้อง
แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัย อาการของเส้นเลือดขอดที่เกิดขึ้นก่อน ตั้งแต่การซักประวัติ ตรวจร่างกาย การตรวจทางรังสีวิทยาด้วย Ultrasound กรณีที่แพทย์สงสัยว่าจะพบปัญหาเส้นเลือดดำขอดในส่วนลึก คนที่เคยมีอาการขาบวมหรือแผลที่เท้ามาก่อน ก็จะทำการตรวจเช็คอย่างละเอียด เพราะบางรายก็มีปัญหาเส้นเลือดขอดได้ตั้งแต่แรกเกิด เรียกกันว่าภาวะ "Klippel-Trenaunay syndrome"
การรักษา
ในการรักษาหลอดเลือดขอด ทางการแพทย์ถูกแบ่งออกเป็นหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งมีตั้งแต่การใช้ผ้าพันยืด การฉีดยาเข้าสู่หลอดเลือดที่ขอด ไปจนถึงขั้นตอนการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรงของโรค ที่จะต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ที่ทำการรักษา
การป้องกันตัวเอง
ให้ปลอดภัยจากโรคเส้นเลือดขอด แม้จะพบอันตรายเพียงส่วนน้อย แต่หากเกิดขึ้นกับตนเอง ย่อมเป็นความเสี่ยงที่มีความน่ากลัว ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้เลือดคั่งค้างนั่นก็คือ เลี่ยงการเดินและเคลื่อนไหวร่างกายนานๆ หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานานๆ หากจำเป็นให้ใช้วิธีออกกำลังกายด้วยการเขย่งเท้าอยู่กับที่
สำหรับผู้ที่มีปัญหา เส้นเลือดขอด อยู่เป็นประจำก็ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป และหากพบอาการผิดปกติเกิดขึ้น ทางที่ดีก็ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์จะดีที่สุด