August 31, 2019 19:20
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
อาการเจ็บบริเวณเต้านมด้านซ้าย อาการเจ็บหน้าอก (Chest pain) อาจเป็นได้ทั้งสาเหตุที่มาจากหัวใจ และสาเหตุที่ไม่ใช่หัวใจครับ
- สาเหตุที่มาจากหัวใจ (Cardiac cause) จะมีลักษณะการเจ็บที่แน่นเหมือนมีอะไรมาทับ อาจมีอาการเจ็บร้าวไปบริเวณแขนซ้าย/กรามซ้ายได้ มีเหงื่อออก อาจมีอาการใจสั่น หน้ามืดหมดสติได้ครับ อาการที่เป็นจากหัวใจเหล่านี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินครับ ควรรีบมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านในทันที
- สาเหตุที่ไม่ใช่หัวใจ (Non-cardiac cause) มีได้หลายสาเหตุ เช่น โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดแดงใหญ่, โรคกระเพาะ, โรคกรดไหลย้อน, โรคที่เกี่ยวกับปอด, ตับอ่อนอักเสบ, เจ็บบริเวณกล้ามเนื้อบริเวณอก เป็นต้น โรคต่างๆเหล่านี้บางโรคเป็นโรคที่ไม่รุนแรง อาการอาจหายไปได้เอง แต่บางโรคอันตรายไม่แพ้สาเหตุจากโรคหัวใจควรรีบไปโรงพยาบาลครับ
การวินิจฉัยโรคต่างๆที่ได้กล่าวมาข้างต้นต้องอาศัยการซักประวัติ และตรวจร่างกายเพิ่มเติมครับ ดังนั้นแนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจและให้การรักษาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการเจ็บจี๊ดที่บริเวณหน้าอกนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- การอักเสบของกล้ามเนื้อหรือกระดูกซี่โครง จะทำมีอาการเจ็บหน้าอกในระดับตื้นๆ มีจุดกดเจ็บที่ชัดเจน และอาการเจ็บมักสัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าทางบางท่า
- ความผิดปกติของปอดบางอย่าง จะทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กับการสูดหายใจเข้าลึกๆ ร่วมกับอาจมีอาการไอ มีเสมหะ หายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อยได้
- กรดไหลย้อน จะทำให้มีอาการแสบร้อนกลางอก จุกแน่นคอ เรอบ่อย เรอเหม็นเปรี้ยว โดยอาการมักเป็นมากขึ้นหลังรับประทานอาหารมันๆหรือรับประทานอาหารอิ่มใหม่ และจะเป็นมากในตอนนอนมากกว่าตอนนั่งหรือยืน
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
กรณีถ้ามีจุดกดเจ็บ อย่างชัดเจน มี่กระดูกซี่โครง หรือ ปวดตามการขยับ มักเกิดจาก การที่มี กล้ามเนื้ออักเสบ หรือ กล้ามเนื้อและกระดูกซี่โครงอ่อนของกระดูกซี่โครงอักเสบครับ(acute costrochondritis) ซึ่งสามารถพบได้ อาการไม่ร้ายแรงและไม่อันตรายครับ
สาเหตุที่เกิดภาวะนี้ เกิดจาก การใช้งานในทางที่ผิดลักษณะ เช่น การออกกำลังกายหนัก การยกของหนัก หรือ การกระทบกระแทกครับ เป็นต้น
การรักษา ได้แก่
1.พัก พักหมายถึง งดท่าทางใดๆที่ทำแล้วปวดมากขึ้น งดใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นหนักๆในท่าทางใดๆก็ตามครับ
2.ถ้าปวด ให้ใช้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอลหรือถ้าไม่ไหว อาจจะใช้ยากลุ่ม NSaids ช่วย ibuprofen naproxen dicLofenac เป็นต้น แต่ถ้าต้องใช้มาก แนะนำให้พบแพทย์ครับ และอาจใช้น้ำแข็งประคบเย็นช่วยครับ
อย่างไรก็ตาม ถ้าปวดมาก จนเดินหรือยืนไม่ไหว หรือมีไข้ หรือหายใจลำบาก หรือมีอาการบวม แดง ร้อน แนะนำให้ไปพบแพทย์ครับ
อาการอาจเป็นได้นานประมาณ 1 -2 สัปดาห์ แต่จะค่อยๆดีขึ้นตามลำดับครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
มีอาการปวดจี๊ดที่ใต้ราวนมข้างซ้ายค่ะ ปวดลามไปถึงบริเวณข้างลำตัว(ตรงที่เอาไว้วัดรอบอก) ลามไปถึงหลังเล็กน้อยอยู่ตรงริมๆแผ่นหลัง ครั้งนี้ปวดเป็นครั้งที่3 2ครั้งแรกมีอาการเหมือนกันหมดคือ 1. จี๊ดเวลาหายใจเข้า- ออก 2.ไอตลอดเวลา ก่อนจะปวด 3.ตอนไอ จาม เอี้ยวตัว ออกกำลังกาย ‘ไม่’ปวดมากขึ้น ปวดแต่ละครั้งประมาณ10วินาทีตามจังหวะหายใจ ครั้งที่สามปวดแค่1-3วินาที แต่ปวดถี่ๆ ทุก5-10นาทีค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)