อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ของคุณมีสาเหตุมาจากมีระดับวิตามิน D ที่ต่ำหรือไม่?

เมื่อภาวะขาดวิตามิน D ก่อให้เกิดอาการปวดหัว
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ของคุณมีสาเหตุมาจากมีระดับวิตามิน D ที่ต่ำหรือไม่?

คุณเคยได้ยินเพื่อนของคุณพูดคุยเกี่ยวกับระดับวิตามิน D ในร่างกายหรือไม่? ในการตรวจสุขภาพประจำปี คุณเคยให้แพทย์ตรวจระดับวิตามิน D ของคุณหรือไม่? วิตามิน D มีบทบาทกับสุขภาพกระดูก แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนต่อผลทางการแพทย์อื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคภูมิต้านทานผิดปกติ หรือโรคมะเร็ง และอาการปวดต่างๆ เช่น อาการปวดเรื้อรัง หรืออาการปวดหัว

วิตามิน D คืออะไร?

วิตามิน D เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันและมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • Cholecalciferol (วิตามิน D3) : มาจากแสงอัลตราไวโอเลตที่ทะลุผ่านผิวหนังและพบได้ในปลาบางชนิด เช่น ปลาแซลมอนและปลาทูน่า
  • Ergocalciferol (วิตามิน D2) : มาจากสาร fungal stero l, ergosterol ซึ่งพบตามธรรมชาติในเห็ดหอมตากแห้ง

วิตามิน D ทั้งสองรูปแบบถูกนำมาใช้เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการอาหารและใช้เป็นอาหารเสริมวิตามิน D

การขาดวิตามิน D คืออะไร?

เมื่อคนเราขาดวิตามิน D ระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนในร่างกายจะเพิ่มขึ้นทำให้แคลเซียมถูกดึงออกจากกระดูกและทำให้เกิดโรคกระดูกโค้งงอ (osteomalacia) และโรคกระดูกอ่อนในเด็ก (rickets) ซึ่งคนไข้ที่มีโรคนี้จะมีอาการ ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย แพทย์จะตรวจระดับวิตามิน D จากระดับ 25-hydroxyvitamin D

อะไรทำให้เกิดการขาดวิตามิน D?

อาการแสดงที่อาจนำไปสู่การขาดวิตามิน D มีดังนี้

  • การขาดสารอาหาร
  • โรคไตหรือตับ
  • มีการรบกวนการดูดซึมของสารอาหาร เช่น โรคลำไส้เล็กอักเสบ (celiac)

การได้รับแสงแดดน้อยก็อาจทำให้เกิดอาการขาดวิตามิน D ได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชราหรือผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งได้รับแสงแดดน้อย

วิตามิน D กับอาการปวดหัว

อาการปวดหัวและอาการขาดวิตามิน D นั้นอาจจะเกี่ยวข้องกัน ในปี ค.ศ. 2009 มีนักวิจัยสองคนจากประเทศอินเดียได้ตีพิมพ์ในวารสาร Headache เรื่องการศึกษาผู้ป่วยแปดรายที่มีอาการขาดวิตามิน D และอาการปวดศีรษะจากความเครียดเรื้อรัง ผู้ป่วยทุกรายในการศึกษาครั้งนี้มีระดับวิตามิน D ที่ต่ำมาก (25-hydroxyvitamin D levels <10ng/mL) และแทบจะไม่ได้รับยาทั่วไปช่วยบรรเทาอาการปวดหัวเลย ผู้ป่วยทุกรายได้รับอาหารเสริมรายวัน ซึ่งมีวิตามิน D (1000-1500IU) และแคลเซียม (1000mg) ผลปรากฏว่า อาการปวดหัวหายไปภายในไม่กี่สัปดาห์หลังได้รับการรักษา นักวิจัยคิดว่าวิตามิน D มีความสำคัญมากกว่าแคลเซียมในการบรรเทาอาการปวดหัว โดยดูจากระยะเวลาของการรักษา พวกเขาอธิบายว่า โดยทั่วไประดับแคลเซียมมักจะกลับมาเป็นปกติภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้กลับต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์กว่าจะหายจากอาการปวดหัว ซึ่งก็ตรงกับเวลาที่ระดับวิตามิน D ของพวกเขาเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ 

อีกการศึกษาในวารสาร The Journal of Headache Pain นักวิจัยพบว่า อาการปวดหัวแบบไมเกรน (migraines) และปวดหัวจากความเครียด (tension-type headache) จะรุนแรงขึ้นเมื่อคนไข้เดินทางเข้าใกล้ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ และห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากขึ้น เมื่อเดินทางห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากขึ้น แสงแดดที่ได้รับต่อวันก็จะสั้นและเบาลง เมื่อคนไข้ได้รับแสงแดดน้อยลงก็จะมีการดูดซึมวิตามิน D น้อยลง ดังนั้นระดับวิตามินโดยรวมก็จะลดลง

อะไรคือระดับวิตามิน D ทีเพียงพอ?

ปัจจุบันยังไม่มีการสรุปเกี่ยวกับระดับวิตามิน D ที่เหมาะสม แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่าระดับ 25-hydroxyvitamin D ที่ต่ำกว่า 20ng/mL นั้นไม่เพียงพอ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัญหาสุขภาพอื่นๆ ด้วย แพทย์อาจต้องการให้มีระดับวิตามิน D สูงกว่านี้ แต่ก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในปัจจุบัน

ข้อสรุป

สิ่งที่เชื่อมโยงกันอาจไม่ได้เป็นสาเหตุของกันและกัน ในภาพรวมวิตามิน D ต่ำอาจทำให้เกิดอาการปวดหัว มองอีกมุมหนึ่งคืออาการปวดหัวอาจจะพบได้มากในคนที่อาศัยอยู่ไกลจากเส้นศูนย์สูตรและได้รับแสงแดดน้อย แต่ยังไม่ใช่กฎสรุปความสัมพันธ์ระหว่างวิตามิน D กับอาการปวดหัวยังคงต้องศึกษาทดลองมากกว่านี้ โดยเฉพาะการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trials) ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวดหัวและวิตามิน D จะทำให้ผู้ป่วยระมัดระวังมากขึ้น ลองปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้วิตามิน D เป็นทางเลือกเพื่อรักษาอาการปวดหัว โดยเฉพาะถ้าการรักษาปัจจุบันไม่ได้ทำให้อาการปวดหัวดีขึ้นเลย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamin D: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-929/vitamin-d)
Vitamin D Deficiency: 9 Symptoms & Signs, 3 Causes, 4 Treatments. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/vitamin_d_deficiency/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)