อาการปวดกระดูกหัวเหน่าคืออะไร?
อาการปวดของกระดูกหัวเหน่า (Pubic Bone) ในช่วงตั้งครรภ์ ยังมีการเรียกอีกอย่างว่า Symphysis Pubic Diastasis (SPD) สาเหตุเกิดจาก ฮอร์โมน relaxin ในช่วงใกล้คลอด ทำให้อุ้งเชิงกราน และกระดูกหัวเหน่า (Pubic Bone) หลวมขึ้น ซึ่งเป็นการดีสำหรับการคลอด แต่ในบางคน ก็เกิดการแยกของกระดูกมากไป ทำให้เกิดอาการปวดในช่วงใกล้คลอดหรือช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด หรือ (postpartum period) หญิงท้องเริ่มมีอาการเดินไม่สะดวก ฮอร์โมน Relaxin ทำให้เนื้อเยื่อเอ็น ของกระดูกเชิงกรานหลวมและหย่อนยาน ทำให้ปวดเวลาเคลื่อนที่ เมื่อเดิน ยืนหรือพยายามที่จะใส่ขากางเกงหรือก้าวออกจากอ่างอาบน้ำ อาการปวดมากจะเกิดบริเวณด้านหน้าของกระดูกหัวเหน่า (ด้านในของขนเพชร หรือ pubic hair)
"ฉันรู้สึกเหมือนฉันถูกดึงเป็นสองส่วน" แม่ท้องลูกที่สี่กล่าว ฉันตกจากเตียงเพราะขาของฉันไม่สามารถแยกจากกัน เข็มขัดรัดท้องช่วยให้ฉันผ่านการตั้งครรภ์ไปได้ ฉันต้องสั่งพิเศษ แต่มันก็คุ้มค่า แพทย์แนะนำฉันให้ว่ายน้ำออกกำลังกายเพราะฉันไม่สามารถเดินได้ อาจแปลกๆในช่วงแรก ฉันต้องว่ายน้ำท่านางเงือกคือ ขาของฉันต้องติดกัน ซึ่งช่วยได้ดีจริงๆ" อแมนดาแม่ท้องที่สองกล่าว
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
วิธีการรักษาอาการปวดกระดูกหัวเหน่า (Pubic Bone)
รักษาสมดุลกระดูกเชิงกราน ของคุณผ่านอุปกรณ์รัดท้องสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เปลสำหรับคนคลอด (Prenatal Cradle) หรือผ้ารัด อาจทำงานดีกว่าแบบอื่นๆ ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้กายภาพบำบัด ซึ่งอาจช่วยได้ในระยะยาว อาจมีปัญหาเรื่องเวลาแต่ก็คุ้มค่า อาจขอคำแนะนำเกี่ยวกับสิ่งที่สามารถทำที่บ้านเพื่อลดปัญหาเรื่องเวลา หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอาการปวด การนั่งใส่กางเกงหรือนั่งบนด้านข้างของอ่างอาบน้ำและแกว่งขาทั้งสอง จะช่วยลดความเจ็บปวดได้บ้าง หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน สวมรองเท้าที่เหมาะสมถ้าคุณต้องยืนมากๆ ใช้ถุงใส่ข้าวที่อุ่นร้อนประคบบริเวณกระดูกเชิงกรานของคุณ ซึ่งมีความปลอดภัยและสามารถหลีกเลี่ยงการใช้ยา และยาแก้ปวดที่มีความเหมาะสมแนะนำโดยแพทย์ อาจช่วยลดอาการได้ ข่าวดีก็คือหลังจากการคลอด ร่างกายจะ หยุดผลิตฮอร์โมน Relaxin