May 31, 2019 04:28
สวัสดีค่ะ คำถามของคุณอาจกว้างเกินไป ทำให้คุณหมอไม่สามารถให้ความเห็นได้ กรุณาอธิบายอาการอย่างละเอียดว่าเป็นอย่างไร บริเวณไหน เป็นมานานและถี่แค่ไหน รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณ เช่น เพศ อายุ ยาหรืออาหารเสริมที่ทานอยู่ เป็นต้น หรือคุณอาจค้นหาคำตอบคุณหมอ และกว่า 5,000 บทความสุขภาพในเว็บของเรา หากคุณถามเกี่ยวกับโรงพยาบาล คุณสามารถค้นหาข้อมูลติดต่อของโรงพยาบาลได้ที่นี่ หรือส่งอีเมลมาที่ [email protected] ค่ะ ขอบคุณค่ะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
สวัสดีค่ะ ความเครียดอาจส่งผลต่างๆต่อด้านอารมณ์ได้ เช่น มีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า หงุดหงิด ท้อแท้ คิดมาก มองโลกในแง่ร้าย นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวณ กรณีที่เป็นมากและเป็นมานานอาจทำให้นำไปสู่โรคทางด้านจิตเวชในอนาคตได้ เช่น โรคซึมเศร้า หรือบางรายอาจมีอาการแสดงออกทางร่างกาย เช่น ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องผูก/เสีย เบื่ออาหาร เป็นต้นค่ะ
สำหรับวิธีแก้ความเครียดเบื้องต้นเลยคือลองให้วิเคราะห์ถึงปัญหาสาเหตุของความเครียด และพิจารณาว่าสามารถแก้ไขได้หรือไม่ ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ อาจจำเป็นต้องอาศัยขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น และนอกจากหากิจกรรมผ่อนคลายทำแล้ว อาจลองนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจตนเอง ปรับความคิดตนเอง ไม่คาดหวังในสิ่งต่างๆมากเกินไป ให้พยายามคิดว่าทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยตัวมัน ให้เข้าใจและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น และที่สำหรับหาคนรู้ใจหรือเพื่อนคอยรับฟังปัญหา คุยปรึกษา จะพอช่วยได้ค่ะ ในกรณีที่ปฏิบัติตามข้างต้นแล้วยังเกิดอาการเครียดอยู่อาจจำเป็นต้องไปพบจิตแพทย์เพื่อทำจิตบำบัดหรือทานยาคลายเครียดร่วมด้วยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ความเครียดส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจได้ค่ะ
-ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้หลายระบบ ได้แก่ ระบบหัวใจ ความดันโลหิต ระบบฮอร์โมนต่างๆ ผิวหนังแห้งกร้าน กล้ามเนื้อตึงตัวทำให้เกิดอาการปวด ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบย่อยและขับถ่าย
-ผลกระทบต่อสุขภาพจิต ได้แก่ การทำงานของสมองผิดปกติ การควบคุมความคิด อารมณ์ และการแสดงพฤติกรรมต่างๆได้ไม่เหมาะสม
ในกรณีที่มีความเครียด ควรหาเวลาผ่อนคลายความเครียด ด้วยการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ
หากมีความเครียดสะสมเป็นระยะเวลานานลองทำแบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง
โดยสำรวจจากอาการภายใน 1-2 เดือน ว่ามีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน โดยให้คะแนนตามระดับความรุนแรงของอาการดังนี้
ไม่เคยเลย 0 คะแนน
ครั้งคราว 1 คะแนน
บ่อยๆ 2 คะแนน
ประจำ 3 คะแนน
1. นอนไม่หลับ เพราะมีเรื่องกังวลใจหรือคิดมาก
2. รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ
3. ทำอะไรไม่ได้เลย เพราะประสาทตึงเครียด
4. รู้สึกวุ่นวายใจ
5. ไม่อยากพบปะผู้คน
6. ไม่มีความสุข รู้สึกเศร้าหมอง
7. ปวดหัวข้างเดียวหรือปวดขมับ 2 ข้าง
8. รู้สึกหมดหวังในชีวิต
9. รู้สึกว่าชีวิตตนเองไร้คุณค่า
10. กระวนกระวายตลอดเวลา
11. ขาดสมาธิ
12. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงที่จะทำอะไร
13. เหนื่อยหน่ายไม่อยากทำอะไร
14. ใจเต้นแรง
15. เสียงสั่น ปากสั่น มือสั่นเมื่อรู้สึกไม่พอใจ
16. กลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ
17. ปวดเกร็งบริเวณท้ายทอย หลัง ไหล่
18. ตื่นเต้นง่ายกับเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
19. มึนงง วิงเวียนศีรษะ
20. ความสุขทางเพศลดลง ขาดความใส่ใจในการดูแลตัวเอง
หากรวมคะแนนได้มากกว่า 17 คะแนน หมายความว่ามีความเครียดในระดับที่สูงกว่าปกติ ควรปรึกาาจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัดแล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ลองทำดูแล้วค่ะได้ 41 คะแนน
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
แสดงว่ามีความเครียดในระดับที่สูงเกินระดับปกติมาก ในกรณีนี้อยากให้พบจิตแพทย์นะคะ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อช่วยคลายความเครียด นอกจากนั้นที่ต้องพึงระวังคือ การมีความเครียดสะสมเป็นเวลานานอาจต้องประเมินภาวะซึมเศร้าเพิ่มเติมด้วยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เครียดบ่อยๆจะส่งผลอะไรไหมค่ะ? พอดีมีปัญหาในชีวิตค่ะ ตอนนี้เครียดทั้งเรื่องงาน เรื่องแฟน มีปัญหาเข้ามาลุมเล้า
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)