August 12, 2019 09:59
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
อาการปวดท้องเป็นได้จากหลายอย่างครับ ส่วนใหญ่มักเกิดจากอวัยวะในช่องท้อง แต่บางครั้งก็อาจเกิดจาก ผนังหน้าท้อง หรืออวัยวะที่อยู่นอกช่องท้อง เช่น หลอดอาหาร ปอด หัวใจ เป็นต้น
ทั้งนี้อยากให้ไปพบแพทย์ เพราะต้องอาศัยการซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด จะได้วินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้องครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ อาการปวดท้อง จำเป็นต้องได้รับประวัติเพิ่มเติมค่ะ เช่น ปวดที่ไหน ปวดอย่างไร ปวดตอนไหน ปวดมานานเท่าไหร่ มีอาการร่วมไรบ้างครับ
ตัวอย่าง เช่น
- การติดเชื้อในลำไส้ หรือท้องเสียถ่ายเหลว อาหารเป็นพิษ ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด ถ้าติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียที่ไม่รุนแรงมาก ก็สามารถหายเองได้ครับ
- ไส้ติ่งอักเสบ อาการที่ควรมี เช่น ปวดท้องด้านขวาล่าง มีไข้ อาจมีถ่ายเหลวกระปริบกระปรอย
- โรคกรดไหลย้อน อาการร่วมด้วยที่อาจจะเป็นเช่น ปวดท้อง อาจจะแน่นท้องใต้ลิ้นปี่ หรือ แสบร้อนใต้ลิ้นปี่ เรอบ่อย บางคนเรอแล้วเหมือนมีอาการของอาหารไหลขึ้นมา
- แผลในกระเพาะอาการ/กระเพาะอักเสบ อาจมีอาการปวดบริเวณด้านซ้ายหรือลิ้นปี่บ่อยๆครับ
- นิ่วในถุงน้ำดีหรือทางเดินน้ำดี ซึ่งอาการของนิ่วนี้ จะมี เช่น ปวดท้องเป็นๆหายๆ อิ่มเร็ว มักปวดท้องเวลาทานอาหารเสร็จ
-ติดเชื้อที่ปีกมดลูกหรือรังไข่ อาจจะมีตกขาวหรือปวดท้องน้อยร่วมด้วยครับ
-ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือนิ่วทางเดินปปัสสาวะ มีไข้ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะเป็นเลือด
- ส่วนที่พบได้ไม่บ่อย เช่น เนื้องอกต่างๆที่กระเพาะอาหาร ตับ ตับอ่อน,ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น อาการที่ค้องระวังหากมีควรไปพบแพทย์ เช่น อาเจียนเป็นเลือด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตัวเหลืองตาเหลือง กินข้าวอิ่มเร็วกว่าปกติหรือคลื่นไส้อาเจียนมากๆครับ
**สำหรับอาการดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยอย่างพอสังเขป การให้การรักษาต้องได้รับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมโดยแพทย์ ดังนั้น แนะนำให้ไปตรวจร่างกายที่ รพ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องหากอาการไม่ดีขึ้นครับ**
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการปวดท้องนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- อาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ จะทำให้มีอาการปวดท้องในระดับผิวตื้นๆ มักมีจุดกดเจ็บที่ชัดเจน และอาการปวดมักสัมพันธ์กับการขยับตัวเปลี่ยนท่าทาง
- โรคกระเพาะ จะทำให้มีอาการปวดท้องจุกแน่น แสบท้องที่บริเวณลิ้นปี่ อาการมักสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
- นิ่วในถุงน้ำดี จะทำให้มีอาการปวดท้องที่บริเวณใต้ชายโครงขวา อาการปวดมักเกิดขึ้นเป็นพักๆโดยเฉพาะในช่วงหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ อาการปวดมักเป็นรุนแรงติดต่อกัน 3-4 ชั่วโมงก่อนที่จะหายไปสนิท
- ตับอ่อนอักเสบ จะทำให้มีอาการปวดที่บริเวณกลางลิ้นปี่อย่างรุนแรง ปวดร้าวทะลุไปหลัง อาการมักเป็นได้ง่ายในคนที่ดื่มเหล้าในปริมาณมากหรือเป็นนิ่วในถุงน้ำดีอยู่
- ลำไส้อักเสบ จะทำให้มีอาการปวดท้องในลักษณะปวดบิดทั่วๆเป็นพัก ร่วมกับมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว
- นิ่วในทางเดินปัสสาวะ มักทำให้มีอาการปวดท้องน้อยด้านใดด้านหนึ่ง อาจปวดเสียวร้าวลงขาหนีบ และอาจมีเลือดปนในปัสสาวะได้
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ จะทำให้มีอาการปวดที่บริเวณท้องน้อยร่วมกับมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด
- อุ้งเชิงกรานอักเสบ จะทำให้มีอาการปวดที่บริเวณท้องน้อย ร่วมกับมีเลือดออกหรือตกขาวผิดปกติทางช่องคลอด
การวินิจฉัยสาเหตุของอาการปวดท้องนั้นจำเป็นต้องมีการตรวจร่างกาย เอ็กซเรย์ หรือการตรวจที่จำเป็นอื่นๆเพิ่มเติมร่วมด้วย หมอแนะนำว่าในกรณีนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สวัสดีค่ะ มีอาการ ปวดท้องหน่วง ร้าวไปถึงหลัง เป็นมาเกือบ1อาทิตย์
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)