การช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จที่โรงเรียน

8 ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นกุญแจที่จะช่วยให้ผู้สอนสามารถช่วยเหลือนักเรียนให้ประสบความสำเร็จ
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จที่โรงเรียน

นักเรียนที่เข้ามาเรียนในชั้นนั้นมีความสามารถและทักษะที่แตกต่างกัน และด้วยเหตุผลนี้ ผู้สอนส่วนใหญ่จึงทราบว่าบางครั้งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเพื่อให้เข้ากับนักเรียนในห้อง อย่างไรก็ตามเมื่อมีนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อยู่ในห้อง ก็ยิ่งทำให้ความบกพร่องนี้ส่งผลต่อประเภทของความช่วยเหลือที่พวกเขาควรจะได้รับเพื่อให้ประสบความสำเร็จทางการเรียน แม้ว่าเด็กแต่ละคนจะมีวิธีการเรียนที่แตกต่างกัน แต่วิธีต่อไปนี้ คือ วิธีที่ดีที่สุด (บางส่วน) ที่จะช่วยให้นักเรียนที่มีความบกพร่องประสบความสำเร็จได้ที่โรงเรียน

1. เข้าร่วมการคัดกรองระยะแรก – การสามารถระบุความบกพร่องทางการเรียนรู้จองเด็กเป็นสิ่งที่จำเป็นในระยะยาว โรงเรียนควรเริ่มจากการคัดกรองความบกพร่องตั้งแต่ช่วงเด็กเล็กและในทุกครั้งที่มีนักเรียนใหม่ย้ายเข้ามาในโรงเรียน เพื่อเริ่มต้นกระบวนการช่วยเหลือต่อไป ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถเริ่มต้นการได้รับความช่วยเหลือก่อนที่พวกเขาจะพลาดหัวข้อสำคัญ เช่น การอ่าน

2. วางแผนการสอนเฉพาะบุคคล – เมื่อเด็กได้รับการวินิจฉัยว่ามีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ทำให้ต้องเริ่มมีการวางแผนการเรียนเฉพาะบุคคลขึ้น เพื่อระบุด้านที่เด็กอาจมีปัญหาและให้ได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมเพื่อให้พวกเขาประสบความสำเร็จ

3. เพิ่มการเข้าถึง – เด็กนักเรียนควรสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระภายในโรงเรียนเพื่อให้ใช้ความสามารถได้เต็มที่ ดังนั้นควรมีการติดตั้งทางเดินในรถเข็น ราวจับ หรืออุปกรณ์ช่วยเหลือประเภทอื่นๆ ในทุกบริเวณที่เด็กอาจต้องมีการเดินทางไป สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ นี่อาจจะหมายถึงการเข้าถึงอุปกรณ์การเรียนในรูปแบบที่พวกเขาสามารถเข้าใจได้

4. ให้ความรู้ครูและเจ้าหน้าที่ – เนื่องจากความบกพร่องนี้สามารถเป็นได้หลายภาวะ ดังนั้นจึงพบครูและเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีประสบการณ์กับความบกพร่องบางประเภทได้บ่อย อย่างไรก็ตามหากพวกเขาได้รับความรู้ว่าจะสามารถช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องดังกล่าวที่โรงเรียนได้อย่างไร ก็จะทำให้พวกเขารู้สึกว่าตนเองสามารถช่วยเหลือนักเรียนให้ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น

5. บริหารจัดการเทคโนโลยี – ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เด็กที่มีความบกพร่องสามารถได้รับความช่วยเหลือให้ห้องเรียนได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น เครื่องมือแปลงเสียงพูดเป็นตัวอักษร ช่วยให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเขียนสามารถบันทึกข้อมูลลงบนคอมพิวเตอร์ได้ นอกจากนั้นสื่อรูปแบบอื่นๆ เช่น วีดีโอไฟล์เสียง จะช่วยให้ครูสามารถนำเสนอความรู้ใหม่ได้ในหลายรูปแบบ

6. ตารางสอนยืดหยุ่น – เด็กที่มีความบกพร่องมักต้องการเวลามากกว่าคนอื่นเพื่อเข้าเรียนและทำการบ้านให้เสร็จ และเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจต้องการเวลาเพิ่มเติมเมื่อพวกเขาทำการสอบ นอกจากนั้นนักเรียนที่มีความบกพร่งอทางด้านสมาธิอาจต้องการเวลาพักจากการทำงานบ่อยๆ และเมื่อสามารถจัดตารางสอนให้ยืดหยุ่นได้ก็จะทำให้ช่วยลดความหงุดหงิดและความเครียดได้

7. เสนอแหล่งข้อมูลให้พ่อแม่ – พ่อแม่ที่ให้การสนับสนุนมีผลอย่างมากต่อการเรียนของเด็ก เมื่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้กลับบ้านมาพร้อมกับการบ้าน มักจะเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องหาวิธีช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้และทำการบ้านได้ ดังนั้นการที่พ่อแม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเพื่อช่วยให้การสนับสนุนด้านอารมณ์ สอนวิธีให้พวกเขาช่วยเหลือลูกและให้ข้อมูลเกี่ยวกับความบกพร่องของลูกจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

8. ให้การสนับสนุนจนจบระดับมหาวิทยาลัย – บ่อยครั้งที่กว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้พบว่าเครือข่ายที่ช่วยสนับสนุนพวกเขาค่อยๆ หายไปเมื่อพวกเขาเรียนจบ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัยอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับเด็กกลุ่มนี้ เนื่องจากเป้าหมายสูงสุดของเด็กส่วนใหญ่คือการเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยดังนั้นพวกเขาจึงต้องการการช่วยเหลือที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถผ่านการเรียนรู้ระดับนี้ไปได้

การช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จที่โรงเรียนต้องการการเข้าถึงจากรอบด้านซึ่งรวมถึงกลุ่มเครือข่ายช่วยเหลือที่ประกอบด้วย ผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียน นักบำบัด และพ่อแม่ เมื่อแต่ละคนตั้งเป้าหมายที่จะให้การสนับสนุนในชั้นเรียน ในโรงเรียนและที่บ้านก็จะทำให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถสร้างทักษะที่พวกเขาต้องการเพื่อที่จะก้าวผ่านความท้าทายและประสบความสำเร็จทางการศึกษา


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
cambridge.org, Supporting students with specific learning differences (https://www.cambridge.org/elt/blog/2017/11/04/supporting-students-with-learning-differences/)
verywellfamily.com, Helping Students With Learning Disabilities Succeed (https://www.verywellfamily.com/helping-students-learning-disabilities-2162402)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)