กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Failure to Thrive (ภาวะเลี้ยงไม่โต)

เผยแพร่ครั้งแรก 6 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เด็กที่มีภาวะเลี้ยงไม่โต (Failure to Thrive หรือ FTT) คือกลุ่มเด็กที่มีค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์ที่ควรจะเป็น ภาวะนี้ไม่นับว่าเป็นโรคหรือภาวะผิดปกติใดๆ แต่หมายถึงสถานการณ์ที่เด็กคนหนึ่งไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

แพทย์สามารถระบุน้ำหนักที่ควรจะเป็นของเด็กแต่ละคนได้ ด้วยการนำน้ำหนักของเด็กคนนั้นไปเปรียบเทียบกับค่าน้ำหนัก อายุ และเพศของเด็กในวัยและเชื้อชาติเดียวกัน เด็กที่มีส่วนสูงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ก็สามารถนับว่ามีภาวะเลี้ยงไม่โตได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

มีภาวะสุขภาพมากมายที่อาจมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเลี้ยงไม่โตได้ เช่น

นอกจากนี้อาจพบภาวะเลี้ยงไม่โตที่เกิดจากปัจจัยการเลี้ยงดู ดังนี้

  • ได้รับโภชนาการไม่ดี หรือมีนิสัยรับประทานอาหารไม่ดี
  • ถูกทำร้ายร่างกาย
  • มีบาดแผลทางจิตใจ
  • มีภาวะทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า (Depression)
  • ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม เช่น ความยากจน

อาการของภาวะเลี้ยงไม่โต มีอะไรบ้าง?

โดยทั่วไป หากน้ำหนักของเด็กต่ำกว่า 1 ใน 3 ของสัดส่วนการเติบโตมาตรฐาน จะถือว่าเด็กคนดังกล่าวมีภาวะเลี้ยงไม่โต โดยเด็กบางคนที่มีภาวะเลี้ยงไม่โต อาจพบอาการดังต่อไปนี้ร่วมอยู่ด้วย

  • น้ำหนักไม่ขึ้น
  • มีพัฒนาการช้ากว่าปกติ เช่น การพลิกตัว การคลาน หรือการพูด
  • มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้
  • ไม่แสดงความรู้สึกออกมา เช่น การยิ้ม การหัวเราะ หรือการสบตา
  • มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกายช้า
  • มีอาการเหนื่อยล้า
  • ฉุนเฉียว
  • เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้า

เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์?

การตรวจร่างกายเป็นประจำ สามารถป้องกันภาวะเลี้ยงไม่โตได้ ควรเริ่มตั้งแต่ที่เด็กยังอยู่ในครรภ์จนถึงเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เพื่อให้แพทย์จดบันทึกแผนผังการเจริญเติบโตของเด็กเอาไว้ แม้เด็กที่มีภาวะเลี้ยงไม่โต จะตัวเล็กกว่าเด็กคนอื่นที่มีวัยและเพศเดียวกัน แต่รูปแบบการเจริญเติบโตของเด็กแต่ละคนก็อาจไม่คงที่เหมือนกัน ดังนั้นการเข้ารับการตรวจกับกุมารแพทย์จึงเป็นวิธีวิเคราะห์การเจริญเติบโตของเด็กที่ดีที่สุด

การวินิจฉัยภาวะเลี้ยงไม่โต

การทดสอบที่สามารถประเมินผลกระทบของภาวะเลี้ยงไม่โตต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของเด็ก มีดังนี้

  • การตรวจเลือด
  • การตรวจปัสสาวะ
  • การเอกซเรย์
  • การตรวจคัดกรองด้านพัฒนาการ

หากแพทย์คาดว่าภาวะเลี้ยงไม่โตของเด็ก เกิดจากปัจจัยทางการเลี้ยงดู แพทย์ก็อาจแนะนำหรือชี้แจงประเด็นต่างๆ ที่ผู้ดูแลหรือครอบครัวของเด็กควรทราบ เพื่อไม่ให้อาการดังกล่าวมีความรุนแรงมากขึ้น

ตัวเลือกการรักษาภาวะเลี้ยงไม่โต

การรักษาภาวะเลี้ยงไม่โต จะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการต่าง สุขภาพองค์รวมของเด็ก ความพึงพอใจของพ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็ก สภาพแวดล้อมของครอบครัว และสาเหตุของภาวะเลี้ยงไม่โต

ในบางครั้ง เมื่อแพทย์รักษาภาวะต้นเหตุได้สำเร็จ ก็อาจทำให้อาการต่างๆ หายไปทันที เช่น การเสริมโภชนาการหรืออาหารเสริมพิเศษให้เด็กที่ได้รับโภชนาการไม่เพียงพอ หรือการรักษาโดยนักจิตวิทยา ในกรณีที่เด็กมีปัญหาทางด้านจิตใจ

หลังจากที่การเจริญเติบโตของเด็กกลับคืนเป็นปกติ แต่แพทย์ก็ยังต้องคอยติดตามและดูแลพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจอย่างต่อเนื่อง โดยในขั้นตอนนี้อาจมีการช่วยเหลือจากแพทย์หลายๆ แขนงเข้ามาช่วย เช่น นักบำบัด นักกายภาพ นักโภชนาการ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Failure to thrive. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/000991.htm)
Definition of Failure to thrive (FTT). MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=6483)
Failure to thrive in babies and toddlers. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4971446/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เด็กน้ำหนักน้อยเกิดจากสาเหตุอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากอ้วนขึ้นต้องทำไงดีครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทำไมฉันถึงไม่อ้วนสักที น้ำหนักไม่ขึ้น
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทำไมเด็กไทยถึงเป็นโรคอ้วนเยอะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีคุณหมอท่านไหนสามารถดูแลโภชนาการที่เหมาะกับแต่ละคนได้มั้ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)